เมนูหน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ใส่รองเท้าส้นสูง แล้วทำให้ฉันปวดหลังยังได้ไง


อาการปวดหลัง กับรองเท้าส้นสูง
ความสวยที่มาคู่กับอาการปวด

มีคนไข้คนนึงเป็นผู้หญิงมีอาการปวดหลังเข้ามารับการรักษากับผม ตรวจร่างกายก็พบว่าเป็นกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรังทั่วไป ไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ รักษาทางกายภาพเสร็จอาการปวดก็ลดลง แล้วแนะนำท่าออกกำลังกล้ามเนื้อหลังไปตามปกติ แต่เพียงไม่กี่วันคนไข้ก็กลับมาใหม่ด้วยอาการปวดหลังเดิมๆ มารักษาแทบจะทุกอาทิตย์จนผมเอะใจว่าทำไมรักษาหายดีแล้วถึงกลับมาปวดใหม่ได้ง่ายจัง แถมลักษณะงานทีทำก็ไม่ได้ยกของหนักหรือเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานด้วย ผมจึงสอบถามประวัติเพิ่มเติม ทีนี้ถึงบางอ้อเลยครับว่า ผู้หญิงคนนี้ทำงานออฟฟิศชอบใส่รองเท้าส้นสูงเป็นชีวิตจิตใจ ใส่มาเป็นปีๆแล้ว ไม่ว่าจะไปทำงานหรือไปเที่ยวอย่างน้อยก็ขอให้ได้ใส่ส้นสูงเถอะ ผมเลยแนะนำไปว่า อาการปวดหลังที่เป็นอยู่นี่จะหายถาวรเลยครับ ถ้าเลิกใส่ส้นสูง! คนไข้ก็งงเป็นไก่ตาแตกทันทีว่า ใส่ส้นสูงมันเกี่ยวอะไรกับการปวดหลัง? มันทำให้ปวดหลังได้ยังไงกัน ผมจึงอธิบายไปว่า...

การใส่ส้นสูงทำให้ปวดหลังได้เนื่องจาก ในขณะที่ใส่ส้นสูงมันก็เหมือนกับเรากำลังเขย่งเท้าอยู่ตลอดเวลา พื้นที่ในการรองรับนํ้าหนักตัวจะถูกถ่ายเทไปที่ปลายเท้า จากเดิมที่การรับนํ้าหนักจะอยู่ทั่วทั้งฝ่าเท้า ซึ่งทำให้ความมั่นคงในการยืนน้อยลง (พลักแล้วล้มง่ายกว่าคนยืนเต็มฝ่าเท้า) กล้ามเนื้อขา ลำตัวและหลังจึงต้องเกร็งตัวมากขึ้นในขณะที่เรายืน หรือเดินเพื่อไม่ให้เราล้ม กล้ามเนื้อจึงเหมือนกับถูกใช้งานอย่างหนักตลอดเวลา จนเกิดความตึงตัวสูง เกิดการล้าได้ง่าย จนเกิดอาการบาดเจ็บในที่สุด นั่นคือสาเหตุแรกครับ

สาเหตุที่สอง เกิดจากการปรับตัวของกระดูกสันหลังส่วนเอวครับ ถ้าเราใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวแอ่นมากขึ้น (hyperlordosis) และยิ่งใส่สูงสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งแอ่นมากขึ้นเท่านั้นครับ

ภาพเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ใส่ส้นสูงกับรองเท้าส้นเตี้ย

ทำไมใส่รองเท้าส้นสูงยิ่งทำให้หลังแอ่นได้ละ?

มันเป็นการปรับสมดุลโครงสร้างของร่างกายครับ ลองนึกภาพว่าเรากำลังเขย่งเท้า แล้วที่นี้ให้ร่างกายช่วงบนเลยข้อเท้าขึ้นมาแข็งโป้กเหมือนท่อนซุงดูครับ พอเขย่งเท้าปุ้บจะพบว่า แทนที่ร่างกายจะตรงอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้น มันกลับเอียงไปทางด้านหน้าแทน ซึ่งจะทำให้เราเสี่ยงที่ล้มหน้าทิ่มได้จากแรงดึงดูดของโรค ฉะนั้นกล้ามเนื้อช่วงเอวของเราจึงดึงร่างกายท่อนบนให้กลับมาอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นเช่นเดิม ถ้าเราเขย่งเท้าไม่นานมันก็ไม่น่ามีปัญหาหรอกครับ เพียงแต่ว่าการใส่รองเท้าส้นสูงมันก็ไม่ต่างอะไรจากการเขย่งเท้าค้างไว้น่ะสิ ผลลัพท์ก็คือ ทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวมีส่วนโค้งมากขึ้น (hyperlordosis หรือ เรียกง่ายๆว่าหลังแอ่นนั่นแหละครับ) กล้ามเนื้อช่วงเอวเกิดความตึงตัวสูง กล้ามเนื้อเกร็งค้าง (ลองสังเกตุคนที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำดูจะพบว่าหลังแข็งแทบจะทุกคน) และมีอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาจากการที่กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานหนัก (overuse)

ฉะนั้น จึงไม่แปลกถ้าใครที่ใส่ส้นสูงเป็นเวลานานแล้วมีอาการปวดหลังเรื้อรัง วันที่รักษาก็หายปวดดี แต่ 2-3 วันถัดมาก็ปวดเหมือนเดิม ตราบใดที่ยังไม่เลิกใส่รองเท้าส้นสูงนั่นเองครับ

ภาพเปรียบเทียบระหว่างกระดูกสันหลังปกติกับหลังแอ่น

แล้วบทสนทนาหลังจากที่ผมอธิบายเสร็จกับผู้ป่วยหญิงคนนั้น
แอดมิน : "ถ้าคุณอยากหายปวดหลัง ก็เลิกใส่รองเท้าส้นสูงระครับ เปลี่ยนมาใส่ส้นเตี้ยแทน หรือใส่ผ้าใบเลยจะดีมากๆเลยนะครับ"
ผู้ป่วยหญิง : "อ๋อ พี่คงเลิกใส่ไม่ได้หรอกค่ะ เพราะพี่ยังไม่มีแฟนเลย ถ้าหยุดใส่แล้วกลัวไม่สวย เดี๋ยวไม่มีใครมาจีบน่ะ"
แอดมิน : "เอิ่มมมมมม -*-"

เครดิตภาพ
- http://www.webmd.com/pain-management/ss/slideshow-worst-shoes-for-your-feet
- http://70sbig.com/blog/2012/07/hyperlordosis/
- http://www.spinept.com/blog/high-heels-and-pain


เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด พบได้เยอะในหมู่นักบอล


เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด (Anterior cruciate ligament injuries)

ถ้าใครเป็นคอกีฬาฟุตบอลแล้วได้เห็นข่าวนักบอลที่ตัวเองชื่นชอบบาดเจ็บที่เข่า พอตรวจร่างกายจากแพทย์นู่นนี่นั่นเสร็จสัพปรากฎว่าเป็น "เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด" ต้องเข้ารับการผ่าตัด พักฟื้น 6 เดือน หลายคนจึงสงสัยกันว่าเอ็นไขว้หน้าที่ว่านี่คืออะไรกันน้อ? เอ็นเส้นนี้สำคัญไฉน? ทำไมถึงต้องพักฟื้นกันน๊านนาน? และที่สำคัญคนทั่วไปเป็นโรคนี้ได้ไหมหรือพบเฉพาะในนักกีฬา? เรามาไล่ตอบทีละข้อกันเลยครับ ขอเริ่มจาก..

เอ็นไขว้หน้าคืออะไร?

เอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า หรือ Anterior cruciate ligament คือเส้นเอ็นขนาดใหญ่เส้นหนึ่งที่อยู่ภายในเข่า โดยจะเกาะอยู่ระหว่างปลายกระดูกต้นขา (femur bone) และต้นกระดูกหน้าแข้ง (tibia bone)

เอ็นไขว้หน้าสำคัญไฉน?

หน้าที่หลักๆของเอ็นเส้นนี้ก็คือ เสริมความมั่นคงให้แก่ข้อเข่า โดยเฉพาะในท่าเหยียดเข่าจนสุดนั้น จะทำให้เอ็นเส้นนี้ตึงมาก เพราะนอกจากจะเพิ่มความมั่นคงให้แก่ข้อเข่าแล้ว มันยังป้องกันไม่ให้เราเหยียดเข่าเกินองศา (hyperextension) จนทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและผิวข้อเข่า  จัดว่าเป็นเส้นเอ็นที่มีความสำคัญต่อข้อเข่ามากเส้นหนึ่งเลยนะครับ เพราะหากเส้นเอ็นนี้บาดเจ็บหรือฉีกขาดอย่างถาวร จะทำให้ข้อเข่าขาดความมั่นคงอย่างหนัก ขณะที่ผู้ป่วยเดินจะรู้สึกเข่าหลวม ปวดภายในเข่า และทำให้เข่าเสื่อมตามมาได้เร็วขึ้น


ทำไมเอ็นเส้นนี้ขาดแล้วถึงต้องพักฟื้นกันนานมาก(ในกรณีที่เอ็นขาด)?

เพราะว่าโดยธรรมชาติของเส้นเอ็นนั้น เมื่อได้รับบาดเจ็บจะหายช้ากว่าทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกอยู่แล้วละครับ เนื่องจากเส้นเอ็นจะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงน้อยกว่า (เราจึงเห็นเส้นเอ็นเป็นสีขาว และเห็นกล้ามเนื้อเป็นสีแดงเพราะมีหลอดเลือดฝอยมาเลี้ยงเยอะ) ทำให้เลือดที่มาหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นมีปริมาณน้อย การนำสารอาหารและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อจึงทำได้ช้ากว่า ผลก็คือ การฟื้นฟูจึงใช้เวลานานกว่านั่นเองครับ

คนทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มั้ย?

พบได้น้อยในคนทั่วไปครับ ต่อให้ออกกำลังกายหนักแค่ไหนยังไงก็พบน้อยอยู่ดี โรคนี้มักพบในหมู่นักกีฬา่ที่ต้องมีการวิ่งปะทะกัน วิ่งเร็วแล้วเปลี่ยนทิศทางกะทันหันทำให้เส้นเอ็นถูกกระชากจนขาด เช่น กีฬาฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, รักบี้, สกี หรือผู้ที่เล่นปากัวส์ เป็นต้น

ตำแหน่งที่เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด

อาการของโรคเอ็นไขว้หน้าอักเสบ
สามารถแบ่งความรุนแรงของโรคออกได้เป็น 3 ระดับ

ระดับที่ 1 :
เส้นเอ็นมีการอักเสบ ฉีกขาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่รู้สึกถึงอาการเข่าหลวมแต่อย่างใด

ระดับที่ 2 :
เส้นเอ็นมีการฉีกขาดเพียงบางส่วน รู้สึกปวดภายในเข่าลึกๆ มีอาการเข่าบวม ข้อเข่าไม่มั่นคง

ระดับที่ 3 :
เส้นเอ็นขาดออกจากกัน ในขณะที่เส้นเอ็นขาดนั้นผู้ป่วยจะได้ยินเสียง "ป็อก" ภายในเข่า เข่าบวม ไม่สามารถเดินลงนํ้าหนักขาข้างที่มีปัญหาได้ รู้สึกเข่าหลวมในขณะที่เดินชัดเจน ซึ่งในระยะนี้ต้องเข้ารับการผ่าตัดสถานเดียวครับ

การดูแลรักษาโรคเอ็นไขว้หน้าอักเสบ

ในรายที่ตรวจพบว่าเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดเพียงบางส่วนไม่ต้องเข่ารับการผ่าตัดนั้น โดยทั่วไปจะรักษาเพื่อลดอาการปวด บวม และใช้เครื่องมือกายภาพในการเร่งให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองเร็วขึ้น เข่น ใช้เครื่อง ultrasound, laser, shortwave เป็นต้น และที่ขาดไม่ได้เลยคือการออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่าครับ เพราะตราบใดที่รักษาจนอาการปวดหายไป แต่เข่ายังคงหลวมอยู่เหมือนเดิมก็ไม่มีประโยชน์หรอกครับ สุดท้ายก็กลับมามีอาการปวดเหมือนเดิม รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาดเสียที

โดยการออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่ามีหลายท่ามากครับ นับกันไม่ไหวเลยทีเดียว เช่น

1) การฝึกยืนบนเบาะนุ่มๆ และงอเข่าเล็กน้อยค้างไว้ 30 วินาที ขณะที่ฝึกหลังต้องตรงนะครับ ไม่ใช้มือยันขาใดๆ และอาจจะเพิ่มความยากอีกนิดโดยการหลับตาในขณะที่ทำด้วย
2) ฝึกงอเข่าหนีบลูกบอล โดยให้ยืนชิดกำแพงนำลูกบอลหนีบไว้ระหว่างเข่าสองข้าง จากนั้นหนีบลูกบอลแล้วค่อยๆงอเข่าลงแล้วเหยียดเข่าขึ้นนับเป็น 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้งนะครับ ซึ่งในขณะที่ทำหากมีอาการปวดเข่าควรหยุดออกกำลังกายทันที เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นได้
3) ฝึกเตะขา โดยนั่งเก้าอี้ขาพ้นจากพื้น แล้วเตะขาขึ้นโดยมีถุงทรายถ่วงขานํ้หนัก 1 กิโลกรัม ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วเอาขาลง จัดว่าเป็นท่าเบสิกเลยละครับ
4) การปั่นจักรยานก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กันนะครับ
5) ในรายที่ฝึกออกกำลังกายไม่ได้เลยตามที่แนะนำไปตั้งแต่ 1-4 เนื่องด้วยอาการปวด แนะนำให้ไปเดินในนํ้าความสูงระดับเอวดู หรือว่ายนํ้าตีขาเบาๆเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

เครดิตภาพ
- http://physioworks.com.au/injuries-conditions-1/acl-anterior-cruciate-ligament-injuries
-http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00549
- http://ehealthmd.com/acl-tears/what-anterior-cruciate-ligament#axzz41NeIhuvU

โรค TOS ปวดไหล่ก็ไม่ใช่ ปวดคอก็ไม่เชิง กับโรคแปลกๆที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึง


Thoracic Outlet Syndrome (TOS)
กลุ่มอาการเส้นเลือดและเส้นประสาทถูกกดรัดที่ทรวงอก

กลุ่มโรค TOS จัดว่าเป็นโรคที่คนทั่วไปจะนึกถึงเป็นอันดับท้ายๆเลยก็ว่าได้ครับ เพราะลักษณะอาการของโรค TOS นี้มีความใกล้เคียงกับโรคคอเสื่อม และโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังมากพอสมควร ผมชอบเรียกโรคนี้ในสมัยที่เรียนอยู่ว่า "โรคอีแอบ" คือ ตรวจวินัจฉัยมาแทบทุกโรคแล้วก็ไม่พบอาการที่เด่นชัดว่าเป็นกระดูกคอเสื่อมหรือเปล่า หรือมีเส้นประสาทถูกกดทับที่คอ หรือเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังกันแน่ ยิ่งตรวจยิ่งงงตัวเอง แต่พอใช้เทคนิคการตรวจพิเศษของโรคนี้ปรากฎว่า ใช่โรค TOS ซะงั้น ทำเอาซะผมเกือบโดนอาจารย์เขกกะบาลแตกเชียวแน่ะ ฮาๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค TOS

สาเหตุหลักๆเกิดจากกล้ามเนื้อภายในช่องอก กระดูกไหปลาร้า หรือกระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 ไปกดเบียดเส้นประสาท (brachial plexus) และเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อแขนครับ ซึ่งตำแหน่งที่ถูกกดทับสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ตำแหน่งหลัก ดังนี้


ตำแหน่งการกดทับของ scalenus anticus syndrome

ตำแหน่งที่ 1 : scalenus anticus syndrome

การกดทับที่ตำแหน่งนี้เกิดจากกล้ามเนื้อที่คอ middle scalene และ anterior scalene บีบรัดเส้นประสาทที่อยู่ตรงกลางระหว่างกล้ามเนื้อทั้ง 2 มัดนี้ จากภาวะที่กล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูง อาจจะด้วยการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อคอมากใดๆตาม เช่น ช่างทาสี ช่างเครื่องที่ต้องแหงนหน้าเป็นประจำ นอกจากนี้อาจจะมีการกดทับของเส้นเลือดแดงร่วมด้วย (subclavian artery)


adson maneuver test คือท่าตรวจโรค scalenus anticus syndrome

วิธีตรวจว่ามีการกดทับที่ตำแหน่งนี้คือ ให้ผู้ป่วยนั่งแขนวางข้างลำตัว หันศีรษะไปทางด้านเดียวกับข้างที่ปวดแล้วเงยหน้าขึ้นค้างไว้ ซึ่งท่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัดมีความตึงตัวมากขึ้นจนไปบีบรัดเส้นประสาท ทำให้รู้สึกชาร้าวลงแขน นอกจากนี้หากมีการกดทับของเส้นเลือดแดงร่วมด้วยจะพบว่าชีพจรของข้อมือข้างที่มีปัญหาค่อยๆเบาลงครับ


ตำแหน่งการกดทับของ costoclavicular syndrome

ตำแหน่งที่ 2 : costoclavicular syndrome

การกดทับที่ตำแหน่งนี้จะเกิดขึ้นตํ่าลงมากว่าที่แรกครับ โดยทั้งเส้นประสาท เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดแดงจะรอดผ่านช่องที่อยู่ระหว่างกระดูกไหปลาร้ากับกระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 ซึ่งการกดทับนั้นเกิดจากการที่กระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 นั้นยกตัวสูงขึ้น หรืออาจเกิดจากกรดูกซี่โครงมีการผิดรูปอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ช่องที่เส้นประสาทและเส้นเลือดทั้งหลายแคบลงและถูกกดทับจากกระดูกซี่โครงและกระดูกไหปลาร้าในที่สุด อาการแสดงจะคล้ายกับตำแหน่งแรกครับคือชาร้าวลงแขน และชีพจรที่ข้อมือเบาลง แต่หากมีการกดทับของเส้นเลือดดำร่วมด้วยจะทำให้ผู้ป่วยแขนบวม ข้อนิ้วติดแข็ง มีอาการเขียว และแขนล้าได้ง่าย


ตำแหน่งการกดทับของ  hyperabduction syndrome

ตำแหน่งที่ 3 : hyperabduction syndrome

การกดทับที่ตำแหน่งนี้เกิดจากกล้ามเนื้อ pectoralis minor (เป็นกล้ามเนื้อมัดลึกที่อยู่ภายในทรวงอกใกล้กับหัวไหล่) หดสั้นลงจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้เส้นประสาทและเส้นเลือดดำและแดงที่ลอดผ่านใต้กล้ามเนื้อมัดนี้ถูกกดทับทันที ซึ่งในคนทั่วไปก็อาจเกิดขึ้นได้เช่น คนที่ชอบนอนหงายแล้วเอาแขนหนุนศีรษะในตอนกลางคืนจนรู้สึกชาแขน แต่เมื่อเอาแขนลงอาการชาก็หายไปในทันที หรือในผู้ที่มีภาวะไหล่ห่อมานานจนทำให้กล้ามเนื้อ pectoralis minor ตึงตัวก็มีอาการได้เช่นกัน อาการหลักๆก็คือ มีอาการชา ปวดเมื่อกางแขนสูงๆค้างๆไว้ รู้สึกตังลึกๆภายในอก จับชีพจรของข้อมือเบามากเมื่อเทียบกับข้างปกติ


allen test คือท่าตรวจโรค hyperabduction syndrome

วิธีการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกางแขนขึ้นแล้วหมุนต้นแขนออก (เหมือนกับการชูมือขึ้นในท่ายอมแพ้นั่นแหละครับ) เมื่อยกค้างไว้สักระยะจะทำให้กล้ามเนื้อบีบรักเส้นประสาทและเส้นเลือดทำให้เกิดอาการชา ปวดขึ้น คลำพบชีพจรได้เบามาก หรือไม่พบเลยนั่นเองครับ

อาการของผู้ป่วย TOS

- มีอาการปวดที่ก้านคอ
- ปวดแบบเป็นๆหายๆ และจะปวดมากขึ้นในช่วงเย็นหลังจากทำงานมาทั้งวัน
- เมื่อเงยหน้า หรือเอียงศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่งค้างไว้ผู้ป่วยจะอาการปวดที่ก้านคอมากขึ้นและอาจปวดร้าวลงแขนร่วมด้วย
- บางครั้งก็มีอาการปวดร้าวไปยังขากรรไกร, หู, ทรวงอก หัวไหล่ และร้าวลงมาถึงแขน
- มีอาการชาที่แขนตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
- บางรายก็มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
- ในรายที่มีภาวะไหล่ห่อจะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
ซึ่งจากอาการที่กล่าวมานั้นจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับโรคกระดูกคอเสื่อมและโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังอยู่มากพิสมควร ดังนั้น หากผู้ป่วยสงสัยว่าตนเองโรคอะไรกันแน่ควรเข้ารับการตรวจโดยละเอียดจากแพทย์หรือนักกายภาพจะเหมาะสมที่สุดนะครับ

การดูแลรักษา

ในกรณีที่มีการกดทับจากกล้ามเนื้อ จะใช้วิธีการยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อครับ เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่ให้ไปกดทบเส้นประสาทอีก ส่วนในรายที่มีภาวะไหล่ห่อ แนะนำให้ปรับบุคลิกภาพ เช่น ขณะนั่งทำงานหน้าโต๊ะก็ควรหากระจกมาตั้งไว้ให้อยู่ในลานสายตา เพื่อคอยกระตุ้นเตือนให้ไหล่ตรงอยู่เสมอ นอกจากนี้การออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะบักก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีเช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังของทรวงอกทำงานสมดุลกัน

แต่รายที่แพทย์ตรวจพบว่าการกดทับนั้นเกิดจากกระดูกซี่โครงที่ 1 ไปกดทับเส้นประสาทที่รอดผ่านมา แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดกระดูกซี่โครงที่ 1 บางส่วนออก เพื่อเปิดช่องให้เส้นประสาทและเส้นเลือดผ่านได้สะดวก ลดการกดทับนั่นเองครับ

ส่วนวิธีการตรวจโรค TOS แบบฉบับทำเอง ดูได้ตามคลิปข้างล่างนี้เลยครับผม


วิธีตรวจโรค TOS แบบฉบับตรวจเอง

รักษาโรค TOS ในส่วน scalenus anticus syndrome


รักษาโรค TOS ส่วน hyperabduction syndrome

เครดิตภาพ
- http://elbowandbelow.weebly.com/thoracic-outlet-syndrome.html
- https://quizlet.com/43549821/8-considerations-for-tx-of-cv-disease-flash-cards/
- http://abbottcenter.com/bostonpaintherapy/?p=3310
- http://www.brighamandwomens.org/Departments_and_Services/surgery/thoracic-surgery/chest-wall-diaphragm-conditions/thoracic-outlet-syndrome.aspx?sub=3
- http://www.annalsofian.org/article.asp?issn=0972-2327;year=2012;volume=15;issue=4;spage=323;epage=325;aulast=Khan
- http://medicalmarijuana.com/medical-marijuana-treatments/Thoracic-Outlet-Syndrome
- https://theboard.byu.edu/questions/66808/


โรคข้อสันหลังยึดติด โรคที่มาเงียบๆแต่ฟาดเรียบทั้งสันหลัง


โรคข้อกระดูกสันหลังยึดติด (ankylosing spondylitis)

โรคนี้อาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้กันในคนทั่วไปเท่าใดนัก เนื่องจากไม่ใช่โรคที่ใครๆก็จะเป็นกันได้ง่ายๆเหมือนอย่างโรคปวดเข่า ปวดหลัง แต่ถ้าเป็นโรคนี้แล้วลำบากมากครับ เพราะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้

ครั้งหนึ่งในสมัยที่ผมฝึกงานในโรงพยาบาลรัฐได้พบกับคุณลุงท่านนึงที่มีลักษณะท่าทางการเดินแปลกๆ เห็นเดินหลังค่อม ก้าวเท้าสั้นๆเหมือนคนไม่มั่นใจในตัวเอง เวลาจะเดินก็ต้องคอยหาอไรจับยึดตลอดคงเพราะกลัวล้ม เวลาจะหันซ้ายแลขวาทั้งที คุณลุงเล่นหันทั้งตัวเลยแฮะแทนที่จะหมุนคอเอา ซึ่งผมก็ยืนงงอยู่พักนึงก่อนจะเข้าไปถามอาการ ลุงมาด้วยอาการปวดหลัง หลังตึงละครับ ซึ่งก็พบได้ทั่วไปละนะ

แต่ที่แปลกใจในขณะที่ตรวจร่างกายก็คือ กระดูกสันหลังลุงแข็งมากก้มหลังไม่ได้เหยียดหลังก็ไม่ได้ บิดตัวเอี้ยวทำไม่ได้ทั้งนั้น ยกขาก็ยกได้นิดเดียว ไหล่ก็ติดแข็ง ทรวงอกก็ไม่ค่อยขยายเวลาหายใจเข้าลึกๆ ผมเห็นว่ามันแปลกเกินไปแล้ว เลยถามลุงไปตรงๆเลยว่า เคยไปพบหมอมาก่อนมั้ย แล้วหมอบอกมั้ยว่าลุงเป็นโรคอะไร? (ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาอยู่ ความรู้ยังไม่แน่นปึ๊ก) ลุงบอกมาว่าเป็น"โรคข้อกรพดูกสันหลังยึดติด" เป็นมาหลายปีแล้ว รู้อยู่แล้วว่ารักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายหรอก แต่ครั้งนี้มันปวดหลังมากเลยมารักษากายภาพซะหน่อย นั่นเป็นครั้งแรกเลยครับที่ผมได้รู้จักกับโรคนี้ในทางปฎิบัติ แล้วที่ผมงงยิ่งกว่าไม่ใช่อาการที่ลุงเป็นหรอกนะครับ แต่เป็นอาชีพของลุงมากกว่า ลุงทำอาชีพขับรถบรรทุก 10 ล้อ!! เฮ้ย แข็งไปทั้งตัวอย่างงี้แล้วขับได้ไงกัน? ลุงก็บอกว่าเวลามองกระจกข้างก็ใช้วิธีเหล่ตาแล้วก่ะๆเอา ถ้ามันเหล่ไม่ถึงก็ให้เด็กรถที่มาด้วยกันช่วยบอกก็ขับได้ โห..สุดยอดไปเลยลุง

"ว่าแต่ทำไมลุงไม่บอกผมแต่เนิ่นๆละว่าลุงเป็นโรคนี้" ผมถามด้วยความสงสัย "อ๋อ ลุงก็อยากรู้ว่าหนูเก่งพอที่จะวินิจฉัยลุงได้มั้ยว่าลุงเป็นโรคอะไร" เอิ่ม...โดนคนไข้ลองภูมิซะงั้น  คุยโม้ไปซะเยอะ เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า

โรคข้อสันหลังยึดติดนั้น เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง โดยการอักเสบอักเสบนั้นจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน และด้วยความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย ทำให้กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังเริ่มมีการติดแข็ง มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้น้อยลง จากนั้นอาการข้อติดแข็งก็ลุกลามไปทั้งแนวกระดูกสันหลัง กระดูกคอ ข้อสะโพก รวมถึงข้อไหล่ด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะข้อติดอย่างถาวร มีลักษณะหลังค่อม คอยื่น บิดเบี้ยวลำตัวและศีรษะไม่ได้ สร้างความลำบากในชีวิตประจำวันอย่างมากถึงมากที่สุด และมักพบในกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานตั้งแต่อายุ 15-30 ปี

สาเหตุของโรค ankylosing spondylitis

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดครับ แต่สันนิษฐานกันว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่ตรวจพบยีน HLA-B27 ที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมา นอกจากนี้อีกสาเหตุหนึ่งที่เ็นไปได้ก็คือเกิดจากภูมิคุ้มกันบกกร่อง โดยเจ้าภูมิคุ้มกันในร่างกายเราเข้าใจผิดคิดว่าเยื่อหุ้มกระดูกสันหลังหรือข้อต่อของเราคือภัยคุกคาม จึงทำพยายามทำลายเสีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ ปวดหลังนั่นเอง และเมื่อภูมิคุ้มกันกลับมาเป็นปกติก็พบว่า เยื้อหุ้มข้อกระดูกสันหลังของเราถูกทำลายไปจนหมดแล้วทำให้กระดูกสันหลังเกิดเชื่อมติดกันไปจนเหมือนปล้องไม้ไผ่ สูญเสียการเคลื่อนไหวของข้อต่อ จนเกิดความพิการในที่สุด

ภาพเปรียบเทียบกระดูกสันหลังปกติ กับระยะที่เป็นโรค

อาการของผู้ป่วย ankylosing spondylitis

ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆนอกจากอาการปวดหลัง หรือปวดข้อที่เป็นๆหายๆร่วมปี โดยอาการเริ่มแรกจะปวดที่รอยต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลัง จากนั้นก็เริ่มปวดตามแนวกระดูกสันหลัง และเริ่มรู้สึกหลังแข็ง องศาในการก้มหลัง แอ่นหลัง บิดลำตัวทำได้น้อยลงไปเรื่อยๆ กว่าที่กระดูกสันหลังทั้งแนวจะติดเป็นแผ่นเดียวกันนั้นใช้เวลาหลายปีอยู่ครับ ส่วนจะมีอาการหลังค่อมมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวันและการดูแลรักษาตั้งแต่ข้อกระดูกสันหลังยังไม่ติดเป็นแผ่นเดียวกันหมดครับผม นอกจากจะมีอาการที่ประดูกสันหลังแล้ว ผู้ป่วยยังมีอาการติดแข็งที่ข้ออื่นๆร่วมด้วย เช่น กระดูกข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่ เป็นต้น ถึงแม้กระดูกสันหลังจะติดแข็งเป็นแผ่นเดียวกัน แต่กระดูกก็มีความเปราะบาง เสี่ยงต่อการแตกหักง่ายกว่าคนทั่วไป ฉะนั้น ผู้ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการปะทะ การกระแทก และการหกล้ม สรุปแล้วอาการทั้งหมดจะมีดังนี้

- หลังแข็งเป็นแผ่นเดียวกัน
- ไม่สามารถก้ม เงย บิดลำตัวได้
- ก้ม เงย หมุนคอไม่ได้เลย
- x-ray พบกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังเชื่อมติดกัน
- ปวดที่เชิงกราน และกระดูกสันหลังเป็นๆหายๆ เนื่องจากมีภาวะข้อกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังอักเสบ
- มีอาการข้อสะโพกติด เข่าติด ไหล่ติดร่วมด้วย
- มีอาการปวดหลัง และหลังแข็งมากเวลาตื่นนอน แต่เมื่อลุกมาทำกิจวัตรตามปกติครึ่งชั่วโมงอาการต่างๆจะทุเลาลง
- ทรวงอกขยายตัวได้น้อยลงขณะที่หายใจเข้าลึกๆ ผู้ป่วยจึงหายใจค่อนข้างถี่ และเหนื่อยง่าย
- ในรายที่มีการยึดติดมากๆ จะนั่งยองๆไม่ได้ ยืนเหยียดตัวตรงก็ไม่ได้ ทำให้ต้องนั่งรถเข็นไปตลอดชีวิต

การดูแลรักษาของโรค ankylosing spondylitis

เป้าหมายการดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคนี้คือ การลดความพิการที่จะเกิดขึ้น ลดปวด พยายามให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้มากที่สุด และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นข่าวร้ายครับ ที่ต้องบอกว่าโรคนี้ไม่สามารถให้หายขาดได้ ทำได้แค่ให้ข้อต่อของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากที่สุด และไม่ให้ข้อต่ออื่นๆที่ไม่ใช่กระดูกสันหลังเกิดภาวะติดแข็งตามไปด้วย

การออกกำลังกายที่ผมแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ การว่ายนํ้าครับ เพราะช่วยเสริมสร้างกำลังกล้ามเนื้อได้ทุกส่วน ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระกว่าบนบก และข้อต่อทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ช่วยลดภาวะข้อติดที่จะตามมาได้

การยกนํ้าหนักก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันครับ ที่ให้ยกนํ้าหนักไม่ได้ต้องการให้ผู้ป่วยมีกล้ามโตอะไรหรอกนะครับ แต่การยกนํ้าหนักหรือการออกกำลังกายที่มีแรงต้านช่วยเสริมมวลกระดูกให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงที่ผู้ปว่ยจะเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกเปราะได้นั่นเองครับผม ถ้าถามว่าจะออกส่วนไหนบ้างละก็ ผมอยากแนะนำว่าให้ออกทุกส่วนจะดีที่สุดนะครับ

ส่วนผู้ป่วยท่านไหนที่ยังคงต้องทำงานนั่งโต๊ะอยู่เป็นประจำ ให้เปลี่ยนโต๊ะที่ใช้งานเป็นโต๊ะเขียนแบบ (drafting table) แทนเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยหลังค่อมและกระดูกคอยื่นมากนั่นเองครับ

ข้อห้าม ห้าม ห้าม

- ห้ามดัดกระดูกเอง หรือให้ใครดัดกระดูกให้โดยเด็ดขาดนะครับ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้กระดูกสันหลังแตกหักจนเศษกระดูกไปทิ่มเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตในที่สุด
- การดึงหลังก็ห้ามเช่นกัน จุดประสงค์หลักของการดึงหลังคือ ให้ข้อกระดูกที่อยู่ชิดกันแยกห่างออกเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างข้อกระดูกสันหลัง แต่สำหรับโรคนี้ที่ข้อต่อเชื่อมติดกันจนเป็นแผ่นเดียวกันแล้วนั้น การดึงหลังไม่มีประโยชน์ใดๆเลยครับ แถมยังเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหักได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็มีกรณียกเว้นในรายที่พึ่งเริ่มเป็นหลังแข็ง เมื่อ x-ray มาแล้วพบว่ากระดูกสันหลังยังไม่เชื่อมติดกันสนิท นักกายภาพอาจจะให้ดึงหลังเบาเพื่อปรับโครงสร้างลดภาวะหลังค่อมที่จะเกิดตามมานั่นเองครับผม

เครดิตภาพ
- http://arthritis-hyalutidin.com/ankylosing-spondylitis.html
- https://www.arthritiswa.org.au/content/page/ankylosing-spondylitis-.html



เกาต์ VS รูมาตอยด์ โรคที่มีทั้งความเหมือนและความต่าง กับวิธีการแยกโรค


เกาต์ VS รูมาตอยด์
ปวดข้อเหมือนกัน แต่มีรูปแบบการปวดที่ต่างกัน

โรคเกาต์และรูมาตอยด์จัดว่าเป็นโรคที่คนไทยอย่างเราๆรู้จักกันดี เพราะพบเห็นกันได้ทั่วไป เมื่อมาถามถึงอาการของโรคนี้หลายคนตอบเหมือนๆกันหมดว่าคือ อาการปวดข้อน่ะ แล้วทีนี้ไออาการปวดข้อที่เป็นอยู่เราจะรู้ได้ไงว่าเป็นจากโรคเก๊าต์หรือจากโรครูมาตอยด์ละ พอถามยังงี้ก็งงเป็นไก่ตาแตกกันทีเดียวเชียว สมัยผมเป็นนักศึกษาก็เจอข้อสอบถามความแตกต่างระหว่าง 2 โรคนี้ ด้วยความที่คิดว่าอาจารย์คงไม่ออกข้อสอบอะไรซับซ้อนแน่ เลยไม่ได้เตรียมตัวมาเป็นพิเศษ พอเจอข้อสอบอบบนี้ไปถึงกับสตั๊นไป 10 วินาที แล้วตอบไปอย่างรวดเร็วว่า "ไม่แตกต่างกัน เพราะปวดข้อเหมือนกันครับ" คงไม่ต้องบอกก็รู้นะครับวันนั้นคะแนนข้อสอบของผมออกมาจะทุเรศขนาดไหน เหอะๆ

มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ความแตกต่างของโรคเก๊าต์และรูมาตอยด์

โรคเก๊าต์

1) เกิดจากผลึกยูเรตไปสะสมที่ข้อต่อ ทำให้ทิ่มตำเนื้อเยื่อรอบๆข้อจนได้รับความบาดเจ็บ
2) เมื่ออากาศเย็นหรือประคบเย็นบริเวณข้อที่มีปัญหาทำให้ปวดมากขึ้น
3) มักปวดเพียงข้อเดียวหรือ 2 ข้อ ข้างใดข้างหนึ่ง
4) มักปวดที่ส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า น้อยมากที่จะปวดข้อมือ หรือข้อไหล่
5) รู้สึกข้อนิ้วเท้าฝืดอยู่บ้าง และจะรู้สึกมากขึ้นเมื่อากาศหนาวเย็น
6) มีปุ่มก้อนที่ข้อนิ้วเท้าบางนิ้ว ซึ่งเรียกปุ่มก้อนเหล่านี้ว่า ปุ่มก้อนโทฟัส
รายละเอียดเพิ่มเติมของโรคเก๊าต์

โรครูมาตอยด์

1) สันนิษฐานว่าเกิดจากภูมิต้านทานภายในร่างกายผิดปกติ ไปทำลายเยื่อหุ้มข้อจนได้รับบาดเจ็บ
2) สภาพอากาศร้อนหรือเย็นไม่ได้ส่งผลให้เกิดอาการปวดมากขึ้นนัก ยกเว้นระยะที่ข้ออักเสบรุนแรงแล้วไปประคบร้อนจะทำให้อักเสบเพิ่มขึ้นได้
3) มักปวดหลายๆข้อพร้อมๆกัน และปวดทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน
4) ปวดได้ทุกที่ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า จะข้อไหล่หรือข้าเข่าก็เป็นได้เช่นกัน
5) ตื่นนอนมาจะรู้สึกข้อฝืด ขัดในข้อ แต่เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายไปได้สักระยะอาการข้อฝืดจะทุเลาลง
6) มีการผิดรูปของข้อนิ้ว ข้อนิ้วเท้า ข้อมือ และมีภาวะข้อติดแข็ง เนื่องจากเยื่อหุ้มข้อเสียหายไปจนเนื้อกระดูกเชื่อมติดกัน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จากข้อมูลเล็กๆน้อยๆนี้คงช่วยคลายข้อสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างโรคเก๊าต์และโรครูมาตอยด์ไปไม่มากก็น้อยเนอะ หากมีคำถามก็เม้นเข้ามาได้เลยครับผม^^

เครดิตภาพ
- http://www.medicinenet.com/rheumatoid_arthritis/article.htm

ไฟโบรมัยอัลเจีย ปวดแปลกๆที่ปวดกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว


โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) 
โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วทั้งตัว

อ่านไม่ผิดหรอกครับ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวดทั่วทั้งตัวจริงๆ ปวดตั้งแต่ศีรษะยันนิ้วเท้า ปวดอย่างไม่มีเหตุผล ปวดหาที่มาไม่ได้ จัดว่าเป็นโรคที่สร้างปัญหาแก่ตัวผู้ป่วยและผู้รักษาด้วยกันทั้งคู่เลยละครับ เพราะอาการที่แสดงมานั้นบางครั้งมันก็ไม่มีเหตุผล จู่ๆก็ปวดขึ้นมาดื้อๆ เช่น ปวดที่ใบหูซ้ายอย่างงี้ ผมก็งงละสิ โรคอะไรกันที่ปวดที่ใบหู ถ้าปวดกกหูก็ยังพอวินิจฉัยโรคได้ แต่นี่ปวดใบหู แล้วอาการของผู้ป่วยที่มารักษาแต่ละวันนั้นแทบไม่ซํ้ากันเลยละครับ วันนี้ปวดใบหู พรุ่งนี้ปวดนิ้วมือ วันถัดไปปวดขาหนีบ - -! 

โรคไฟโบรมัยอัลเจียนั้นมีความคล้ายคลึงกับโรคปวดกล้ามเนื้อทั่วไป (myofascial pain syndrome) เพียงแต่โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วไปนั้น จะมีอาการปวดเพียงไม่กี่จุดตามร่างกาย และส่วนมากมักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อซํ้าๆเดิมๆเป็นเวลานานๆจนทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดจากการบาดเจ็บเรื้อรังมาแต่ไม่ได้รับกษาให้หายขาด ซึ่งมีที่มาที่ไปชัดเจน แต่โรคไฟโบรมัยอัลเจียนี่ปวดมากกว่า 10 จุดทั่วทั้งร่างกาย แม้นอนอยู่เฉยๆก็มีอาการปวดได้และจะปวดมากขึ้นหากได้ทำงานหรือใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก

สาเหตุของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

โรคนี้ยังสาเหตุที่แน่ชัดครับ แต่สันนิษฐานว่ามีความเกี่ยวข้องทางจิตใจอยู่มาก เช่น เป็นโรคซึมเศร้า มีความเครียดอยู่ตลอดเวลา เคยได้พบเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรงในอดีต เป็นโรคเรื้อรังบางชนิด นอนไม่หลับ เป็นต้น 

อาการของผู้ที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

- นอนไม่หลับ ไม่สามารถนอนหลับลึกได้ ตื่นทุกๆ 2 ชั่วโมง เมื่อตื่นมาไม่รู้สึกสดชื่นเหมือนคนนอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานาน
- มีการรับความรู้สึกที่ไวมากกว่าปกติ เช่น อากาศอุ่นขึ้นเพียงเล็กน้อยก็บอกว่าร้อนแล้ว พออากาศเย็นลงหน่อยก็บอกว่าหนาว แตะโดนตัวเบาๆก็รู้สึกเจ็บ เป็นต้น
- มีความผิดปกติทางจิตใจร่วมด้วย เช่น เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้ว
- อ่อนเพลียง่าย
- มีความเครียดง่าย อ่อนไหวทางอารมณ์สูง
- รู้สึกกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นฝืดตึง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกาย และส่วนมากมักปวดไม่เลือกเวลา ปวดอย่างไม่มีเหตุผล และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีอารมร์โกรธ หรือซึมเศร้า
- ปวดตามข้อต่อ ทั้งๆที่ตรวจโรคแล้วก็ไม่พบว่าข้อต่อมีปัญหาอะไร
- จำเหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิตไม่ค่อยได้ ขี้หลงขี้ลืม
หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวยาวนานติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนก็สันนิษฐานได้เลยครับว่าเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียแน่ๆ

การดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจีย

เมื่อเราทราบว่าเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียแล้วแน่ๆ สิ่งแรกที่ต้องทำเลยครับคือ การเปลี่ยนสภาแวดล้อม เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่นั้นมีผลต่อการรักษาอย่างมาก เช่น อยู่ในแหล่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดได้ง่าย มีเพื่อนๆหรือคนรู้จักที่ชอบนำเรื่องเครียดๆแย่ๆมาพูดคุยเป็นประจำ ให้เปลี่ยนมาอยู่ในแหล่งที่สงบเงียบ หลีกเลี่ยงการพูดคุยที่กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความเครียด หมั่นออกจากสภาพแวดล้อมเดิมๆ เช่น เคยกลับบ้านมาก็มานั่งดูทีวี เล่นคอมให้เปลี่ยนเป็นปั่นจักรยานเล่น ออกไปเดินเล่นข้างนอกที่สงบเงียบ หรือฝึกนั่งสมาธิก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีไม่แพ้กัน

ให้หมั่นออกกำลังกายครับ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีนิสัยที่เครียดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยเข้าสังคม ดังนั้น การออกไปออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน การว่ายนํ้า การรำไทเก๊ก ก็เป็นกิจกรรมที่สร้างความผ่อนคลายให้แก่ผู้ป่วยได้ดีมาก และการออกกำลังกายยังทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรามีความสุขอีกด้วยนะครับ 

สรุปก็คือ สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้จะเน้นการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเป็นหลักครับ บางรายอาจต้องทานยาร่วมด้วย ซึ่งโรคนี้จะหายขาดหรือไม่นั้นหลักๆแล้วขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของตัวผู้ป่วยเองครับ หากสภาพจิตใจดี อาการปวด อาการนอนไม่หลับต่างๆก็จะค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งคนในครอบครัวก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลนะ 

เครดิตภาพ
- http://www.onlinehealthmag.com/neck-and-shoulder-pain/

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก โรคที่ทำให้ใบหน้าเสียโฉมอย่างช้าๆ


อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก (bell's palsy)

โรค bell's palsy จัดว่าเป็นโรคหนึ่งที่ไม่ได้สร้างความเจ็บปวดทางกายใดๆเลย แต่สร้างความเจ็บปวดทางใจอย่างสุดแสนก็ว่าได้ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ล้วนเสียความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าเข้าสังคม และรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยอยู่ตลอด เนื่องจากใบหน้าที่พิการครึ่งซีกทำให้ใบหน้าดูบิดเบี้ยว เสียโฉม และที่สำคัญคือเป็นระยะเวลานานหลายเดือนด้วยครับ อย่างโรคเจ็บปวดทางกายทั่วไป ถ้าเราไม่แสดงอาการเจ็บปวดก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นโรค แต่สำหรับ bell's palsy นั้น ผู้ป่วยเหมือนกับมีเครื่องหมายติดอยู่ทีใบหน้าอยู่ตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ครับ 

สาเหตุของ bell's palsy

ในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเลยครับว่าเกิดจากเชื้อโรคอะไร ได้แต่สันนิจฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อเริม เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสอื่นๆ หรืออาจเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่องไปทำลายเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ชั่วคราว ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกและสั่งการกล้ามเนื้อใบหน้าซีกนั้นๆ ทำให้เกิดภาวะ nerve shock หรือเส้นประสาทช็อกจนหยุดการทำงานชั่วคราว เมื่อไม่มีสัญญาณประสาทมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ผลก็คือกล้ามเนื้อใบหน้าขาดการกระตุ้นความรู้สึก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความตึงตัวลดลง เราจึงเห็นว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มีใบหน้าที่เหี่ยวลงข้างนึง และที่แปลกก็คือ มักพบในเพศหญิงที่ตั้งครรภ์หรือเป็นโรคเบาหวานอีกด้วยครับ


ภาพแสดงเส้นประสาทคู่ที่ 7 (facial nerve) มาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า

อาการของผู้ป่วย bell's palsy

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่มีอาการปวดใดๆหรอกครับ แต่จะอาการทางกายครึ่งใบหน้าที่เด่นชัดดังนี้
- คิ้วตก ไม่สามารถยักคิ้วขึ้นได้
- หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง มีนํ้าตาไหลอยู่ตลอดเวลา หนังตาตกเหมือนคนลืมตาไม่ขึ้น
- แก้มหย่อน แก้มตก ไม่สามารถยิ้มยิงฟันได้ ขณะที่ยิ้มมุมปากไม่ยกตาม
- ดูดนํ้าจากหลอดแล้วนํ้าจะไหลออกจากมุมปาก
- ทำแก้มป่อง หรือทำปากจู่ไม่ได้
- ขณะเคี้ยวข้าวจะมีนํ้าลายไหลออกจากมุมปาก เนื่องจากปิดปากไม่สนิท
- บางรายอาจมีอาการหูอื้อ หรือลิ้นชาร่วมด้วย

การดูแลรักษาสำหรับโรค bell's palsy

โรคนี้มีข้อดีก็คือสามารถหายเองได้ครับ ไม่ว่าจะเข้ารับการรักษาหรือไม่ก็ตามก็หายได้เองตามธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมแนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคที่แท้จริงและดูว่ามีโรคแทรกซ้อนอื่นๆหรือไม่นั้นจะดีที่สุดนะครับ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกนั้นจะมีอาการคล้ายกับโรคเส้นเลือดสมองอุดตันในระยะเริ่มต้น จนนำไปสู่โรคอัมพาตครึ่งซีกของลำตัว (hemiplegia) นั่นเองครับ ไปพบแพทย์ไว้ก่อนเพื่อความสบายใจนะครับ

ส่วนการรักษาทางกายภาพบำบัดนั้น จะใช้การกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อใบหน้า ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อให้ช้าที่สุดเพื่อให้ทันกับการฟื้นตัวของเส้นประสาท นอกจากนี้นักกายภาพยังใช้เทคนิค tapping คือการใช้นิ้วเคาะกล้ามเนื้อใบหน้าแต่ละมัดที่ทำหน้าที่ยักคิ้ว หลับตา หรือยิ้ม เป็นต้น เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว กระตุ้นให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานได้ตามปกติเร็วขึ้น หากผู้ป่วยไม่กระตุ้นไฟฟ้าหรือเข้ารับการรักษาใดๆเลย ผู้ป่วยก็ยังคงกลับมาหายได้ตามปกตินะครับ เพียงแต่อาจจะกลับมาไม่สมบูรณ์ 100% เช่น กลับมายิ้มได้เหมือนเดิม แต่ขณะที่ยิ้มริมฝีปากทั้ง 2 ข้างยกสูงไม่เท่ากัน หรือหนังตาตกเมื่อเทียบกับข้างปกติ เป็นต้น 

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยตนเองทุกวันด้วยเช่นกัน โดยการฝึกยักคิ้ว หลับตาปี๋ ทำจมูกบาน ย่นจมูก ฝึกยิ้มยิงฟัน ยิ้มหุบฟัน อ้าปากค้าง ทำปากจู๋ ทำแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง วนมาจนครบ 3 sets และควรทำหน้ากระจกด้วยนะครับ หากขณะที่ทำสังเหตุเห็นว่ากล้ามเนื้อข้างที่เป็นอัมพาตไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใดๆเลย ให้ใช้นิ้วช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยครับ เช่น ฝึกยักคิ้ว แต่คิ้วค้างขวาไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ให้ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางข้างขวาปัดขึ้นที่เหนือคิ้วข้างขวาเร็วๆรัวๆขณะที่ยักคิ้วค้างไว้ 10 วินาที หรือฝึกยิ้มยิงฟัน ก็ให้ใช้นิ้วปัดที่แก้มแนวเฉียงขึ้นเร็วๆจนครับ 10 วินาที 

ในระยะแรกของการรักษานั้น ผู้ป่วยแทบจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างใดๆเลยครับว่าหน้าดีขึ้น แต่ก็อย่าล้มเลิกหรือเสียกำลังใจไปซะก่อนนะครับ เพราะกว่าเส้นประสาทจะฟื้นตัวก็ใช้เวลามากกว่า 2-3 เดือนอยู่แล้ว ในบางรายที่กระตุ้นทุกวันจนเส้นประสาทฟื้นตัวหายเป็นปกติ ก็พบว่าใบหน้านี่ยกกระชับได้รูปสวยกว่าก่อนเป็นโรค bell's palsy ก็มีให้เห็นมาแล้วนะครับ ^^

เครดิตภาพ
- http://www.headandneckcancerguide.org/adults/cancer-diagnosis-treatments/surgery-and-rehabilitation/cancer-removal-surgeries/parotidectomy/
- http://www.medicalclinicsofnyc.com/bells-palsy/

เอ็นกล้ามเนื้องอศอกอักเสบ โรคสุดชิคของสาวนักช้อป


เอ็นกล้ามเนื้องอศอกอักเสบ (Biceps tendinitis)
โรคสุดชิคของสาวนักช้อป

โรคเอ็นกล้ามเนื้องอศอกอักเสบ หรือเอ็นกล้ามเนื้อไบเซ็พส์นั้นมักพบได้บ่อยในผู้หญิงที่ชอบสะพายกระเป๋าถือข้างเดียวที่หนักและเป็นเวลานานขณะเดินห้างหรือเดินจ่ายตลาด นอกจากนี้ก็ยังพบได้ในคนทั่วไปที่มักทำกิจกรรมที่ต้องงอข้อศอกค้างไว้นานๆ เช่น การยกของหนัก การยกของในท่างอศอกค้างไว้นานๆ การงอศอกซํ้าๆกัน หรืออาจจะเกิดจากโครงสร้างของเส้นเอ็นไบเซ็พส์เอง

บางคนอาจจะงงๆว่ากล้ามเนื้อไบเซ็พส์มันอยู่ตรงไหน มันคือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอศอกครับ ถ้านึกไม่ออกก็ให้นึกถึงนักกล้ามหรือผู้ชายทั้งหลายที่ชอบเบ่งกล้ามแขนให้ดูปูดเป็นลูกๆกันนั่นแหละครับ ใช่เลย! 

ทีนี้ความแตกต่างระหว่างการปวดที่กล้ามเนื้อไบเซ็พส์และเส้นเอ็นที่ขึ้นหัวข้อไปนั้น คือ ถ้ากล้ามเนื้ออักเสบจะมีอาการปวดที่กลางกล้ามเนื้อเลยครับ และจะปวดแบบกว้างๆ แต่ถ้าปวดที่เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อไบเซ็พส์นั้นจะปวดบริเวณหัวไหล่ทางด้านหน้าจะรู้สึกปวดลึกๆ ตำแหน่งเล็กๆ คลำหาตำแหน่งปวดที่ชัดเจนได้ยากกว่า เนื่องจากโครงสร้างของเส้นเอ็นบริเวณที่อักเสบนั้น จะอยู่ในร่องของปุ่มกระดูกต้นแขนที่ชื่อ lesser tubercle และ greater tubercle ซึ่งร่องนั้นไม่ได้มีขนาดกว้างมากนัก เมื่อเราใช้งานกล้ามเนื้อโดยการงอศอกเหยียดศอกซํ้าๆกัน ทำให้เส้นเอ็นเอ็นไปเสียดสีกับร่องกระดูกจนเกิดการอักเสบขึ้นนั่นเองครับ


ภาพแสดงปุ่มกระดูก lesser & greater tuberosity

และจากตำแหน่งที่ปวดนั้นจะอยู่ทางด้านหน้าหัวไหล่ เลยทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นข้อไหล่อักเสบ ดังนั้น วิธีตรวจอาการแบบง๊ายง่ายก็คือ เมื่องอศอกและเหยียดศอกในขณะที่ถือของหนักอยู่ เช่น dumbell จะรู้สึกปวดแปล็บที่หน้าหัวไหล่ทันทีที่ออกแรงครับ

อาการของ biceps tendinitis

- ปวดที่ด้านหน้าหัวไหล่
- ปวดมากขึ้นเมื่องอศอกขณะที่มีแรงต้าน
- เมื่องอศอกแล้วหมุนแขนเข้าและออกจะรู้สึกปวดตึง เพราะเส้นเอ็นเคลื่อนไปมาระหว่างปุ่มกระดูกทั้งสอง ถ้าคลำดูในขณะที่หมุนแขนจะรู้สึกถึงเส้นเอ็นที่เคลื่อนอยู่
- เมื่อเหยียดศอกจะรู้สึกตึง แล้วถ้าเหยียดไปด้านหลังจะรู้สึกตึงมากขึ้นจนปวด
- จะปวดลึกๆ เป็นจุดเล็กๆ


ภาพเปรียบเทียบเส้นเอ็นปกติกับเอ็นที่อักเสบ

ารดูแลรักษาของผู้ที่เป็น biceps tendinitis

โดยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ครับ แต่จะหายช้ากว่าเมื่อเทียบกับอาการปวดที่ตัวกล้ามเนื้อ biceps เอง การรักษาในเบื้องต้นไม่มีอะไรมากครับ นั่นคือการพักใช้แขนข้างที่ปวด หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดครับ เพราะการที่เรายังคงใช้แขนข้างที่ปวดอยู่มันก็เหมือนกับเป็นการกระตุ้นให้เอ็นอักเสบมากขึ้น อาการปวดก็มากขึ้นตามไปด้วย

จากนั้นให้ประคบนํ้าแข็งบริเวณที่ปวด 10 นาที ทุกๆชั่วโมง เพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็น และให้ยืดกล้ามเนื้อ biceps โดยการเหยียดศอกไปทางด้านหลังจนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อค้างไว้ 20 วินาที ทำ 5 ครั้ง เพื่อลดความตึงตัวของเส้นเอ็นที่อักเสบอยู่

แต่หากอาการปวดไม่ทุเลาลงเลยหลังจากรักษาด้วยตนเองเป็นเดือนๆ แนะนำให้เข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อใช้เครื่อง ultrasound หรือ laser ลดปวด และเร่งการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่อักเสบอยู่ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาการรักษาไม่นานก็หายขาดได้ครับ เพราะไม่ใช่โรคที่ซับซ้อนอะไร 

เครดิตภาพ
- http://www.stack.com/a/biceps-tendon-injury
- https://www.shoulderdoc.co.uk/article/1177
- http://www.moveforwardpt.com/symptomsconditionsdetail.aspx?cid=6737f4e9-e8ec-43fe-b0b9-01e86354dcea

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นั่งเครื่องบิน เท้าบวม แล้วก็พิการ กับโรคใหม่ที่คุณคาดไม่ถึง


โดยทั่วไปเราอาจจะพอทราบกันมาบ้างแล้วว่า ถ้าเราเดินไปไหนไกลๆเป็นเวลานานติดต่อกันจะมีความรู้สึกว่ารองเท้ามันคับ และรู้สึกเท้าบวมขึ้นอีกต่าง ซึ่งเราก็พอเดาได้ว่าเกิดจากสารนํ้าต่างๆไหลไปกองรวมอยู่ที่เท้าจากการใช้งาน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่มันเป็นเรื่องหน้าแปลกใจตรงที่ "ทำไมเรานั่งเฉยๆแล้วเท้ามันถึงบวมได้ละ?"

อาการเท้าบวมในขณะที่เรานั่งนานๆนั้นมักจะเกิดกับผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินข้ามทวีป หรือแม้กระทั่งนั่งทำงานอยู่ที่ทำงานโดยไม่ลุกไปไหนติดต่อกันหลายชั่วโมงก็รู้สึกว่าเท้าบวมได้เช่นกัน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า หัวใจไม่ใช่อวัยวะเพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่ปั๊มเลือดไปเลี้ยงและนำเลือดกลับมาที่เดิม กล้ามเนื้อก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายๆกับหัวใจ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจากกิจกรรมใดๆก็ตามจะเป็นตัวช่วยปั๊มเลือดหรือสารนํ้าให้ไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น 

แต่สำหรับผู้โดยสารที่นั่งเครื่องบินเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าเราถูกจำกัดอยู่ด้วยพื้นที่ให้ขยับร่างกายไปไหนไม่ได้ เท่านั้นยังไม่พอ เราต้องนั่งนิ่งๆในที่แคบๆอีกต่างหาก แรงโน้มถ่วงของโลกจึงดึงเลือดและสารนํ้าภายในร่างกายลงสู่ที่ตํ่า นั่นก็คือ "เท้า" นั่นเอง 

แล้วผลจากสารนํ้าตกไปสู่ที่เท้ามากๆเข้า ร่วมกับกล้ามเนื้อบริเวณขาไม่ได้มีการหดตัวจากการใช้งาน ทำให้เท้าเราบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพื่อนๆอ่านมาถึงตรงนี้ก็จะคงจะยักไหล่แล้วบอกว่า "เท้าบวมแล้วไง ไม่เห็นจะอันตรายตรงไหน?" ถ้าใครคิดว่าไม่อันตรายละก้คิดใหม่เลยครับ เพราะมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโรคๆหนึ่งที่ทำให้เราตายได้เลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็คือโรค DVT หรือ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep Vein Thrombosis) นั่นเอง


ภาพแสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่บีบตัวช่วยให้เลือดไหลกลับหัวใจ

โรคนี้มีสาเหตุมาจากการที่เรานั่งท่าเดิมนานๆ เช่น ผู้ที่นั่งเครื่องบิน หรือนั่งทำงานไม่ยอมลุกไปไหนเลยติดต่อกันหลายชั่วโมง จึงทำให้เลือดไปกองรวมกันอยู่ที่เท้า เมื่อเลือดไปปริมาณมากไปกระจุกตัวอยู่ในบริเวณเดียวกันทำให้เลือดได้กลายสภาพเป็นลิ่มเลือดอยู่ภายในหลอดเลือดดำ ลิ่มเลือดเหล่านั้นคงจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิตเราได้หรอกครับหากมันยังคงเกาะอยู่ที่เส้นเลือดเช่นเดิม แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปน่ะสิ เพราะทันทีที่เราเปลี่ยนอิริยาบทจากนั่งเป็นเดินหลังจากลงเครื่องบิน จะทำให้หัวใจและกล้ามเนื้อบีบตัวแรงมากขึ้นกว่าตอนที่นั่งอยู่ เป็นผลให้แรงดันภายในหลอดเลือดสูงขึ้นจนไปดันให้ลิ่มเลือดที่เกาะอยู่ตามผนังหลอกเลือดดำหลุดออกมาไหลเวียนไปที่ปอดจนเกิดการอุดตันเพราะถุงลมภายในปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้จากลิ่มเลือดที่เข้าไปอุดตันอยู่ และต่อให้ลิ่มเลือดไม่ไปอุดตันที่ปอดก็อาจไปอุดตันที่เส้นเลือดฝอยภายในสมองจนเกิดภาวะสมองขาดเลือดเป็นอัมพาตก็ได้เช่นกัน 

ซึ่งคนที่เป็นโรค DVT จะมีอาการเท้าบวม เป็นตะคริวได้ง่ายแม้นั่งเฉยๆ เส้นเลือดโป่งพอง มีอาการปวดขาแบบกว้างๆ แต่ก็น้อยคนจะสนใจเพราะคิดว่าเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไป กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ก็ตอนที่เข้าโรงพบาลเรียบร้อยแล้วละครับ จัดว่าเป็นภัยเงียบที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึงจริงๆ


ภาพแสดงลิ่มเลือดเกาะที่ผนังหลอดเลือดดำ

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค DVT ก็คือ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆครับ ลุกขึ้นเดินๆทุกๆ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่บนเครื่องบินก็ให้หมั่นขยุ้มเท้า เหยียดขา ยกขาสลับกัน 2 ข้าง (เหมือนท่าตีเข่า แต่ทำในท่านั่ง) หมุนข้อเท้า และถ้าเป็นไปได้ก็ลุกไปเข้าห้องนํ้าทุกๆชั่วโมงเลยก็ดีครับ จะได้ยืดเส้นยืดสายให้เต็มที่ไปเลย 

เราจะสังเกตุได้ว่า ในปัจจุบันนี้ผู้คนล้มป่วยกันง่ายขึ้น บ้างก็เป็นตั้งแต่หนุ่มสาว โดยส่วนใหญ่โรคต่างๆที่เกิดขึ้นก็มักเกิดจากพฤติกรรมผิดๆในการใช้ชีวิตของเราแทบทั้งสิ้นนะครับ

เครดิตภาพ
- http://www.revitive.com/supporting-evidence-for-ems/
- http://www.webdicine.com/varicose-veins-and-deep-vein-thrombosis-what-is-the-difference.html
- http://www.telegraph.co.uk/telegraph/news/aviation/?showPageNumber=3

ผู้หญิงวิดพื้นบ่อยๆ ทำให้อกโตได้จริงหรือ?


หากสาวๆคนไหนอยากเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นโดยที่ไม่ต้องศัลยกรรม หรือทานอาหารเสริมเพิ่มฮอร์โมนทั้งหลายที่มีขายกันเกลื่อนตามท้องตลาดนั้น อีกวิธีหนึ่งที่สาวๆมักชอบทำกันก็คือ การออกกำลังกายเพิ่มขนาดหน้าอก โดยเฉพาะท่าวิดพื้น มันทำให้หน้าอกเราใหญ่จริงหรือเปล่านะ? ตามมาเลยครับ

วิดพื้นบ่อยๆเพิ่มขนาดหน้าอกได้จริงหรอ? 

เรื่องนี้มันค่อนข้างจะสองแง่สองง่ามครับ คือจะบอกว่าอกใหญ่ขึ้นก็ได้ หรือจะบอกว่าไม่ได้ทำให้อกใหญ่ขึ้นก็ได้เช่นกัน อ่านแล้วงงๆกันใช่มั้ยครับ ผมจะอธิบายอย่างงี้ละกัน 

ที่หน้าอกของสาวๆนั้นประกอบไปด้วยเต้านม (ที่มีส่วนประกอบของไขมัน) และกล้ามเนื้อหน้าอก (pectoralis major & pectoralis minor) ซึ่งในขณะที่เราวิดพื้นกล้ามเนื้อหน้าอกทั้ง 2 มัดนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อยกตัวเราให้ลอยจากพื้น และเมื่อวิดพื้นเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนือหน้าอกมีความแข็งแรง และมีขนาดใหญ่ขึ้นตามความหนักของการวิดพื้น ดังนั้น การที่เราวิดพื้นแล้วหน้าอกใหญ่ขึ้นนั้น เป็นผลมาจากกล้ามเนื้อเหล่านี้แหละครับที่มันเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้นจากการวิดพื้นเป็นประจำนั่นเอง 

พอสาวๆอ่านมาถึงตรงนี้คงจะเกิดแรงฮึด "ฉันรู้วิธีเพิ่มขนาดหน้าอกโดยไม่ต้องเสียตังแล้ว ฮาฮา" อยากจะบอกว่า อย่าพึ่งดีใจไปครับ

ถึงแม้การวิดพื้นบ่อยๆจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเราดูอกโตก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน การที่กล้ามเนื้อใช้พลังงานมากๆจนพลังงานสะสมในกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อก็ต้องดึงพลังงานสำรองที่อยู่ใกล้ที่สุดมาใช้ และนั่นก็คือ "ไขมันในเต้านมของเราไงครับ" กล้ามเนื้อที่หน้าอกจะไปสลายไขมันที่เต้านมเพื่อแปลงเป็นพลังงานมาให้กล้ามเนื้อได้ใช้ในขณะที่เราออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าอกรวมทั้งท่าวิดพื้นด้วย เมื่อสาวๆออกกำลังกายหน้าอกเป็นประจำจะเริ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้ว่า "เต้านมของฉันดูเหมือนมันเล็กลง แต่วัดขนาดหน้าอกแล้วมันก็เท่าเดิมนี่หว่า" 

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การออกกำลังกายบริหารหน้าอกด้วยท่าวิดพื้นจะทำให้หน้าอกเรากระชับ เต่งตึง และดูใหญ่ขึ้นเพราะเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อหน้าอก (pectoralis major & pectoralis minor) มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น แข็งแรงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เต้านมมีขนาดเล็กลงไปด้วย จากการที่กล้ามเนื้อหน้าอกสลายไขมันเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในขณะที่ออกกำลังกายนั่นเองครับ (แต่ถ้าแลกกับหน้าอกที่ดูกระชับ เต่งตึง ไม่หย่อนคล้อย โดยไม่แคร์ว่าเต้านมจะเล็กลงไปนิดนึงละก็ ท่าวิดพื้นนี่เหมาะเลยครับ)

การวิดพื้นสำหรับสาวๆอกเล็กนั้นจึงเปรียบเสมือนเป็นดาบ 2 คมก็ว่าได้นะ

เครดิตภาพ
-http://www.fitday.com/fitness-articles/fitness/how-to-work-your-way-up-to-real-push-ups-in-2-weeks.html

ทำไมผู้ชายถึงชอบสาวนมโต เพราะสาวนมโตมีนํ้านมเยอะใช่มั้ย?


"อกเล็ก อกใหญ่ไม่สำคัญอย่างน้อยก็มีนํ้านมให้ลูกได้กินละกัน"

เป็นคำพูดหนึ่งของเพื่อนสาวไซส์เล็กที่มักจะโดนล้ออยู่เป็นประจำ แล้วที่นี้ก็เกิดคำถามขึ้นมาละสิว่า ผู้หญิงหน้าอกตูมตามผลิตนํ้านมได้มากกว่าผู้หญิงอกเล็กจริงหรือเปล่า? แล้วทำไมผู้ชายถึงชอบผู้หญิงอกโต๊โต เรามาหาคำตอบด้วยกันเลยดีกว่าครับ 

ทำไมผู้ชายถึงชอบผู้หญิงอกโต?

คาดว่าเรื่องนี้เป็นการตกทอดความรู้สึกในระดับ DNA มาตั้งแต่สมัยมนุษย์ยุคหินกันเลยทีเดียวครับ เพราะเป็นสัญชาตญาณในการเลือกคู่ครองนั่นเอง ผู้หญิงที่มีหน้าอกโตจะเป็นจุดสนใจของผู้ชายได้ง่าย และเป็นเอกลักษณ์การบอกความสมบูรณ์ของเพศแม่ด้วย ประมาณว่า ฉันเป็นแม่ของลูกที่ดีได้นะ ถ้าไม่เชื่อก็ดูขนาดหน้าอกของฉันสิ นอกจากนี้ ในอดีตของมนุษย์ยุคหินนั้น ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายถูกเลือกในการดำรงเผ่าพันธุ์จากเพศชาย แล้วในสมัยก่อนมันไม่มีปัจจัยในการเลือกมากมายเหมือนสมัยนี้ที่ดูเรื่องการศึกษา ฐานะ เชื้อชาติ หน้าตา ผิวพรรณนะครับ เค้าดูกันเพียงอย่างเดียว คือมีความสมบูรณ์ในการดำรงเผ่าพันธุ์ได้ดีมั้ย แล้วการที่ผู้หญิงในยุคนั้นจะโฆษณาตัวเองว่า "ฉันสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นแม่ของลูกที่ดี" ก็มีเพียงหนึ่งเดียวครับ นั่นก็คือ "ขนาดของหน้าอกที่ใหญ่" นั่นเอง 

หน้าอกจึงถือว่าเป็นป้ายโฆษณาที่สำคัญในการป่าวประกาศถึงความสมบุรณ์ทางเพศก็ว่าได้ และความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นก็ส่งผ่านมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน แม้ปัจจุบันนี้ ปัจจัยในการเลือกคู่ครองจะมีหลายปัจจัยด้วยกัน และหนึ่งในปัจจัยนั้นก็คงไม่พ้นเรื่องขนาดหน้าอกแน่นอน อย่างน้อยก็เป็นสิ่งดึงดูดให้มาทำความรู้จักกัน แต่จะเลือกเป็นคู่ครองกินอยู่ด้วยกันหรือไม่นั้น อันนี้ผมว่านิสัยที่ดีของผู้หญิงและผู้ชายเป็นปัจจัยที่ทำให้เราครองคู่กันอย่างยืนยาวมากกว่าขนาดหน้าอกนะครับ^^

ผู้หญิงอกโตผลิตนํ้านมได้มากกว่าผู้หญิงอกเล็กจริงหรือเปล่า?

ตอบสั้นๆแบบกำปั้นทุบดินเลยครับว่า "ไม่จริงครับ" เพราะขนาดหน้าอกที่ใหญ่ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าเราจะผลิตนํ้านมได้มากกว่า และการที่หน้าอกใหญ่นั้นเป็นเพียงการโฆษณาดึงดูดเพศตรงข้ามให้มาสนใจเท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะผลิตนํ้านมได้มาก 

ขนาดเต้านมที่ใหญ่นั้นเกิดจากไขมันที่สะสมอยู่ภายในเต้านม แต่ส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตนํ้านมนั้นคือต่อมนํ้านม(lobule) ซึ่งไขมันในเต้านมและต่อมผลิตนํ้านมไม่ได้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใดครับ ไขมันที่อยู่ภายในเต้านมไม่ได้มีหน้าที่ใดๆเป็นพิเศษเพียงแค่ทำให้หน้าอกดูอวบอิ่ม แต่ต่อมผลิตนํ้านม (lobule) ต่างหากที่เป็นส่วนสำคัญผลิตนํ้านมให้ลูกได้ดื่มกิน และเมื่อผู้หญิงคลอกบุตรออกมาแล้วจะพบว่าหน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากต่อมผลิตนํ้านมที่ขยายตัวเพื่อผลิตนํ้านมให้ลูกนั่นเองครับ ไม่ได้เกิดจากไขมันมาสะสมเพิ่มทั้งหมด ฉะนั้น สาวๆอกเล็กก็หมดห่วงได้เลยครับว่าตัวเองอกเล็กแล้วจะไม่มีนํ้านมให้ลูกได้กิน 

เครดิตภาพ
- https://www.uihealthcare.org/plasticsurgery/breast/Index.html

แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกาย ป้าแม่บ้านขยับทั้งวันทำไมยังอ้วนฉุ


เรามาทำความรู้จักกับคำว่า
"แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกายเสียใหม่กันดีกว่า"

เคยได้ยินสโลแกนนี้ทางทีวีกันใช่มั้ยเอ่ย แต่หลายคนก็ยังคงสงสัยว่า ฉันก็ขยับทั้งวันไม่เห็นจะรู้สึกว่าตัวเองได้ออกกำลังกายอะไรเลย หุ่นก็ไม่ได้เพรียวลม ไม่ได้รู้สึกแข็งแรงขึ้น แถมบางครั้งยังรู้สึกปวดเสียด้วยซํ้า ฉะนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ "การขยับ" ให้มากขึ้นกันดีกว่า 

โดยแบ่งระดับของการขยับออกได้ 3 ประเภท คือ

ระดับเบา : 
คือ ระดับที่มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก ไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบขณะทำกิจกรรมนั้นๆเป็นเวลานาน เช่น การนั่ง การเดิน การยืน การกวาดบ้าน การซักผ้า เป็นต้น ซึ่งบรรดาแม่บ้านส่วนใหญ่จะขยับอยู่ในระดับนี้กันแทบทั้งนั้นครับ โดยส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เหนื่อยแต่ถ้าขยับเบาๆแบบนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อ จนเกิดอาการเมื่อยล้านั่นเองครับ

ระดับปานกลาง :
คือ ระดับที่มีการเคลื่อนไหวจนทำให้เริ่มรู้สึกเหนื่อย หายใจเร็วขึ้นเล็กน้อย หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ สามารถพูดประโยคยาวๆได้จนจบประโยค โดยไม่ต้องหยุดจังหวะเพื่อหายใจ แต่ร้องเพลงไม่ได้ ถ้าร้องเพลงเสียงจะขาดช่วงเป็นระยะ เนื่องจากความเหนื่อยและการกลั้นหายใจขณะร้องเพลงจะทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น นอกจากนี้การเดินขึ้นบันได 1 ชั้น การยืนแกว่งแขนไปข้างหน้าและหลังต่อเนื่อง 15 นาที การเดินเร็วก็จัดว่าเป็นกิจกรรมระดับนี้เช่นกันครับ ซึ่งแม่บ้านทั้งหลายคงไม่ได้ขยับร่างกายจนถึงระดับที่ต้องหายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นแรงขึ้นแน่นอนครับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่แม่บ้านทั้งหลายขยันทำงานบ้านทั้งวันแต่หุ่นไม่ผอมเพรียวสักที

ระดับหนัก : 
คือ กิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกเหนื่อยหรือเหนื่อยมาก หัวใจเต้นแรงจนดูเหมือนจะกระโดนออกมานอกหน้าอก หายใจเร็วแรงจนรู้สึกหอบ ไม่สามารถพูดประโยคยาวๆขณะทำกิจกรรมได้ เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง การปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูง การกระโดดเชือก การวิ่งขึ้นบันได เป็นต้น

จากข้อมูลดังกล่าวพอจะเห็นแล้วใช่มั้ยครับว่า ทำไมฉันขยับแทบตายถึงไม่เท่ากับการออกกำลังกายสักที นั่นก็เพราะกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราส่วนใหญ่อยู่ในระดับเบาแทบทั้งสิ้นไม่เฉียดเข้าใกล้ระดับกลางด้วยในบางราย ดังนั้น กิจกรรมระดับเบาจึงไม่ถูกนับรวมว่าเป็นการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ครับ 

แต่วิถีชีวิตของคนสมัยนี้ที่ดำเนินชีวิตด้วยความเร่งรีบ ทำงานทั้งวัน มีเวลาส่วนตัวก็น้อย เลิกงานก็ดึกแล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปออกกำลังกายละ ผมแนะนำง่ายๆเลยครับ เราเพียงแค่ทำกิจกรรมในทุกๆวันให้เหมือนกับการออกกำลังกายก็ใช้ได้แล้วครับ เช่น ชอบขึ้นลิฟท์ก็ให้เปลี่ยนเป็นขึ้นบันไดแทน แล้วถ้าลิฟท์อยู่สูงมากๆละ ก็แนะนำให้ลงลิฟท์ก่อนถึงชั้นเป้าหมายสัก 2 ชั้นแล้วเดินขึ้นบันไดก็ใช้ได้แล้วครับ นอกจากนี้ให้ลองจอดรถที่ไกลออกจากประตูที่ทำงานสัก 400 เมตร เพื่อให้เราได้ขยับร่างกายโดยการเดินเร็ว หรือเคยชอบใช้ใครให้ไปซื้อของก็เปลี่ยนเป็นเดินไปซื้อเอง ถ้าบ้านอยู่ไม่ไกลจากที่ทำงานมากก็ให้เปลี่ยนจากการนั่งรถเปลี่ยนเป็นปั่นจักรยานแทน กิจกรรมเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ละครับที่เหมาะกับคนไม่ค่อยมีเวลา เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสักเล็กน้อย ชีวิตก็ห่างไกลโรคภัยแล้วครับ

เครดิตภาพ
- http://www.popsugar.com/fitness/Dark-Mornings-Affecting-Your-Exercise-Habits-2167144

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตที่ใครๆก็รู้จัก


หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

ถ้าจู่ๆคุณมีอาการปวดหลัง ขาชา ตึงหลัง เดินลำบากละก็ เชื่อว่าโรคแรกๆที่จะนึกถึงคงไม่พ้น "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" อย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่เราจะเรียกกันสั้นๆว่า"กระดูกทับเส้น" จริงๆกระดูกมันไม่ได้ทับเส้นนะครับ หมอนกระดูกครับหมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาทได้ยังไงอ่ะ?

ให้พูดแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับ ก็คือหมอนรองกระดูกมันเสื่อมจากการใช้งานมานานจากการก้มๆเงยๆถือของหนัก ทำให้นํ้าในหมอนกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังนั่นเองครับ แต่กลัวว่าบทความมันจะสั้นไป ฉะนั้นผมจะขยายความแบบละเอียดยิบด้วยภาษาบ้านๆให้อ่านกัน


ภาพแสดงส่วนประกอบของหมอนรองกระดูก

ภายในหมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลังนั้นหลักๆจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนครับ คือ 

1) Nucleus pulposus : สารนํ้า(จริงๆแล้วเหมือนเจลมากกว่า)ภายในแกนกลางของหมอนรองกระดูก โดยมีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของนํ้าหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย 
2) Annulus fibrosus : เส้นเอ็นก่อตัวเป็นชั้นๆห่อหุ้ม มีหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง จากการบิดตัวหรือการก้มเงย ป้องกันไม่ให้สารนํ้าใน nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก 

กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เรารู้จักองค์ประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังกันแล้ว ทีนี้เรามาทำความเข้าใจกลไกการเกิดโรคกันต่อ การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลักๆแล้วเกิดจาก การเสื่อมของ annulus fibrosus (เส้นเอ็นที่ก่อตัวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลัง) จากการทำงานที่ส่งผลกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การก้มหลังยกของหนัก, การขับรถนาน, ทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆเงยๆหลังเป็นประจำ, จากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, เกิดจากการชอบก้มหลังพร้อมบิดตัว เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ที่เป็นการเพิ่มแรงเครียดต่อตัว annulus fibrosus อย่างมาก จนเกิดการฉีกขาดบางส่วน ทำให้สารนํ้าในหมอนรอง (nucleus pulposus) ค่อยๆดันตัว annulus fibrosus ออกมาทางด้านหลังจากนิสัยของคนที่ชอบก้มหลังยกของ จนในที่สุด annulus fibrosus เกิดการฉีกขาดเป็นรูทำให้สารนํ้าภายในทะลักออกมาได้ 

แต่เจ้าสารนํ้าที่ออกมานี้มันไม่ได้ออกมาเปล่าน่ะสิครับ เพราะที่ด้านหลังของหมอนรองกระดูกมีเส้นประสาทไขสันหลังอยู่ด้วย แถมตำแหน่งของสารนํ้าที่ออกมาดันไปโป๊ะเช๊ะกับเส้นประสาทพอดี จนเกิดิอาการปวดหลัง ชาขาต่างๆนาๆที่สุดจะบรรยาย และนี่แหละครับ คือที่มาของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


ภาพแสดงการแบ่งความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้น

เรายังสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ 4 ระดับ

ระดับที่ 1 : Bulging disc
คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ
ระดับที่ 2 : Protrusion 
คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวสารนํ้าอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆหายๆ
ระดับที่ 3 : Extrusion 
คือ มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลัง มากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีสารนํ้าภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการอวดคงที่ ขาชาตลอดเวลา
ระดับที่ 4 : Sequestration 
คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจาก annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดผู้ป่วยมัดเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว 


ภาพเปรียบเทียบผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูบกับเส้นกับไม่เป็น

ผลกระทบที่ตามมาหลังหมอนรองกระดูกเสื่อม

หลังจากที่หมอนรองกระดูกเสื่อมลงจนสารนํ้าภายใน (nucleus pulposus) ปลิ้นออกมาภายนอก หรือสูญหายไปบ้าง จนมีปริมาณลดน้อยลง มีผลให้ความสูงของหมอนรองกระดูกนั้นค่อยๆตีบแคบลงเรื่อยๆ เพราะปริมาณสารนํ้าภายในที่เป็นตัวกำหนดความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังได้หายไป เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่ตีบแคบลงแล้วจะทำให้เกิดอีกโรคนึงตามมาเสมอนั่นคือ "โรคกระดูกสันหลังเสื่อมครับ" เพราะข้อต่อ facet joint ภายในกระดูกสันหลังที่ทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังต้องแบกรับนํ้าหนักที่มากขึ้น และเมื่อถึงจุดหนึ่งข้อต่อ facet ก็แบกรับนํ้าหนักไม่ไหวจนเกิดการเสื่อมขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงหลัง รู้สึกหลังขัดๆเมื่อต้องก้มหรือแอ่นหลังนั่นเองครับ อ่านเรื่องโรคกระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่มเติมได้ที่นี่

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โดยทั่วไปแล้วเมื่อหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดหลังนะครับ จะรู้สึกชาขาซะมากกว่า แล้วอาการชาจะไม่ได้ชาทั่วทั้งขานะ แต่จะชาเป็นตำแหน่งกว้างๆซะมากกว่า เช่น ชาบริเวณต้นขาด้านนอกจนถึงข้อเท้าด้านนอก แต่ขาด้านในไม่มีอาการชาแต่อย่างใด ซึ่งจะต่างจากโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทที่มีอาการชาทั่วทั้งขา อ่านเพิ่มเติมเรื่องโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทได้ที่นี่ 


ภาพเปรียบเทียบหมอนรองกระดูกทับเส้นกับไม่เป็น

แต่ในรายที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนอกจากจะมีอาการชาขาแล้วยังมีอาการปวดหลังด้วยนั้น ผมมองเป็น 2 ประเด็นนะครับ 1) มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมทำให้ข้อต่อ facet อักเสบจนเกิดอาการปวดหลัง กับอีกประเด็นคือ 2) เกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นมาทับเส้นประสาทแขนงใหญ่ที่อยู่กลางกระดูกสันหลังเลย ซึ่งอย่างที่ 2 นี้ถือว่าอันตรายมาก เพรามีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต และการที่จะเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นมาทับเส้นประสาทแกนกลางนี้มักจะเกิดแบบเฉียบพลัน เช่น ก้มหลังยกของหนักแล้วจู่ๆได้ยินเสียงดีงปึ้กกลางหลัง ซึ่งเป็นเสียง annulus fibrosus ฉีกขาดแล้วสารนํ้าภายในหมอนรองทะลักออกมากดทับเส้นประสาททันที บางรายก็ปวดหลังมากจนขยับไม่ได้ แต่บางรายหนักกว่านั้นคือจู่ๆขาพับและไร้ความสึกท่อนล่างทันที พูดง่ายๆคือเป็นอัมพาตเฉียบพลันนั่นแหละครับ 

เพราะโดยทั่วไปหมอนรองกระดูกจะทับเส้นประสาทที่เป็นแขนงเล็กๆไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาบางมัดทางด้านข้างมากกว่า ซึ่งอาการแบบนี้จะรักษาได้ง่ายและหายเร็ว หากเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆนะครับ แต่หากทิ้งไว้นานๆฝืนทนไม่เข้ารับการรักษาใดๆ นอกจากอาการชาขาที่เป็นอยู่จะมีอาการขาอ่อนแรงตามมา กล้ามเนื้อขาข้างที่ชาเริ่มฝ่อลีบ สูญเสียประสาทรับความรู้สึกและสั่งการบางส่วนไป เดินเซ เสี่ยงล้ม และสุดท้ายคือ เดินไม่ได้อีกต่อไปครับ 


9 วิธีลดปวดหลังด้วยตนเอง จากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น

การดูแลรักษา

การรักษาด้วยตนเองนี้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก หรือเคยเข้ารับการรักษามาแล้วจนอาการดีขึ้นแต่อยากรู้วิธีบริหารร่างกายด้วยตนเองเท่านั้นนะครับ ในรายที่ปวดมาก ชาเยอะ หรือเป็นมานานจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อฝ่อลีบแล้วแนะนำให้เข้ารับการรักษาตามรูปแบบดีกว่าครับ 

วิธีการลดปวดง่ายๆคือให้นอนควํ่าแล้วนำผ้าร้อนประคบหลังไว้ 20-30 นาที แต่รายที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมามากอาจจะนอนควํ่าไม่ได้เลย ให้นำหมอนใบใหญ่มาหนุนไว้ที่หน้าท้องขณะที่นอนควํ่าครับ ยํ้านะครับว่าหนุนไว้ที่หน้าท้องบางรายนำหมอนใบใหญ่มากๆแทนที่จะหนุนแค่หน้าท้อง แต่ดันไปรองหน้าอกด้วยจนหลังแอ่นปวดมากกว่าเดิมอีก ในขณะที่นอนควํ่าอยู่นั้นหากรู้สึกว่าอาการปวดทุเลาลงแล้ว ก็ค่อยๆปรับขนาดหมอนให้ใบเล็กๆลงเรื่อยๆจนไม่ต้องใช้หมอนรองหน้าท้องอีกต่อไป

หากเรานอนควํ่าแล้วไม่มีอาการปวด ต่อมาให้เราใช้แขนยันตัวขึ้นโดยที่เอวยังคงติดเตียงอยู่ พยายามแอ่นหลังให้มากที่สุดโดยที่ไม่รู้สึกปวด หากแอ่นไปถึงจุดที่ปวดแล้วให้หยุดแล้วกลับสู่ท่านอนควํ่าเหมือน ทำท่านี้จำนวน 10 ครั้งนะครับ เพื่อดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่ เปรียบเหมือนกับการปั๊มนํ้าแหละครับ 

ทีนี้หากเหยียดศอกจนตึงแล้วแอ่นหลังได้สุดโดยที่ไม่มีอาการใดๆแล้วละก็ ถึงเวลาที่บริหารกล้ามเนื้อหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาได้อีก โดนการนอนควํ่าเช่นเดิมครับ เอาแขนไว้ข้างลำตัว จากนั้นให้แอ่นหลังขึ้นจนอกพ้นพื้นแล้วลงจำนวน 10 ครั้ง และหากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นก็ให้เพิ่มความยากโดยการเอาแขนไขว้หลังไว้ แล้วยกลําตัวขึ้นค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้งครับ

อีกวิธีหนึ่งในการดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่โดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากมายเลย คือ การเดินในนํ้าครับ ให้เราไปเดินในสระนํ้าที่มีความสูงระดับอก โดยขณะที่เดินไล่ไปตามขอบสระนั้นให้เดินเตะขาไปด้วย หรือหากมีอาการปวดเมื่อเดินก็ให้ยืนนิ่งๆแล้วย่อตัวลงคล้ายกับท่านั่งเก้าอี้ลม เหตุที่ให้ลงนํ้าความสูงระดับอกนั้นก็เพื่อใช้แรงดันนํ้าเนี่ยแหละครับเป็นตัวดันให้สารนํ้าที่ปลิ้นออกมากลับเข้าที่ 

เหตุผลที่นอนควํ่าแล้วอาการชา อาการปวดเบาลงนั้น เนื่องจากในขณะที่เรานอนควํ่าแรงดึงดูดของโลกจะดึงสารนํ้าของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกไปทางด้านหลังนั้นให้ไหลย้อนกลับมาเข้าไปในหมอนรองกระดูก เส้นประสาทที่ถูกสารนํ้ากดทับอยู่ก็จะหายไปนั่นเองครับ 


4 วิธีออกกำลังหายหลัง สำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้น Part 1


https://youtu.be/t2MKVX3Tp1I
5 วิธีฝึก core stabilize สำหรับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น Part 2

แต่อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น หากมีอาการปวดรุนแรง ชามากๆก็ควรเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดจะเหมาะสมที่สุดนะครับ 

เพิ่มติม
- (คลิป VDO) 4 วิธีดึงหลังด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องง้อเครื่อง traction ในรพ.


เครดิตภาพ
- http://korsetlumbal.weebly.com/blog/category/all
- http://www.duluthdisabilitylawyer.com/back-injuries/
- http://drtonysetiobudi.com/2014/12/18/can-slipped-disc-or-hnp-herniated-nucleus-pulposus-recover-by-itself/
- http://morphopedics.wikidot.com/cervical-disc-herniation
- https://en.wikipedia.org/wiki/Spinal_disc_herniation