เมนูหน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 57] รวมวิธีลดปวด-ลดตึงทั่วทั้งตัว เมื่อนั่งรถนานและเดินทางไกลในช่วงปีใหม่


รวมวิธีลดปวด-ลดตึงทั่วทั้งตัว เมื่อนั่งรถนานและเดินทางไกลในช่วงปีใหม่

เทศกาลปีใหม่มาถึงกันแล้วนะครับ ซึ่งคาดว่าเพื่อนๆหลายคนคงเดินทางกลับบ้าน เดินทางไปเที่ยวกันเยอะมากๆแน่ในช่วงนี้ และถึงแม้เราจะยังคงมีอาการปวดตรงนั้นตรงนี้จากโรคทางกายอยู่ก็ยังคงต้องฝืนเดินทางกลับกัน แม้จะรู้ว่าการนั่งรถ นั่งเครื่องบินนานๆจะทำให้เราต้องปวดมากขึ้นก็ตาม

ฉะนั้น ในคลิปส่งท้ายปีใหม่นี้ ผมจึงรวบรวมวิธีการลดปวด ลดตึง วิธีบริหารร่างกายต่างๆมา ในขณะที่เราต้องนั่งรถนานๆมาฝากกัน เพื่อให้การเดินทางไปเที่ยวปีใหม่สำหรับเพื่อนๆนั้น ไปได้อย่างไร้กังวลเรื่องอาการปวดกันนะครับ 

โดยผมจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ดังนี้

คอ
วิธีที่ 1 : ก้มหน้า เอียงคอ (นาทีที่ 2:06)
วิธีที่ 2 : ก้มหน้า คางแตะอก  (นาทีที่ 4:09)
วิธีที่ 3 : หดคอ หนีนิ้ว  (นาทีที่ 5:32)

แขน
วิธีที่ 1 : จับไหล่ ดันศอก (นาทีที่ 7:15)
วิธีที่ 2 : กอดอก ขยายปอด  (นาทีที่ 8:44)
วิธีที่ 3 : แอ่นอก ดึงแขน (นาทีที่ 10:48)

หลัง
วิธีที่ 1 : มือไขว้หลัง (นาทีที่ 12:18)
วิธีที่ 2 : ยกตัว บนเก้าอี้ (นาทีที่ 13:55)
วิธีที่ 3 : ก้มตัว ดมตูด (นาทีที่ 16:04)

ขา
วิธีที่ 1 : ยกขา ซอยเท้า  (นาทีที่ 17:47)
วิธีที่ 2 : ยกส้น เขย่งปลายเท้า  (นาทีที่ 19:21)
วิธีที่ 3 : ขยุ้มเท้า  (นาทีที่ 21:14)

สุขสันต์วันปีใหม่ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพกันทุกคนนะครับผม^^


ดูจบแล้ว ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะคับ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 56] 5 วิธี รักษาอาการปวดเอว กระเบนเหน็บ จากโรค SI joint dysfunction syndrome


5 วิธี รักษาอาการปวดเอว-กระเบนเหน็บ จากโรค SI joint dysfunction syndrome

เมื่อเรามีอาการปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดช่วงก้นก็ตาม โรคแรกๆที่เราจะนึกถึงกันเป็นลำดับต้นๆคือ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม หรือไม่ก็หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกันใช่มั้บครับ 

แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกโรคนึงที่มีอาการคล้ายๆกันอยู่บ้าง และที่สำคัญก็คือ คนส่วนใหญ่ก็เป็นโรคนี้กันมาก แถมไม่ค่อยมีใครรู้จักกันอีกต่างหาก นั่นก็คือ โรค SI joint dysfunction syndrome นั่นเองครับ

จุดเด่นของคนที่เป็นโรคนี้เลยก็คือ จะมีอาการปวดตามแนวขอบกางเกงใน อาจจะเป็นแค่ข้างเดียว หรือเป็นทั้ง 2 ข้างก็ได้ แล้วก็มีอาการปวดตื้อๆ ปวดลึกๆ ปวดขัดๆตามแนวขอบกางเกงใน บางรายก็มีอาการปวดร้าวลงขา รู้สึกเข่าพับเข่าอ่อนได้ง่ายเวลาเดินนานๆ และที่สำคัญเลยก็คือ ถ้าเป็นผู้หญิงที่ใส่กระโปรงไปทำงานเป็นประจำแล้วเป็นโรคนี้ จะพบว่ากระโปรงของผู้ป่วยจะหมุนเองได้เวลาที่เราเดินเยอะๆนะครับ 

เรารู้จักอาการของโรคนี้อย่างคร่าวๆกันแล้ว ทีนี้มาทำความรู้จักกันให้ลึกซึ้งมากขึ้นกันดีกว่า แถมด้วยการรักษาโรคนี้ด้วยนะครับ

รายละเอียดในคลิป

สาเหตุ (นาทีที่ 2:56)
อาการ (นาทีที่ 4:20)
วิธีที่ 1 : นั่งยอง ดึงเสา (นาทีที่ 6:16)
วิธีที่ 2 : ตั้งขา หนีบเข่า (นาทีที่ 9:49)
วิธีที่ 3 : ดึงซ้าย พลักขวา สลับกัน (นาทีที่ 12:07)
วิธีที่ 4 : ตั้งเข่า แบะขา (นาทีที่ 16:20)
วิธีที่ 5 : เดินด้วยตูด (นาทีที่ 18:54)



วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 55] 6 วิธี ดัดดึงข้อเข่า เพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ


และแล้วก็ทำเสร็จซะที หลังจากที่คนไข้หลายคนเคยแนะนำผมมาว่า อยากให้ผมทำคลิปเกี่ยวกับวิธีการรักษาอาการปวดเข่าในคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแบบฉบับทำเองกัน ต้องอธิบายให้เข้าในกันนิดว่า โรคที่เกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม หรือข้อเสื่อมทั้งหลายนั้น ไม่สามารถรักษาให้ตัวโรคข้อเสื่อมมันหายไปได้ แต่ที่เราทำได้คือ รักษาให้อาการปวดมันหายไปได้ รักษาให้อาการข้อติดมันหายไปได้ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องทนอยู่กับอาการปวดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง 

ซึ่งการดัดข้อเข่าในคลิปนี้ เป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้นนะครับ วันนี้เราดัดดึงแล้วอาการปวดอาจจะหายไป แต่ไม่เกิน 7 วันเดี๋ยวอาการปวด อาการข้อติดก็จะเริ่มกลับมาเป็นใหม่ ถ้าเราต้องการให้อาการปวดทิ้งช่วงนานขึ้น หรือถ้าโชคดีให้อาการปวดหายไปเลยนั้น เราต้องใช้การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาอย่างสมํ่าเสมอด้วยนะครับ 

โดยกล้ามเนื้อต้นขาที่ว่านั้นก็คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps) กับกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstrings) ผมถือว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ 2 ส่วนนี้ เป็นหัวใจหลักของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเลยนะครับ เพราะถึงแม้เราจะไม่ค่อยได้ดัดดึงข้อเข่า แต่เราออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาอย่างสมํ่าเสมอ โอกาสที่จะหายปวดมันมีมากกว่าคนที่เอาแต่ดัดดึงข้อเข่าอีกนะ 

ฉะนั้น ถ้าใครอยากหายปวดจากโรคเข่าเสื่อมนี้ ต้องหมั่นออกกำลังกายกันด้วยนะครับ

รายละเอียดในคลิป

วิธีที่ 1 : ขัดลูกสะบ้า (นาทีที่ 5:02)
วิธีที่ 2 : กดต้นขา ดึงปลายเท้า (นาทีที่ 11:38)
วิธีที่ 3 : ถีบต้นขา กระตุกปลายเท้า (นาทีที่ 14:34)
วิธีที่ 4 : รัดข้อเท้า ดึงข้อเข่า (นาทีที่ 18:11)
วิธีที่ 5 : งอเข่า ยืดต้นขา (นาทีที่ 22:58)
วิธีที่ 6 : นวดนิด กดหน่อย (นาทีที่ 27:03)


คลิปวิธีการเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขา
- ออกกำลังกายต้นขาด้านหน้า (8 ท่า บริหารข้อเข่าให้แข็งแรง สำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม)
- ออกกำลังกายต้นขาด้านหลัง (5 วิธี บริหารข้อเข่า แก้เข่าแอ่น)


วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 54] 7 วิธี ดัดข้อสะโพก เพื่อรักษาข้อสะโพกเสื่อม โดยไม่ต้องผ่าตัด


เมื่อกล่าวถึงวิธีการรักษาข้อสะโพกเสื่อม เชื่อว่าหลายคนคงนึกวิธีการรักษาไม่ออกนอกจากการผ่าตัดสถานเดียว แต่ถ้าไม่อยากผ่าก็คงทำได้แค่กินยา หรือไม่ก็ไปนวดบ้าง 

ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับข้อเสื่อมนั้น จริงอยู่มันไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถบรรเทาอาการปวดได้ สามารถลดการติดขัดภายในข้อได้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นได้ สามารถเดินเหินได้คล่องโดยไม่มีอาการปวด แม้จะเป็นข้อสะโพกเสื่อมอยู่ก็ตาม

วิธีการรักษานั่นก็คือ ใช้การดัดข้อสะโพกคับ ถึงแม้จะไม่มีใครมาดัดข้อให้ก็ไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรารู้วิธีดัดข้อเอง ซึ่งในคลิปนี้ผมจะสอนวิธีการดัดข้อสะโพกเพื่อลดปวด ลดข้อติดแบบฉบับทำเองกัน

รายละเอียดในคลิป 

อาการข้อสะโพกเสื่อม (นาทีที่ 0:15)
ข้อห้าม การดัดข้อสะโพก (นาทีที่ 4:27)
วิธีที่ 1 : นอนไขว้ขา กดข้างเข่า (นาทีที่ 6:58)
วิธีที่ 2 : ตั้งเข่า ควงสะโพก (นาทีที่ 9:37)
วิธีที่ 3 : ประกบฝ่าเท้า กระพือปีก (นาทีที่ 16:08)
วิธีที่ 4 : ชันเข่า ขยับตัวหน้า-หลัง (นาทีที่ 18:37)
วิธีที่ 5 : กบกระโดด (นาทีที่ 21:00)
วิธีที่ 6 : ไขว้ขา ดึงเข่า (นาทีที่ 25:01)
วิธีที่ 7 : ยืนหมุนขา (นาทีที่ 27:30)



วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 53] 5 พฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ทำให้ปวดหลัง และเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


หลายๆคลิปที่ผมทำมาได้บอกถึงวิธีการลดปวดหลัง การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบทำเอง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังเพื่อป้องกันอาการปวดหลังไปแล้ว 

มาในคลิปนี้ ผมจะมาบอกถึงสาเหตุและความเสี่ยงในชีวิตประจำวันที่ทำให้เราปวดหลัง และเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นกันบ้าง ซึ่งผมเชื่อเลยว่าทั้ง 1 ใน 5 พฤติกรรมนี้ ต้องมีสักอย่างที่เราชอบเผลอทำกันบ่อยๆแน่นอน 

แล้วก่อนจะไปดูคลิป ขอกระซิบสักหน่อยนะครับว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนใหญ่นั้น ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้หลังแบบผิดๆแทบทั้งสิ้น นอกจากจะออกกำลังกาย การรักษา การทานยา การทำกายภาพ การดึงหลังแล้ว แต่ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลังให้ถูกต้อง โอกาสที่จะทำให้เราปวดหลังซํ้าสองก็มีสูงมากทีเดียวเลยนะครับ

รายละเอียดภายในคลิป

พฤติกรรมที่ 1 : ก้มหลัง ยกของ (นาทีที่ 4:23)
พฤติกรรมที่ 2 : เอี้ยวตัว ส่งของ  (นาทีที่ 8:08)
พฤติกรรมที่ 3 : ก้มหลัง บิดตัว ยกของ (นาทีที่ 11:25)
พฤติกรรมที่ 4 : นั่งหลังงอนานๆ  (นาทีที่ 14:20)
พฤติกรรมที่ 5 : ก้มหลัง ฮัดชิ้ว  (นาทีที่ 18:40)


วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

5 สัญญาณ เช็คข้อสะโพกเสื่อม (osteoarthritis of hip joint)


3 สัญญาณ เช็คข้อสะโพกเสื่อม (osteoarthritis of hip joint)

เมื่อเราไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเป็นประจำมาตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว เมื่ออายุมากขึ้นจนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มักจะเป็นโรคเกี่ยวกับปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อกระดูกต่างๆตามมาเป็นพัลวัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้นโรคข้อสะโพกเสื่อม แม้จะพบได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรคข้อเข่าเสื่อม แต่บอกเลยว่า คนเป็นข้อสะโพกเสื่อมมักจะได้รับความทรมานกว่าโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่มากพอสมควร 

ผู้ป่วยที่เป็นข้อเข่าเสื่อมมักจะปวดเข่าเวลาเดิน แต่สำหรับข้อสะโพกเสื่อม ถ้ายิ่งเสื่อมเยอะๆแล้วด้วย ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นอน หรือนั่งก็ปวดตลอดเวลานะครับ เพราะข้อสะโพกเป็นข้อหลักที่รับนํ้าหนักของร่างกายเราที่มาจากลำตัว ก่อนจะกระจายนํ้าหนักไปที่ขาทั้ง 2 ข้าง แล้วเวลาเรานั่ง ข้อเข่าได้พัก แต่ข้อสะโพกยังคงรับนํ้าหนัก เวลานอนข้อเข่าได้พัก แต่ข้อสะโพกก็ยังคงมีนํ้าหนักมากดอยู่บ้าง ยิ่งนอนตะแคงทับข้างที่เสื่อมอยู่ด้วยจะยิ่งปวดมาก เวลาเดินก็ไม่ต้องพูดถึงครับ ปวดทรมานจนเดินกันไม่ไหวเลยทีเดียว 


ภาพซ้ายแสดงถึงข้อปกติ ภาพขวาข้อสะโพกเสื่อม

จากที่เกริ่นไปข้างต้น พอจะนึกภาพออกแล้วนะครับว่า คนเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นทรมานขนาดไหน ฉะนั้น ก่อนที่ผมจะลงคลิปวิธีการรักษาข้อสะโพกเสื่อมแบบทำเองอีกภายในไม่กี่วันข้างหน้า เรามารู้วิธีสังเกตุอาการปวดของคนเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมกันก่อนดีกว่าครับผม

อาการของคนเป็นข้อสะโพกเสื่อม 

1) ปวดกว้างรอบข้อสะโพก

=> ในข้อแรกยี้ถือว่าเป็นอาการเริ่มต้นของคนที่เป็นข้อสะโพกเสื่อมเลยละครับ คือจะมีอาการปวดรอบๆข้อสะโพก อาจปวดร้าวขึ้นเอว แต่ส่วนมากจะร้าวลงขาด้านนอกจนถึงเข่าครับผม อาจจะปวดตลอดเวลา หรือเป็นๆหายๆก็ได้ แต่จะปวดมากขึ้นเมื่อต้องเดินระยะทางไกลครับผม โดยอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ป่วยมักจะบอกตำแหน่งได้ไม่ชัด ทายาก็ไม่หาย ใช้มือกด มืดนวดก็ไม่โดนจุดซะที รู้แค่ว่ามันอยู่รอบๆนั้นแหละ ปวดจนไม่รู้จะทำยังไงให้ปวดนอกจากกินยา!


ตำแหน่งที่ปวดขาหนีบจากข้อสะโพกเสื่อม

2) ปวดช่วงขาหนีบ

=> จัดว่าเป็นอาการเด่นของคนเป็นข้อสะโพกเสื่อมเลยก็ว่าได้นะครับ ถ้าปัจจัยเรื่องอายุถึง คือปู้ป่วยอายุมากขึ้นจนเลยวัย 45 ขึ้นไป เป็นเพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน มีอาการปวดรอบๆข้อสะโพก และมีอาการปวดขาหนีบด้วย ถ้าปัจจัยเหล่านี้ครบละก็ สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นข้อสะโพกเสื่อมแน่ๆ (แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการครบทุกอย่าง แต่อายุยังน้อย ไม่ถึง 40 ปี โรคข้อสะโพกเสื่อมอาจจะยังไม่ใช่นะครับ)

โดยอาการปวดขาหนีบนั้น ผู้ป่วยจะระบุชัดเลยครับว่า ปวดช่วงขาหนีบเป็นเส้นเลย และจะปวดมากยิ่งขึ้นเมื่อเดินนาน หรือต้องก้าวขาเดินขึ้นบันไดครับ

3) รู้สึกข้อสะโพกหนืดในตอนเช้า

=> อาการข้อสะโพกหนือ หรือข้อฝืดนั้น นอกจากจะเกิดจากตัวผิวข้อที่มันเสื่อมแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็ยังเกิดจากนํ้าเลี้ยงข้อมันน้อยลงด้วย ถ้าข้อยังเสื่อมไม่เยอะมาก การทานยาที่ช่วยสร้างนํ้าเลี้ยงข้อก็จะช่วยลดอาการปวดข้อได้นะครับ 

ส่วนที่ว่า ข้อหนืดในตอนเช้านั้นคือ พอเราตื่นเช้ามาลึกลงจากเตียงจะมีความรู้สึกว่าก้าวขาข้างที่มีปัญหาไม่ค่อยออก ต้องนอนขยับขาขึ้นๆลงๆสักพักใหญ่ๆจึงจะรู้สึกว่าเคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้นจึงสามารถลุกขึ้นเดินได้ตามปกติ หรือถ้าเรานั่งนานๆแล้วลึกขึ้นจะเดินทันทีก็จะรู้สึกถึงปัญหาข้อหนืดเช่นกันครับผม 


ตำแหน่งปวดกว้างๆของข้อสะโพกเสื่อม

4) มีเสียงภายในข้อสะโพก

=> โดยปกติแล้วเวลาเราเคลื่อนไหวข้อสะโพก หรือข้อต่อส่วนไหนของร่างกายก็ตาม มักจะไม่มีเสียงภายในข้อใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้าเกิดเสียงดังภายในข้อละ ที่เป็นเสียงแบบว่าครืดคราด กึกกักๆ ซึ่งเป็นเสียงของกระดูกข้อสะโพกไปกดเบียดกับเบ้าของข้อสะโพกเรานั่นเอง โดยปกติแล้วเวลาเราเคลื่อนไหวข้อสะโพกก็จะมีบางจังหวะที่ผิวข้อมันไปกดเบียดกันนะครับ แต่มันไม่ได้เกิดเสียงดังกล่าว เนื่องจากข้อต่อของเรานั้นยังคงมีกระดูกอ่อนหุ้นผิวข้ออยู่ และยังมีนํ้าเลี้ยงข้ออยู่ภายในที่ทำหน้าที่ลดการเสียดสี แต่พอผิวกระดูกอ่อนที่หุ้นข้อเริ่มบางลง ผุกร่อน แถมนํ้าเลี้ยงข้อยังลดลงอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปกลเลยครับที่จะเกิดเสียงดังในข้อแบบนั้น


ภาพ ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

5) ข้อสะโพกติดขัด

=> เมื่อเกิด 4 อาการที่ผมกล่าวมาก่อนหน้านี้ได้สักพักใหญ่ๆจนข้อเสื่อมถึงที่สุดแล้ว ผลสุดท้ายที่เกิดตามมาก็คือ ภาวะข้อติดนั่นเองครับ ลักษณะข้อติดนั้นจะไม่เหมือนกันข้อหนืดนะ ข้อหนืดนี่ถ้าเราได้เคลื่อนไหวข้อไปได้สักพักอาการโดยรวมก็จะดีขึ้น 

แต่ข้อติดนี่ ไม่ว่าจะขยับแค่ไหนก็ยังคงติดเหมือนดิม จากเดิมที่ยกขาตั้งฉากกับลำตัวได้สบายๆ ตอนนี้ก็ทำไม่ได้ จากเดิมที่เดินก้าวขายาวๆได้ ตอนนี้แค่ก้าวขาเดินสั้นก็รู้สึกข้อติดขัดไปหมดแล้ว เดินก้าวขาขึ้นบันไดได้ลำบาก ต้องเดินก้าวขาขั้นต่อขั้น ขึ้นขั้นนึงแล้วต้องหยุด แล้วไม่สามารถใช้ขาข้างที่เสื่อมก้าวขึ้นไปก่อนได้ และสุดท้ายก็คือ ไม่สามารถเดินก้าวขาได้เลย ต้องเดินก้าวขาสั้นๆ แถมต้องใช้การเดินยักสะโพกข้างที่เสื่อมร่วมด้วยในขณะที่เดินอีก พอเดินยักสะโพกบ่อยๆกล้ามเนื้อหลังก็เกิดตึง เกร็งแล้วก็เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาอีก จนในที่สุดคนไข้ทนกับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงแบบนี้ไม่ไหวต้องเข้ารับการผ่าตัดในที่สุด แต่อย่าคิดว่าผ่าตัดแล้วจะจบนะครับ เพราะหลังผ่าตัดตัวคนไข้จะเจอกับอาการปวดแสนสาหัสจากบาดแผล แถมยังต้องฝึกขยับข้อ ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาทั้งๆที่ยังปวดต่ออีก พอกล้ามเนื้อแข็งแรงก็ต้องมาฝึกเดินด้วยไม้เท้านู่นนี่นั่นอีกเพียบ ทีนี้เห็นถึงความน่ากลัวของโรคข้อสะโพกเสื่อมกันแล้วรึยังเอ่ย

คลิป VDO ที่เกี่ยวข้อง
- วิธีออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพกให้แข็งแรง (8 ท่า บริหารข้อสะโพกให้แข็งแรง สำหรับคนเป็นข้อสะโพกเสื่อม)

เครดิตภาพ
- http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00213
- http://www.arthritis-health.com/blog/7-core-exercises-relieve-back-and-hip-arthritis-pain
- http://peterborten.com/thigh-pain-coming/
- https://rushchiropractic.com/chiropractic-services/hip-pain-chiropractic/
- http://www.health2click.com/index.php?mo=3&art=42096188


วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 52] 10 วิธีบริหารแขน เพื่อลดปวด สำหรับทุกช่วงวัย


เคยมีคนไข้หลายคนทักเข้ามาสอบถามผมว่า อยากได้ท่าบริหารแขนให้แข็งแรงต้องทำท่าไหนบ้าง เพราะพึ่งหายจากโรคข้อไหล่ติด ตอนนี้ไหล่ไม่ติดแล้ว แต่ยังคงรู้สึกว่าแขนไม่ค่อยมีแรง หลังจากนั้น ผมจึงได้รวบรวมเทคนิคบริหารแขนง่ายๆ ที่สามารถดูแล้วทำตามได้เลยแม้กระทั่งผู้สูงอายุ 

การบริหารแขนให้แข็งแรงถือว่ามีความสำคัญมากเลยนะครับ เพราะถ้ากล้ามเนื้อช่วงแขนโดยรวมของเราแข็งแรงดี จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดแขน บ่า สะบัก และคอได้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานอยู่ในท่าเดิมนานๆ หรืองานประเภทรูทีนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานในโรงงาน คนขายของออนไลน์ หรือผู้ที่เล่นมือถืออยู่เป็นประจำ เป็นต้น คนกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดสะสมได้ง่ายจากการทำงานนานๆ หากยังคงไม่รักษาหรือออกกำลังกายอาการปวดก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นโรคนึงที่เรารู้จักกันดีที่มีชื่อว่า โรคออฟฟิศ ซินโดรมนั่นเองครับผม

รายละเอียดภายในคลิป 

วิธีที่ 1 : แกว่งแขน (นาทีที่ 5:02) 
วิธีที่ 2 : วาดวงกลม (นาทีที่ 7:07) 
วิธีที่ 3 : ผีเสื้อกระพือปีก (นาทีที่ 10:17) 
วิธีที่ 4 : หดสะบัก เหยียดแขน (นาทีที่ 14:08) 
วิธีที่ 5 : วิดพื้น ครึ่งนึง (นาทีที่ 16:56) 
วิธีที่ 6 : ไฟลนตูด (นาทีที่ 20:35) 
วิธีที่ 7 : ชูต้นแขน แนบติ่งหู (นาทีที่ 22:55) 
วิธีที่ 8 : ควํ่ามือ กางแขน (นาทีที่ 26:50) 
วิธีที่ 9 : นอนควํ่า กระพือปีก (นาทีที่ 29:00) 
วิธีที่ 10 : กางแขน ยืดหนังยาง (นาทีที่ 31:50)