เมนูหน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 57] รวมวิธีลดปวด-ลดตึงทั่วทั้งตัว เมื่อนั่งรถนานและเดินทางไกลในช่วงปีใหม่


รวมวิธีลดปวด-ลดตึงทั่วทั้งตัว เมื่อนั่งรถนานและเดินทางไกลในช่วงปีใหม่

เทศกาลปีใหม่มาถึงกันแล้วนะครับ ซึ่งคาดว่าเพื่อนๆหลายคนคงเดินทางกลับบ้าน เดินทางไปเที่ยวกันเยอะมากๆแน่ในช่วงนี้ และถึงแม้เราจะยังคงมีอาการปวดตรงนั้นตรงนี้จากโรคทางกายอยู่ก็ยังคงต้องฝืนเดินทางกลับกัน แม้จะรู้ว่าการนั่งรถ นั่งเครื่องบินนานๆจะทำให้เราต้องปวดมากขึ้นก็ตาม

ฉะนั้น ในคลิปส่งท้ายปีใหม่นี้ ผมจึงรวบรวมวิธีการลดปวด ลดตึง วิธีบริหารร่างกายต่างๆมา ในขณะที่เราต้องนั่งรถนานๆมาฝากกัน เพื่อให้การเดินทางไปเที่ยวปีใหม่สำหรับเพื่อนๆนั้น ไปได้อย่างไร้กังวลเรื่องอาการปวดกันนะครับ 

โดยผมจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ดังนี้

คอ
วิธีที่ 1 : ก้มหน้า เอียงคอ (นาทีที่ 2:06)
วิธีที่ 2 : ก้มหน้า คางแตะอก  (นาทีที่ 4:09)
วิธีที่ 3 : หดคอ หนีนิ้ว  (นาทีที่ 5:32)

แขน
วิธีที่ 1 : จับไหล่ ดันศอก (นาทีที่ 7:15)
วิธีที่ 2 : กอดอก ขยายปอด  (นาทีที่ 8:44)
วิธีที่ 3 : แอ่นอก ดึงแขน (นาทีที่ 10:48)

หลัง
วิธีที่ 1 : มือไขว้หลัง (นาทีที่ 12:18)
วิธีที่ 2 : ยกตัว บนเก้าอี้ (นาทีที่ 13:55)
วิธีที่ 3 : ก้มตัว ดมตูด (นาทีที่ 16:04)

ขา
วิธีที่ 1 : ยกขา ซอยเท้า  (นาทีที่ 17:47)
วิธีที่ 2 : ยกส้น เขย่งปลายเท้า  (นาทีที่ 19:21)
วิธีที่ 3 : ขยุ้มเท้า  (นาทีที่ 21:14)

สุขสันต์วันปีใหม่ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพกันทุกคนนะครับผม^^


ดูจบแล้ว ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะคับ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 56] 5 วิธี รักษาอาการปวดเอว กระเบนเหน็บ จากโรค SI joint dysfunction syndrome


5 วิธี รักษาอาการปวดเอว-กระเบนเหน็บ จากโรค SI joint dysfunction syndrome

เมื่อเรามีอาการปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดช่วงก้นก็ตาม โรคแรกๆที่เราจะนึกถึงกันเป็นลำดับต้นๆคือ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม หรือไม่ก็หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกันใช่มั้บครับ 

แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกโรคนึงที่มีอาการคล้ายๆกันอยู่บ้าง และที่สำคัญก็คือ คนส่วนใหญ่ก็เป็นโรคนี้กันมาก แถมไม่ค่อยมีใครรู้จักกันอีกต่างหาก นั่นก็คือ โรค SI joint dysfunction syndrome นั่นเองครับ

จุดเด่นของคนที่เป็นโรคนี้เลยก็คือ จะมีอาการปวดตามแนวขอบกางเกงใน อาจจะเป็นแค่ข้างเดียว หรือเป็นทั้ง 2 ข้างก็ได้ แล้วก็มีอาการปวดตื้อๆ ปวดลึกๆ ปวดขัดๆตามแนวขอบกางเกงใน บางรายก็มีอาการปวดร้าวลงขา รู้สึกเข่าพับเข่าอ่อนได้ง่ายเวลาเดินนานๆ และที่สำคัญเลยก็คือ ถ้าเป็นผู้หญิงที่ใส่กระโปรงไปทำงานเป็นประจำแล้วเป็นโรคนี้ จะพบว่ากระโปรงของผู้ป่วยจะหมุนเองได้เวลาที่เราเดินเยอะๆนะครับ 

เรารู้จักอาการของโรคนี้อย่างคร่าวๆกันแล้ว ทีนี้มาทำความรู้จักกันให้ลึกซึ้งมากขึ้นกันดีกว่า แถมด้วยการรักษาโรคนี้ด้วยนะครับ

รายละเอียดในคลิป

สาเหตุ (นาทีที่ 2:56)
อาการ (นาทีที่ 4:20)
วิธีที่ 1 : นั่งยอง ดึงเสา (นาทีที่ 6:16)
วิธีที่ 2 : ตั้งขา หนีบเข่า (นาทีที่ 9:49)
วิธีที่ 3 : ดึงซ้าย พลักขวา สลับกัน (นาทีที่ 12:07)
วิธีที่ 4 : ตั้งเข่า แบะขา (นาทีที่ 16:20)
วิธีที่ 5 : เดินด้วยตูด (นาทีที่ 18:54)



วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 55] 6 วิธี ดัดดึงข้อเข่า เพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ


และแล้วก็ทำเสร็จซะที หลังจากที่คนไข้หลายคนเคยแนะนำผมมาว่า อยากให้ผมทำคลิปเกี่ยวกับวิธีการรักษาอาการปวดเข่าในคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแบบฉบับทำเองกัน ต้องอธิบายให้เข้าในกันนิดว่า โรคที่เกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม หรือข้อเสื่อมทั้งหลายนั้น ไม่สามารถรักษาให้ตัวโรคข้อเสื่อมมันหายไปได้ แต่ที่เราทำได้คือ รักษาให้อาการปวดมันหายไปได้ รักษาให้อาการข้อติดมันหายไปได้ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องทนอยู่กับอาการปวดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง 

ซึ่งการดัดข้อเข่าในคลิปนี้ เป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้นนะครับ วันนี้เราดัดดึงแล้วอาการปวดอาจจะหายไป แต่ไม่เกิน 7 วันเดี๋ยวอาการปวด อาการข้อติดก็จะเริ่มกลับมาเป็นใหม่ ถ้าเราต้องการให้อาการปวดทิ้งช่วงนานขึ้น หรือถ้าโชคดีให้อาการปวดหายไปเลยนั้น เราต้องใช้การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาอย่างสมํ่าเสมอด้วยนะครับ 

โดยกล้ามเนื้อต้นขาที่ว่านั้นก็คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps) กับกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstrings) ผมถือว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ 2 ส่วนนี้ เป็นหัวใจหลักของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเลยนะครับ เพราะถึงแม้เราจะไม่ค่อยได้ดัดดึงข้อเข่า แต่เราออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาอย่างสมํ่าเสมอ โอกาสที่จะหายปวดมันมีมากกว่าคนที่เอาแต่ดัดดึงข้อเข่าอีกนะ 

ฉะนั้น ถ้าใครอยากหายปวดจากโรคเข่าเสื่อมนี้ ต้องหมั่นออกกำลังกายกันด้วยนะครับ

รายละเอียดในคลิป

วิธีที่ 1 : ขัดลูกสะบ้า (นาทีที่ 5:02)
วิธีที่ 2 : กดต้นขา ดึงปลายเท้า (นาทีที่ 11:38)
วิธีที่ 3 : ถีบต้นขา กระตุกปลายเท้า (นาทีที่ 14:34)
วิธีที่ 4 : รัดข้อเท้า ดึงข้อเข่า (นาทีที่ 18:11)
วิธีที่ 5 : งอเข่า ยืดต้นขา (นาทีที่ 22:58)
วิธีที่ 6 : นวดนิด กดหน่อย (นาทีที่ 27:03)


คลิปวิธีการเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขา
- ออกกำลังกายต้นขาด้านหน้า (8 ท่า บริหารข้อเข่าให้แข็งแรง สำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม)
- ออกกำลังกายต้นขาด้านหลัง (5 วิธี บริหารข้อเข่า แก้เข่าแอ่น)


วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 54] 7 วิธี ดัดข้อสะโพก เพื่อรักษาข้อสะโพกเสื่อม โดยไม่ต้องผ่าตัด


เมื่อกล่าวถึงวิธีการรักษาข้อสะโพกเสื่อม เชื่อว่าหลายคนคงนึกวิธีการรักษาไม่ออกนอกจากการผ่าตัดสถานเดียว แต่ถ้าไม่อยากผ่าก็คงทำได้แค่กินยา หรือไม่ก็ไปนวดบ้าง 

ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับข้อเสื่อมนั้น จริงอยู่มันไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถบรรเทาอาการปวดได้ สามารถลดการติดขัดภายในข้อได้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นได้ สามารถเดินเหินได้คล่องโดยไม่มีอาการปวด แม้จะเป็นข้อสะโพกเสื่อมอยู่ก็ตาม

วิธีการรักษานั่นก็คือ ใช้การดัดข้อสะโพกคับ ถึงแม้จะไม่มีใครมาดัดข้อให้ก็ไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรารู้วิธีดัดข้อเอง ซึ่งในคลิปนี้ผมจะสอนวิธีการดัดข้อสะโพกเพื่อลดปวด ลดข้อติดแบบฉบับทำเองกัน

รายละเอียดในคลิป 

อาการข้อสะโพกเสื่อม (นาทีที่ 0:15)
ข้อห้าม การดัดข้อสะโพก (นาทีที่ 4:27)
วิธีที่ 1 : นอนไขว้ขา กดข้างเข่า (นาทีที่ 6:58)
วิธีที่ 2 : ตั้งเข่า ควงสะโพก (นาทีที่ 9:37)
วิธีที่ 3 : ประกบฝ่าเท้า กระพือปีก (นาทีที่ 16:08)
วิธีที่ 4 : ชันเข่า ขยับตัวหน้า-หลัง (นาทีที่ 18:37)
วิธีที่ 5 : กบกระโดด (นาทีที่ 21:00)
วิธีที่ 6 : ไขว้ขา ดึงเข่า (นาทีที่ 25:01)
วิธีที่ 7 : ยืนหมุนขา (นาทีที่ 27:30)



วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 53] 5 พฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ทำให้ปวดหลัง และเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


หลายๆคลิปที่ผมทำมาได้บอกถึงวิธีการลดปวดหลัง การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบทำเอง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังเพื่อป้องกันอาการปวดหลังไปแล้ว 

มาในคลิปนี้ ผมจะมาบอกถึงสาเหตุและความเสี่ยงในชีวิตประจำวันที่ทำให้เราปวดหลัง และเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นกันบ้าง ซึ่งผมเชื่อเลยว่าทั้ง 1 ใน 5 พฤติกรรมนี้ ต้องมีสักอย่างที่เราชอบเผลอทำกันบ่อยๆแน่นอน 

แล้วก่อนจะไปดูคลิป ขอกระซิบสักหน่อยนะครับว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนใหญ่นั้น ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้หลังแบบผิดๆแทบทั้งสิ้น นอกจากจะออกกำลังกาย การรักษา การทานยา การทำกายภาพ การดึงหลังแล้ว แต่ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลังให้ถูกต้อง โอกาสที่จะทำให้เราปวดหลังซํ้าสองก็มีสูงมากทีเดียวเลยนะครับ

รายละเอียดภายในคลิป

พฤติกรรมที่ 1 : ก้มหลัง ยกของ (นาทีที่ 4:23)
พฤติกรรมที่ 2 : เอี้ยวตัว ส่งของ  (นาทีที่ 8:08)
พฤติกรรมที่ 3 : ก้มหลัง บิดตัว ยกของ (นาทีที่ 11:25)
พฤติกรรมที่ 4 : นั่งหลังงอนานๆ  (นาทีที่ 14:20)
พฤติกรรมที่ 5 : ก้มหลัง ฮัดชิ้ว  (นาทีที่ 18:40)


วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

5 สัญญาณ เช็คข้อสะโพกเสื่อม (osteoarthritis of hip joint)


3 สัญญาณ เช็คข้อสะโพกเสื่อม (osteoarthritis of hip joint)

เมื่อเราไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเป็นประจำมาตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว เมื่ออายุมากขึ้นจนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มักจะเป็นโรคเกี่ยวกับปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อกระดูกต่างๆตามมาเป็นพัลวัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้นโรคข้อสะโพกเสื่อม แม้จะพบได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรคข้อเข่าเสื่อม แต่บอกเลยว่า คนเป็นข้อสะโพกเสื่อมมักจะได้รับความทรมานกว่าโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่มากพอสมควร 

ผู้ป่วยที่เป็นข้อเข่าเสื่อมมักจะปวดเข่าเวลาเดิน แต่สำหรับข้อสะโพกเสื่อม ถ้ายิ่งเสื่อมเยอะๆแล้วด้วย ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นอน หรือนั่งก็ปวดตลอดเวลานะครับ เพราะข้อสะโพกเป็นข้อหลักที่รับนํ้าหนักของร่างกายเราที่มาจากลำตัว ก่อนจะกระจายนํ้าหนักไปที่ขาทั้ง 2 ข้าง แล้วเวลาเรานั่ง ข้อเข่าได้พัก แต่ข้อสะโพกยังคงรับนํ้าหนัก เวลานอนข้อเข่าได้พัก แต่ข้อสะโพกก็ยังคงมีนํ้าหนักมากดอยู่บ้าง ยิ่งนอนตะแคงทับข้างที่เสื่อมอยู่ด้วยจะยิ่งปวดมาก เวลาเดินก็ไม่ต้องพูดถึงครับ ปวดทรมานจนเดินกันไม่ไหวเลยทีเดียว 


ภาพซ้ายแสดงถึงข้อปกติ ภาพขวาข้อสะโพกเสื่อม

จากที่เกริ่นไปข้างต้น พอจะนึกภาพออกแล้วนะครับว่า คนเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นทรมานขนาดไหน ฉะนั้น ก่อนที่ผมจะลงคลิปวิธีการรักษาข้อสะโพกเสื่อมแบบทำเองอีกภายในไม่กี่วันข้างหน้า เรามารู้วิธีสังเกตุอาการปวดของคนเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมกันก่อนดีกว่าครับผม

อาการของคนเป็นข้อสะโพกเสื่อม 

1) ปวดกว้างรอบข้อสะโพก

=> ในข้อแรกยี้ถือว่าเป็นอาการเริ่มต้นของคนที่เป็นข้อสะโพกเสื่อมเลยละครับ คือจะมีอาการปวดรอบๆข้อสะโพก อาจปวดร้าวขึ้นเอว แต่ส่วนมากจะร้าวลงขาด้านนอกจนถึงเข่าครับผม อาจจะปวดตลอดเวลา หรือเป็นๆหายๆก็ได้ แต่จะปวดมากขึ้นเมื่อต้องเดินระยะทางไกลครับผม โดยอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ป่วยมักจะบอกตำแหน่งได้ไม่ชัด ทายาก็ไม่หาย ใช้มือกด มืดนวดก็ไม่โดนจุดซะที รู้แค่ว่ามันอยู่รอบๆนั้นแหละ ปวดจนไม่รู้จะทำยังไงให้ปวดนอกจากกินยา!


ตำแหน่งที่ปวดขาหนีบจากข้อสะโพกเสื่อม

2) ปวดช่วงขาหนีบ

=> จัดว่าเป็นอาการเด่นของคนเป็นข้อสะโพกเสื่อมเลยก็ว่าได้นะครับ ถ้าปัจจัยเรื่องอายุถึง คือปู้ป่วยอายุมากขึ้นจนเลยวัย 45 ขึ้นไป เป็นเพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน มีอาการปวดรอบๆข้อสะโพก และมีอาการปวดขาหนีบด้วย ถ้าปัจจัยเหล่านี้ครบละก็ สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นข้อสะโพกเสื่อมแน่ๆ (แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการครบทุกอย่าง แต่อายุยังน้อย ไม่ถึง 40 ปี โรคข้อสะโพกเสื่อมอาจจะยังไม่ใช่นะครับ)

โดยอาการปวดขาหนีบนั้น ผู้ป่วยจะระบุชัดเลยครับว่า ปวดช่วงขาหนีบเป็นเส้นเลย และจะปวดมากยิ่งขึ้นเมื่อเดินนาน หรือต้องก้าวขาเดินขึ้นบันไดครับ

3) รู้สึกข้อสะโพกหนืดในตอนเช้า

=> อาการข้อสะโพกหนือ หรือข้อฝืดนั้น นอกจากจะเกิดจากตัวผิวข้อที่มันเสื่อมแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็ยังเกิดจากนํ้าเลี้ยงข้อมันน้อยลงด้วย ถ้าข้อยังเสื่อมไม่เยอะมาก การทานยาที่ช่วยสร้างนํ้าเลี้ยงข้อก็จะช่วยลดอาการปวดข้อได้นะครับ 

ส่วนที่ว่า ข้อหนืดในตอนเช้านั้นคือ พอเราตื่นเช้ามาลึกลงจากเตียงจะมีความรู้สึกว่าก้าวขาข้างที่มีปัญหาไม่ค่อยออก ต้องนอนขยับขาขึ้นๆลงๆสักพักใหญ่ๆจึงจะรู้สึกว่าเคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้นจึงสามารถลุกขึ้นเดินได้ตามปกติ หรือถ้าเรานั่งนานๆแล้วลึกขึ้นจะเดินทันทีก็จะรู้สึกถึงปัญหาข้อหนืดเช่นกันครับผม 


ตำแหน่งปวดกว้างๆของข้อสะโพกเสื่อม

4) มีเสียงภายในข้อสะโพก

=> โดยปกติแล้วเวลาเราเคลื่อนไหวข้อสะโพก หรือข้อต่อส่วนไหนของร่างกายก็ตาม มักจะไม่มีเสียงภายในข้อใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้าเกิดเสียงดังภายในข้อละ ที่เป็นเสียงแบบว่าครืดคราด กึกกักๆ ซึ่งเป็นเสียงของกระดูกข้อสะโพกไปกดเบียดกับเบ้าของข้อสะโพกเรานั่นเอง โดยปกติแล้วเวลาเราเคลื่อนไหวข้อสะโพกก็จะมีบางจังหวะที่ผิวข้อมันไปกดเบียดกันนะครับ แต่มันไม่ได้เกิดเสียงดังกล่าว เนื่องจากข้อต่อของเรานั้นยังคงมีกระดูกอ่อนหุ้นผิวข้ออยู่ และยังมีนํ้าเลี้ยงข้ออยู่ภายในที่ทำหน้าที่ลดการเสียดสี แต่พอผิวกระดูกอ่อนที่หุ้นข้อเริ่มบางลง ผุกร่อน แถมนํ้าเลี้ยงข้อยังลดลงอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปกลเลยครับที่จะเกิดเสียงดังในข้อแบบนั้น


ภาพ ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

5) ข้อสะโพกติดขัด

=> เมื่อเกิด 4 อาการที่ผมกล่าวมาก่อนหน้านี้ได้สักพักใหญ่ๆจนข้อเสื่อมถึงที่สุดแล้ว ผลสุดท้ายที่เกิดตามมาก็คือ ภาวะข้อติดนั่นเองครับ ลักษณะข้อติดนั้นจะไม่เหมือนกันข้อหนืดนะ ข้อหนืดนี่ถ้าเราได้เคลื่อนไหวข้อไปได้สักพักอาการโดยรวมก็จะดีขึ้น 

แต่ข้อติดนี่ ไม่ว่าจะขยับแค่ไหนก็ยังคงติดเหมือนดิม จากเดิมที่ยกขาตั้งฉากกับลำตัวได้สบายๆ ตอนนี้ก็ทำไม่ได้ จากเดิมที่เดินก้าวขายาวๆได้ ตอนนี้แค่ก้าวขาเดินสั้นก็รู้สึกข้อติดขัดไปหมดแล้ว เดินก้าวขาขึ้นบันไดได้ลำบาก ต้องเดินก้าวขาขั้นต่อขั้น ขึ้นขั้นนึงแล้วต้องหยุด แล้วไม่สามารถใช้ขาข้างที่เสื่อมก้าวขึ้นไปก่อนได้ และสุดท้ายก็คือ ไม่สามารถเดินก้าวขาได้เลย ต้องเดินก้าวขาสั้นๆ แถมต้องใช้การเดินยักสะโพกข้างที่เสื่อมร่วมด้วยในขณะที่เดินอีก พอเดินยักสะโพกบ่อยๆกล้ามเนื้อหลังก็เกิดตึง เกร็งแล้วก็เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาอีก จนในที่สุดคนไข้ทนกับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงแบบนี้ไม่ไหวต้องเข้ารับการผ่าตัดในที่สุด แต่อย่าคิดว่าผ่าตัดแล้วจะจบนะครับ เพราะหลังผ่าตัดตัวคนไข้จะเจอกับอาการปวดแสนสาหัสจากบาดแผล แถมยังต้องฝึกขยับข้อ ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาทั้งๆที่ยังปวดต่ออีก พอกล้ามเนื้อแข็งแรงก็ต้องมาฝึกเดินด้วยไม้เท้านู่นนี่นั่นอีกเพียบ ทีนี้เห็นถึงความน่ากลัวของโรคข้อสะโพกเสื่อมกันแล้วรึยังเอ่ย

คลิป VDO ที่เกี่ยวข้อง
- วิธีออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพกให้แข็งแรง (8 ท่า บริหารข้อสะโพกให้แข็งแรง สำหรับคนเป็นข้อสะโพกเสื่อม)

เครดิตภาพ
- http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00213
- http://www.arthritis-health.com/blog/7-core-exercises-relieve-back-and-hip-arthritis-pain
- http://peterborten.com/thigh-pain-coming/
- https://rushchiropractic.com/chiropractic-services/hip-pain-chiropractic/
- http://www.health2click.com/index.php?mo=3&art=42096188


วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 52] 10 วิธีบริหารแขน เพื่อลดปวด สำหรับทุกช่วงวัย


เคยมีคนไข้หลายคนทักเข้ามาสอบถามผมว่า อยากได้ท่าบริหารแขนให้แข็งแรงต้องทำท่าไหนบ้าง เพราะพึ่งหายจากโรคข้อไหล่ติด ตอนนี้ไหล่ไม่ติดแล้ว แต่ยังคงรู้สึกว่าแขนไม่ค่อยมีแรง หลังจากนั้น ผมจึงได้รวบรวมเทคนิคบริหารแขนง่ายๆ ที่สามารถดูแล้วทำตามได้เลยแม้กระทั่งผู้สูงอายุ 

การบริหารแขนให้แข็งแรงถือว่ามีความสำคัญมากเลยนะครับ เพราะถ้ากล้ามเนื้อช่วงแขนโดยรวมของเราแข็งแรงดี จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดแขน บ่า สะบัก และคอได้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานอยู่ในท่าเดิมนานๆ หรืองานประเภทรูทีนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานในโรงงาน คนขายของออนไลน์ หรือผู้ที่เล่นมือถืออยู่เป็นประจำ เป็นต้น คนกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดสะสมได้ง่ายจากการทำงานนานๆ หากยังคงไม่รักษาหรือออกกำลังกายอาการปวดก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นโรคนึงที่เรารู้จักกันดีที่มีชื่อว่า โรคออฟฟิศ ซินโดรมนั่นเองครับผม

รายละเอียดภายในคลิป 

วิธีที่ 1 : แกว่งแขน (นาทีที่ 5:02) 
วิธีที่ 2 : วาดวงกลม (นาทีที่ 7:07) 
วิธีที่ 3 : ผีเสื้อกระพือปีก (นาทีที่ 10:17) 
วิธีที่ 4 : หดสะบัก เหยียดแขน (นาทีที่ 14:08) 
วิธีที่ 5 : วิดพื้น ครึ่งนึง (นาทีที่ 16:56) 
วิธีที่ 6 : ไฟลนตูด (นาทีที่ 20:35) 
วิธีที่ 7 : ชูต้นแขน แนบติ่งหู (นาทีที่ 22:55) 
วิธีที่ 8 : ควํ่ามือ กางแขน (นาทีที่ 26:50) 
วิธีที่ 9 : นอนควํ่า กระพือปีก (นาทีที่ 29:00) 
วิธีที่ 10 : กางแขน ยืดหนังยาง (นาทีที่ 31:50) 



วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 51] 4 วิธียืดน่อง ลดปวด ลดตึง และแก้ตะคริว


สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องตะคริวกินน่องอยู่บ่อยๆ จนมีความรู้สึกว่าอาการตะคริวกินมันกลายเป็นเรื่องปกติของตัวเองแล้วละก็ ลองติดตามคลิปนี้ดูให้ดีครับ 

เพราะในคลิปนี้ผมจะมาบอกวิธีการยืดน่อง เพื่อลดปวดน่องจากตะคริวกันได้  ซึ่งคนส่วนมากเมื่อเป็นตะคริวก็ไม่รู้จะทำยังไงได้แต่บีบนวดที่น่อง หรือไม่ก็รอจนกว่าอาการปวดจะหายไปเอง ในความเป็นจริงแล้วการยืดน่องเนี่ยแหละครับคือวิธีการลดปวดและแก้การเป็นตะคริวได้ดีมากเลยนะ

 และนอกจากนี้ในช่วงท้าย ผมยังได้แนะนำวิธีป้องกันการเป็นตะคริวไว้ด้วยนะ บางคนอาจจะรู้วิธีอยู่แล้ว แต่บางคนก็ไม่รู้ หวังว่าเนื้อหาในคลิปนี้จะมีประโยชนืต่อเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ

รายละเอียดในคลิป

วิธีที่ 1 : ดันกำแพง เข่าตึง (นาทีที่ 0:50)
วิธีที่ 2 : เหยียบครึ่งเท้า (นาทีที่ 4:30)
วิธีที่ 3 : จับผ้า ดึงปลายเท้า (นาทีที่ 6:30)
วิธีที่ 4 : ไขว้ขา นวดน่อง (นาทีที่ 9:05)

วิธีป้องกันตะคริวกินน่อง
ป้องกัน 1 (นาทีที่ 13:10)
ป้องกัน 2 (นาทีที่ 16:42)
ป้องกัน 3 (นาทีที่ 17:21)
ป้องกัน 4 (นาทีที่ 18:25)
ป้องกัน 5 (นาทีที่ 19:09)


วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 50] 5 วิธี ดูแลข้อเข่า หลังผ่าตัดให้กลับมาเดินปร๋อ


คนไข้ที่กำลังจะได้ผ่าตัดหรือเคยผ่าตัดข้อเข่ามาแล้วละก็ มักจะมีความกังวลและความสับสนกันอยู่ไม่น้อยว่า ถ้าผ่าเสร็จแล้วจะเป็นยังไงบ้าง? อีกนานแค่ไหนกว่าจะเดินได้? และสงสัยกันมากที่สุดเลยก็คือ ผ่าเสร็จแล้วต้องทำยังไงต่อละ? 

ยิ่งถ้าไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ พอผ่าเสร็จหมอก็ไม่ค่อยมีเวลามาแนะนำหรือดูแลอะไรให้เป็นพิเศษอยู่แล้ว แถมนอนโรงบาลได้ไม่กี่วันหมอก็ให้ไปนอนไปนอนรักษาตัวที่บ้านต่อ หากคนไข้ไม่ค่อยมีความรู้ในการดูแลรักษาตนเองก็มักจะนอนอยู่บ้านเฉยๆกินยาตามที่หมอสั่ง แล้วคิดว่าเดี๋ยวแผลหายก็คงกลับมาเดินได้เองแหละ ไม่ทำกายภาพเข่า ไม่บริหารข้อเข่าใดๆเลย จนเวลาผ่านไปเป็นเดือนๆ ปัญหาที่ตามมาเหมือนกันหมดก็คือ งอเข่าไม่ได้ หนักกว่านั้นก็คือ เดินไม่ได้เลยก็มี แล้วคนไข้ก็จิตตก โวยวาย เครียด ซึมเศร้าไปต่างๆนาๆว่า ทำไมผ่าตัดแล้วถึงอาการแย่กว่าตอนที่ไม่ผ่าอีก?

จากประสบการณ์อันน้อยนิดของผม ที่เคยทำกายภาพคนไข้ผ่าเข่ามามักจะประสบปัญหานี้กันเกือบทุกคน (ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ) ฉะนั้น ผมจึงทำคลิปมาอธิบายกันว่า หลังผ่าเข่าแล้วเราควรปฎิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้แผลหายเร็ว มีคุณภาพชิวิตที่ดี ไม่เจอปัญหาข้อเข่าติด และที่สำคัญคือ จะทำยังไงให้กลับมาเดินได้ครับ 

อ้อ! ผมอธิบาย 3 คำถามที่ผู้ป่วยกำลังจะผ่าตัดหรือผ่าตัดเสร็จแล้ว มักจะถามกันมามากที่สุดด้วยนะ หวังว่าคลิปนี้จะมีประโยชน์ต่อคนที่มีแผนว่าจะผ่าตัด หรือผ่าตัดกันมาแล้วนะครับ^^

รายละเอียดในคลิป

วิธีที่ 1 : นอนยกขาสูง (นาทีที่ 0:23)
วิธีที่ 2 : ประคบนั้าแข็๋ง (นาทีที่ 3:30)
วิธีที่ 3 : ส้นเท้า ครูดพื้น (นาทีที่ 5:56)
วิธีที่ 4 : กดหน้าแข้ง (นาทีที่ 10:04)
วิธีที่ 5 : สลายพังผืด(นาทีที่ 12:49)
3 คำถามที่คนถูกผ่ามักสงสัย
คำถามที่ 1 : ต้องทำกายภาพหลังผ่าตัดด้วยหรือ? (นาทีที่ 15:54)
คำถามที่ 2 : ห้ามกินไข่หลังผ่าตัด เพราะจะทำให้เป็นแผลเป็น? (นาทีที่ 22:21)
คำถามที่ 3 : ผ่าเข่ามาหลายปี แต่ทำไมยังเจ็บเข่าได้อยู่ (นาทีที่ 24:15)


วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 49] 7 ขั้นตอน รักษานิ้วล็อก ให้หายด้วยต้วเอง (อย่างละเอียด)


มาแล้วครับ กับวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อกแบบทำเอง ที่เพื่อนๆทักเข้ามาว่าอยากให้ทำกัน ผมต้องบอกเลยว่า โรคนิ้วล็อกนั้น จัดว่าเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่งที่รักษาให้หายขาดได้ยากมากๆ เพราะมันเป็นการอักเสบของเส้นเอ็นที่นิ้วเรา แล้วโรคอะไรก็ตามที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับเส้นเอ็นมันมักจะหายช้ากว่าโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหรือข้อต่ออยู่มาก เนื่องจากเส้นเอ็นเป็นเส้นเล็ก มีความเหนียว ความยืดหยุ่นน้อย และโครงสร้างภายในของตัวเส้นเอ็นเองก็มีหลอดเลือดฝอยมาเลี้ยงน้อย จึงทำให้การฟื้นตัวของเส้นเอ็นหลังการบาดเจ็บจึงหายช้ากว่ากล้ามเนื้ออย่างเห็นได้ชัด

ฉะนั้น ถ้าใครที่เป็นโรคนิ้วล็อกอยู่ ได้ลองรักษาตามคลิปนี้ทุกขั้นตอนแล้ว ปรากฎว่า อาการปวด หรือปัญหานิ้วล็อกก็ยังไม่หายสักที ก็ไม่ต้องตกใจหรือท้อใจไปนะครับ อย่างที่บอก โรคที่เกี่ยวกับเส้นเอ็นมันหายช้า ขอแค่หมั่นดูแลรักษามืออยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการนวดมือ นวดแขน หลีกเลี่ยงการใช้งานมือหนักๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักละก็ โรคนี้จะค่อยๆทุเลาได้อย่างแน่นอน ขอแค่ทำอย่างสมํ่าเสมอ และอดทนนะครับ

รายละเอียดของคลิป

ขั้นตอนที่ 1 : แช่นํ้าอุ่น (นาทีที่ 0:20)
ขั้นตอนที่ 2 : รูดนิ้ว  (นาทีที่ 2:18)
ขั้นตอนที่ 3 : บีบแขน ขยํ่ามือ  (นาทีที่ 5:40)
ขั้นตอนที่ 4 : คลึงแขน  (นาทีที่ 10:15)
ขั้นตอนที่ 5 : กดมือ คลึงนิ้ว  (นาทีที่ 13:05)
ขั้นตอนที่ 6 : รูดนิ้ว อีกครั้ง  (นาทีที่ 21:00)
ขั้นตอนที่ 7 : กรีดนิ้ว  (นาทีที่ 23:00)



วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 48] โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร เรื่องนี้มีคำอธิบาย


ก่อนจะเข้าสู่วิธีการรักษาของโรคนิ้วล็อก ผมอยากจะให้เพื่อนๆได้รู้จักรายละเอียดของโรคนิ้วล็อกกันก่อน เพราะยิ่งเรารู้สาเหตุของปัญหามากขึ้นเท่าไหร่ เราได้เข้าใจและตระหนักถึงการดูแลรักษามากขึ้นเท่านั้นนะครับ 

โดยเนื้อหาจะมีอะไรบ้าง ไม่ขอลงรายละเอียดผ่านข้อความ แต่เชิญคลิ๊กชมคลิปได้เลยครับผม

รายละเอียดของคลิป

ลักษณะของโรคนิ้วล็อก (นาทีที่ 0:13)
สาเหตุโรคนิ้วล็อก (นาทีที่ 5:40)
อาการโรคนิ้วล็อก (นาทีที่ 7:55)
สรุป (นาทีที่ 9:41)





วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 47] 8 เทคนิค ลดปวดหลัง ลดปวดเอว


มาแล้วครับกับวิธีการลดปวดหลัง ลดปวดเอว แบบฉบับทำเอง ซึ่งใครบ้างที่เหมาะกับคลิปนี้ นั่นคือ คนที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังแบบทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นหลังยอก หลังตึง รู้สึกแน่นๆที่หลัง ก้มหลังไม่ค่อยได้ หรือพูดง่ายๆก็คือ เหมาะกับคนที่ปวดกล้ามเนื้อหลังครับผม 

ส่วนคนที่ปวดหลัง ปวดขา ขาชา หรือปวดหลังร้าวลงขา จากโรคเกี่ยวกับกระดูก ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ แต่มีบางท่าที่ต้องระวังให้มากๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนะครับ นั่นคือ วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 และวิธีที่ 5 คนเป็นหมอนรองทับเส้นประสาท ควรระวังการทำ 3 วิธีนี้นะครับผม

วิธีการลดปวดหลัง ปวดเอวทั้ง 8 วิธีมีดังนี้เลย

วิธีที่ 1 : นอนหงาย กอดเข่า (นาทีที่ 0:44)
วิธีที่ 2 : นอนหงาย บิดเอว (นาทีที่ 3:30)
วิธีที่ 3 : แมวขู่ (นาทีที่ 5:37)
วิธีที่ 4 : ชูแขน ยืดหลัง (นาทีที่ 8:45)
วิธีที่ 5 : ไขว้ขา บิดเอว (นาทีที่ 10:55)
วิธีที่ 6 : ควงเอว (นาทีที่ 13:23)
วิธีที่ 7 : แอ่นหลัง 4 ทิศ (นาทีที่ 15:40)
วิธีที่ 8 : ลูกกลิ้ง คลึงหลัง (นาทีที่ 18:48)



วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] ยืดเส้นประสาทขา ลดขาตึง แก้ขาชา และปวดขา


ก่อนหน้านี้ได้โพสวิธียืดเส้นประสาทแขนไป ในเมื่อบอกวิธียืดเส้นประสาทแขนไปแล้ว จะไม่บอกวิธียืดเส้นประสาทขาก็กะไรอยู่ วันนี้ผมจึงมาบอกวิธีการยืดเส้นประสาทขากัน ซึ่งเส้นประสาทขาหลักๆ เส้นที่ยืดได้จริงๆมีอยู่ไม่กี่เส้นหรอกครับ นั่นคือ เส้นประสาท sciatic กับ femoral ครับผม 

ซึ่งถ้า 2 เส้นนี้มีปัญหา ไม่ว่าจะถูกทับ อักเสบ หรือการส่งสัญญาณประสาทผิดปกติ เราคงได้เห็นว่าตัวเองจะเดินเป๋กันแน่นอน หรือไม่ก็รู้สึกตึงรั้งที่ขาอยู่ตลอดเวลาก็มี ฉะนั้น การยืดเส้นประสาทขาจึงมีความสำคัญในระดับนึงเลยละครับ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นนะครับ

รายละเอียดในคลิป 
วิธีที่ 1 : ยืด sciatic nerve (นาทีที่ 1:20)
วิธีที่ 1 เสริม : พาดกำแพง ดึงปลายเท้า (นาทีที่ 5:51)
วิธีที่ 2 : ยืด femoral nerve (นาทีที่ 9:23)
วิธีที่ 3 : ยืดแบบ slump test (นาทีที่ 12:35)
วิธีที่ 4 : ยืดกล้ามเนื้อก้น (นาทีที่ 15:57)



วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 3 เทคนิค ยืดเส้นประสาทแขน แก้แขนตึง แขนชา


คนส่วนใหญ่จะรู้วิธีการยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดปวด ลดตึงต่างๆ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้วิธีการยืดเส้นประสาท หรือต่อให้รู้ ก็จะนึกสงสัยไปอีกว่า จะยืดเส้นประสาทไปทำไมกัน? ถ้าเพื่อนๆมีคำถามนี้อยู่ในใจละก็ ก็ต้องย้อนกลับมาดูร่างกายของเราเองครับว่า เราเคยมีอาการปวดแขน แขนตึง รู้สึกแขนล้าง่าย รู้สึกแขนชา รู้สึกแขนมันยิบๆเหมือนมีมดไต่อย่างไม่ทราบสาเหตุกันบ้างมั้ย ถ้ามี การยืดเส้นประสาทจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องพวกนี้ได้มากทีเดียวเลยครับ เพราะบางครั้งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากเส้นประสาทมันถูกกดทับอยู่บางส่วน หรือเส้นประสาทมันตึงมากเกินไป การยืดเส้นประสาทจึงช่วยให้อาการต่างๆกลับมาเป็นปกติได้นั่นเองครับผม

รายละเอียดของคลิป
วิธีที่ 1 : ยืดเส้นประสาท median nerve (นาทีที่ 3:24)
วิธีที่ 2 : ยืดเส้นประสาท ulna nerve (นาทีที่ 7:28)
วิธีที่ 3 : ยืดเส้นประสาท radial nerve (นาทีที่ 10:00)



วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี รักษากระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis)


สำหรับวิธีการรักษาของคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน คลิปนี้อาจจะยังไม่ตรงใจคนเป็นโรคนี้ 100% นัก เพราะในคลิปนี้ผมจะบอกวิธีการออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อหลัง-ลำตัวให้แข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้พยุงโครงสร้างกระดูกสันหลังไม่ให้มันเกิดการเคลื่อนมากขึ้นได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้กระดูกสันหลังที่เคลื่อนอยู่ให้กลับมาเข้าที่เหมือนเดิมครับ 

เพราะถ้าเราต้องการรักษาให้กระดูกสันหลังที่เคลื่อนอยู่ให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมนั้น ต้องใช้การผ่าตัดสถานเดียวครับผม แต่ใครที่เป็นโรคนี้อยู่ก็อย่าพึ่งเศร้าใจไปครับว่า จะต้องโดนผ่าตัดแน่ๆ เพราะถ้ากำลังกล้ามเนื้อหลัง-ลำตัวของเราแข็งแรงดี กล้ามเนื้อมันก็จะพยุงกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการเคลื่อนมากขึ้นได้ครับ พูดง่ายๆคือ สำหรับคนเป็นโรคนี้ การออกกำลังกายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเลยทีเดียว ถ้าใครไม่อยากผ่าตัด หมั่นออกกำลังกายตามคลิปนี้บ่อยๆนะครับ

รายละเอียดภายในคลิป
คำอธิบาย (นาทีที่ 0:18)
อาการ (นาทีที่ 2:20)
วิธีที่ 1 : เหยียดขา ก้มตัว (นาทีที่ 2:57)
วิธีที่ 2 : ชันเข่า หลังแนบพื้น (นาทีที่ 5:00)
วิธีที่ 3 : หนีบเข่า (นาทีที่ 8:45)
วิธีที่ 4 : plank (นาทีที่ 11:38)
วิธีที่ 5 : ว่ายนํ้าบก (นาทีที่ 13:14)
สรุป (นาทีที่ 14:57)

ดูจบแล้ว ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยน้าาา

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] วิธียืดต้นขา แก้ปวดหลัง ลดหลังแอ่น


เมื่อมีอาการปวดหลัง เราจะทำยังไง? เรื่องนี้หลายคนคงตอบว่า กินยาลดปวด ไปหาหมอ วางผ้าร้อน ยืดหลัง หรือไม่ก็พักผ่อน แต่ทราบหรือไม่ว่า การยืดกล้ามเนื้อต้นขาก็ช่วยให้ลดปวดได้นะเออ 

การที่เรายืดต้นขาแล้วทำให้อาการปวดหลังลดลงได้นั่นก็เพราะมีกล้ามเนื้อมัดนึงที่มีชื่อว่า psoas major ที่เกิดตึงตัวแล้วไปดึงรั้งกระดูกสันหลังระดับเอวทำให้หลังแอ่น แล้วเกิดอาการปวดหลังได้ในที่สุด การที่เรายืดต้นขาจะช่วยให้กล้ามเนื้อ psoas major เกิดการคลายตัว ลดการดึงรั้งกระดูกสันหลังจึงช่วยให้อาการปวดหลังลดลงได้นั่นเองครับ 

ฉะนั้น หากเพื่อนๆคนไหนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังอยู่ รักษามาหลายวิธีแล้วก็ไม่หายสักที บางทีอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อ psoas major มันตึงอยู่ก็ได้นะครับ ลองยืดกล้ามเนื้อมัดนี้ดู บางทีอาจจะช่วยให้อาการปวดหลังหายไปก็ได้นะครับผม

รายละเอียดภายในคลิป

อธิบายกล้ามเนื้อ psoas major (นาทีที่ 0:25)
สาเหตุ  (นาทีที่ 1:15)
ท่าที่ 1 : ชันเข่า โน้มตัว  (นาทีที่ 4:43)
ท่าที่ 2 : ยืนก้าวขา โน้มตัว  (นาทีที่ 7:39)
สรุป (นาทีที่ 11:15)




วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 ท่า บริหารกล้ามเนื้อหน้าแข้ง ป้องกันโรค shin splint (part 2)


สำหรับ Part ที่ 2 นี้ผมจะบอกถึงวิธีการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าแข้งกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ tibialis anterior, tibialis posterior และกลุ่มกล้ามเนื้อ peroneus ซึ่งการที่กล้ามเนื้อเหล่านี้มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า และหน้าแข้งจากโรค shin splint หลังจากที่เราไปวิ่งออกกำลังกายได้ดีทีเดียวครับ

ฉะนั้น หากใครที่ชอบวิ่งบ่อยๆ แล้วรู้สึกว่าตัวเองปวดหน้าแข้งเป็นประจำละก็ ลองทำตามท่าออกกำลังกายเหล่านี้นะครับ อ้อ!แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำทุกท่านะ เน้นท่าที่เราทำแล้วรู้สึกดีก็พอครับผม

วิธีการออกกำลังกายมีดังนี้เลย
วิธีที่ 1 : กระดกปลายเท้า รัวๆ (นาทีที่ 1:21)
วิธีที่ 2 : รัดยาง หมุนเท้าเข้า-ออก (นาทีที่ 3:08) 
วิธีที่ 3 : กระดกปลายเท้า ขึ้นๆลงๆ (นาทีที่ 7:51)
วิธีที่ 4 : เขย่งปลายเท้า (นาทีที่ 12:03)
วิธีที่ 5 : หมุนข้อเท้า (นาทีที่ 14:14)

ดูจบแล้ว ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยน้าาา


วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี ลดปวดข้อเท้าและหน้าแข้ง จากโรค shin splint (Part 1)



สำหรับใครที่ชอบออกกำลังกายโดยการวิ่ง หรือชอบเล่นกีฬาที่ต้องมีการวิ่งอยู่บ่อยๆ แล้วปรากฎว่ามีอาการปวดหน้าแข้งกันบ้าง หรือคนทั่วไปที่มีอาการปวดข้อเท้าอยู่บ่อยๆ ไปรักษา ไปนวดข้อเท้ามาสาระพัดที่ แต่อาการปวดก็ไม่ลดลงเลยละก็ บางทีเราอาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือที่เรียกกันว่า shin splint ก็ได้นะครับ

นอกจากจะมีอาการปวดที่กล้ามเนื้อแล้ว บางรายอาการปวดที่เกิดขึ้นก็อาจมาได้จากกระดูกหน้าแข้งเกิดการอักเสบ หรือเกิดกระดูกร้าวได้เช่นเดียวกันนะครับผม โดยเฉพาะคนที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ แล้วมีอาการปวดหน้าแข้งเรื้อรังมานานรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักทีละก็ ลองไปตรวจ x-ray กระดูกดูนะครับ ก่อนที่จะสายเกินแก้

รายละเอียดของโรคนี้ และการรักษามีดังนี้เลยครับผม

อธิบายโรค shin splint (นาทีที่ 0:39)
อธิบายสาเหตุ (นาทีที่ 1:52)
ลักษณะอาการของโรค (นาทีที่ 4:20)
การรักษา
วิธีที่ 1 : พักก่อน (นาทีที่ 5:55)
วิธีที่ 2 : ประคบนํ้าแข็ง (นาทีที่ 7:27)
วิธีที่ 3 : กดปลายเท้า (นาทีที่ 9:56)
วิธีที่ 4 : ชันเข่า กลิ้งหน้าแข้ง (นาทีที่ 13:29)
วิธีที่ 5 : คลึงหน้าแข้ง (นาทีที่ 20:43)




วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] ปุ่มก้อนแข็งๆใต้กล้ามเนื้อคืออะไร เรื่องนี้มีคำตอบ


ใครที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจนต้องไปหาหมอนวดบ้าง ไปหานักกายภาพบ้าง หรือไปฝังเข็มกับแพทย์จีนบ้าง แล้วแทบทุกครั้งผู้รักษาจะกดตรงก้อนแข็งๆเป็นไตจนสร้างความเจ็บปวดสุดๆ แถมยังปวดร้าวไปทั่วบริเวณอีกต่างหาก แต่พอไปกดตรงอื่นที่ไม่ใช่ก้อนแข็งๆนั่น ปรากฎว่า อาการปวดก็ไม่ได้เป็นมากมายอะไร จนนำมาซึ่งความสงสัยว่า แล้วไอเจ้าก้อนนั่นคืออะไรกันหนอ? แล้วทำไมมันถึงสร้างความเจ็บปวดได้ขนาดนี้?

หากเพื่อนๆมีคำถามนี้อยู่ในใจละก็ ผมขอตอบข้อแรกครับว่า เจ้าก้อนแข็งๆนั่นคือ ก้อน trigger point ครับ เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่มันตึงมากจนเกิดเป็นก้อนนูนขึ้นมา ไม่ใช่เส้นเอ็นหรือพังผืดอย่างที่หลายคนเข้าใจ ส่วนทำไมถึงเกิดก้อน trigger point ขึ้นมาได้ แล้วทำไมถึงกดโดนก้อนนี้แล้วจะเจ็บมากละก็ คำตอบทั้งหมดอยู่ในคลิปแล้วครับผม^^

รายละเอียดในคลิป
ก้อนแข็งๆคืออะไร (นาทีที่ 0:44 )
ก้อน trigger point คืออะไร (นาทีที่ 1:15 )
วิธีการคลายก้อน trigger point มีอะไรบ้าง (นาทีที่ 5:41 )



วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี บริหารข้อเข่า เพื่อแก้ปัญหาเข่าแอ่น (knee hyperextension)


คลิปก่อนหน้านี้ผมได้บอกวิธีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา เพื่อแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมไปแล้ว แต่อีกปัญหาหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะไปแพ้ข้อเข่าเสื่อม แถมเป็นได้ตั้งแต่อายุยังน้อยเลยนั่นก็คือ ภาวะข้อเข่าแอ่นนั่นเอง (knee hyperextension) ภาวะนี้ถ้าไม่สังเกตุจริงๆก็แทบจะมองไม่เห็นความแตกต่างเลยนะครับ และขณะเดียวกันคนที่มีภาวะเข่าแอ่นมักจะมีอาการปวดข้อเข่าได้ด้วย 

ถ้าใครที่มีอาการปวดข้อเข่าเวลายืนหรือเดินบ่อยๆ ทั้งๆที่ตัวเองก็ยังอายุไม่มากละก็ ลองสังเกตุดูนะครับว่าเรามีภาวะเข่าแอ่นหรือไม่นะ 

วิธีการสังเกตุว่าเป็นเข่าแอ่นก็คือ ให้เรายืนตรงในท่าปกติ จากนั้นให้คนในบ้านถ่ายรูปขาทางด้านข้างของเรานะครับ จากนั้นให้แบ่งเส้นตรงเป็น 2 เส้น โดยเส้นบนลากจากสะโพกลงมาถึงข้อเข่าทางด้านข้าง และเส้นล่างลากจากตาตุ่มเท้าถึงที่ข้อเข่าทางด้านข้างจนมาบรรจบกัน เหมือนในภาพปกนะครับ จากนั้น สังเกตุดูครับว่าเส้นนั้นมันแอ่นไปด้านหลังหรือไม่นะ ถ้าแอ่นไปด้านหลังเหมือนในภาพปก แสดงว่าเราเป็นเข่าแอ่นนั่นเองครับผม เมื่อรู้ว่าเป็นเข่าแอ่นแล้วก็อย่านิ่งนอนใจนะครับ เพราะเข่าแอ่นก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยนะ

ส่วนวิธีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังทั้ง 5 วิธีมีดังนี้เลย
วิธีที่ 1 : ยืนงอเข่า (นาทีที่ 5:24 )
วิธีที่ 2 : นอนควํ่า งอเข่า (นาทีที่ 7:27 )
วิธีที่ 3 : นอนควํ่า เข่าตึง (นาทีที่ 10:19 )
วิธีที่ 4 : นอนหงาย ยกก้น (นาทีที่ 11:45 )
วิธีที่ 5 : ตั้งคลาน งอเข่า (นาทีที่ 15:33 )


วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธีลดปวด ลดชา ที่ข้อมือและนิ้ว จากโรค carpal tunnel syndrome


สำหรับคนที่ทำงานหน้าคอมต้องพิมพ์งานทุกๆวัน หรือบรรดาแม่บ้านที่ต้องใช้งานมืออย่างหนักอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้า การถือของจ่ายตลาดอยู่ทุกๆวัน จนมีอาการปวดข้อมืออยู่เป็นประจำ บางครั้งก็ปวดมากจนชาไปที่ปลายนิ้วก็มี หากมีอาการดังกล่าวละก็ระวังให้ดีนะครับ บางทีเราอาจจะเป็นโรค carpal tunnel syndrome แล้วก็ได้นะครับ

เจ้าโรค carpal tunnel syndrome มันเกิดจากโพรงภายในข้อมือของเรามันเกิดการตีบแคบ ทำให้ช่องว่างภายในลดน้อยลง จนเกิดการกดทับกดเบียดเส้นประสาท median nerve เข้า หรือไม่ก็เกิดร่วมกับตัวพังผืดที่มีชื่อว่า transverse carpal ligament มันเกิดตึงตัวจนทำให้โพรงภายในข้อมือแคบลงแล้วไปกดทับเส้นประสาท จนเกิดอาการปวดที่ข้อมือได้ นอกจากอาการปวดแล้ว ผู้ป่วยก็มีอาการชาร่วมด้วยนะครับ โดยอาการชามักจะชาแค่ที่มือและนิ้วมือเท่านั้น ไม่ได้ชาทั้งท่อนแขนนะครับผม 

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมและการรักษาจะมีดังนี้เลย
วิธีที่ 1 : หักข้อ กางนิ้ว (นาทีที่ 4:27 )
วิธีที่ 2 : พนทมือ (นาทีที่ 7:26 )
วิธีที่ 3 : คลึงข้อ คลึงมือ (นาทีที่ 8:40 )
วิธีที่ 4 : ยืดเส้นประสาท (นาทีที่ 13:15 )
วิธีที่ 5 : แช่นํ้าอุ่น (นาทีที่ 16:10 )
สรุป  (นาทีที่ 17:56 )




วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] วิธีตรวจหลังคด แบบฉบับทำเอง ไม่ต้องพึ่ง X-ray


เคยมีคนไข้หลายคนมาปรึกษาเรื่องหัวไหล่ดูสูงตํ่าไม่เท่ากัน แล้วถามวิธีการบริหารข้อไหล่ให้ไหล่มันสูงเท่ากันเหมือนปกติ ผมจึงแนะไปว่าลองไปตรวจหลังคดดูก่อน บางทีปัญหาอาจจะอยู่ที่หลังก็ได้ เพราะถ้าหลังคดไปข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้มองผิวเผินดูแล้วว่าเรามีปัญหาที่หัวไหล่ จนบางรายเข้าใจผิดไปรักษาหัวไหล่ต่างๆนาๆเสียเงินตั้งมากมาย แต่ต้นเหตุอยู่ที่หลังเรานี่เอง

กระดูกสันหลังคดนั้น หลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หลังคดแบบถาวร กับ หลังคดแบบไม่ถาวรนะครับ ผู้คนที่เห็นว่าเป็นหลังคดกันนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นหลังคดแบบไม่ถาวรกันแทบทั้งนั้นเลย 

ส่วนวิธีการตรวจว่าเป็นหลังคดหรือไม่ แล้วเป็นหลังคดประเภทไหนมีรายละเอียดดังนี้เลย

รายละเอียด หลังคดถาวร (นาทีที่ 0:26 )
รายละเอียด หลังคดไม่ถาวร (นาทีที่ 3:56 )
อาการ (นาทีที่ 5:59)
วิธีที่ 1 : ตรวจไหล่ (นาทีที่ 6:57)
วิธีที่ 2 : ตรวจใต้สะบัก  (นาทีที่ 10:09)
วิธีที่ 3 : ตรวจ 2 หลุม เหนือตูด  (นาทีที่ 14:13)
วิธีที่ 4 : ตรวจแนวกระดูกสันหลัง  (นาทีที่ 18:10)
วิธีที่ 5 : ก้มหลัง มือแตะพื้น  (นาทีที่ 20:50)
วิธีที่ 6 : ตรวจ X-ray  (นาทีที่ 23:23)
สรุป  (นาทีที่ 24:03)


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธีดัดไหล่ เพื่อรักษาโรคข้อไหล่ติด (Part 2)


ใน Part ที่ 2 นี้ผมจะเน้นถึงวิธีการดัดข้อไหล่ สำหรับคนที่เป็นโรคไหล่ติดกัน โดยจะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อไหล่ลดลงในระดับนึงแล้ว และต้องการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของแขน และต้องการลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่ รวมทั้งสะบักด้วยนะครับ

วิธีการดัดไหล่ทั้ง 5 วิธีจะมีอะไรบ้างติดตามชมได้เลยครับผม
วิธีที่ 1 : ไต่กำแพง (นาทีที่ 0:27)
วิธีที่ 2 : จับร่ม ขัดหลัง (นาทีที่ 3:05)
วิธีที่ 3 : จับไหล่ บีบสะบัก (นาทีที่ 5:35)
วิธีที่ 4 : ลูกเกลี้ยง คลึงสะบัก (นาทีที่ 10:14)
วิธีที่ 5 : รูดประตู เสียวหัวไหล่ (นาทีที่ 13:53)




วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี บริหารข้อไหล่ เพื่อแก้ปัญหาข้อไหล่ติด (Part 1)


โรคข้อไหล่ติด ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครบางคนเลยทีเดียว เพราะมันทำให้คุณภาพชีวิตของเราแย่ลง จากเดิมที่ยกแขนได้ก็ทำไม่ได้ เคยใช้ขันตักนํ้าราดตัวเวลาอาบนํ้าก็ทำไม่ได้ หรือคุณผู้หญิงที่เคยเอามือไขว้หลังเวลาติดตะขอเสื้อในก็ทำไม่ได้เพราะไหล่ติดนั่นเอง ไปรักษามาหลายที่อาการปวดไหล่ ไหล่ติดต่างๆก็ไม่ได้ลดลงเลย 

ถ้าเพื่อนๆกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ละก็ ลองทำตามคลิปนี้ดูนะครับ เพราะในคลิปนี้ผมจะบอกวิธีการบริหารข้อไหล่แบบฉบับทำเอง แถมอธิบายาชสาเหตุ และอาการของคนที่เป็นโรคนี้ให้ฟังกัน 

รายละเอียดในคลิปดังนี้เลยครับ

อธิบายสาเหตุ (นาทีที่ 0:30 )
อธิบายอาการ (นาทีที่ 2:38 )
การรักษา (นาทีที่ 4:31 )
วิธีที่ 1 : แกว่งแขน  (นาทีที่ 5:13 )
วิธีที่ 2 : ทิ้งดิ่ง  (นาทีที่ 7:40 )
วิธีที่ 3 : หมุนหัวไหล่  (นาทีที่ 10:10 )
วิธีที่ 4 : พันแขน ดึงสะบัก  (นาทีที่ 13:53 )
วิธีที่ 5 : ผีเสื้อกระพือปีก  (นาทีที่ 16:52 )





วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] รวมวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคออฟฟิศ ซินโดรมซํ้าสอง


และแล้วก็มาถึง Part ที่ 3 กันแล้วนะครับ ซึ่งถือว่าเป็น Part สุดท้ายแล้วนะครับที่เกี่ยวกับโรคออฟฟิศ ซินโดรม ซึ่งใน Part นี้ผมจะบอกถึงวิธีการป้องกัน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อจนกลายเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรมซํ้า 2 กับเราได้ 

หากเราเอาแต่รักษาเพียงอย่างเดียวเหมือนใน Part ที่1 และ 2 แต่เราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานใดๆเลย สุดท้ายเราก็จะกลับมาเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรมซํ้าได้ไม่ช้าก็เร็วนะครับ การรักษาโรคจะสมบูรณ์ ถ้าเรารู้จักวิธีการรักษา และการป้องกันควบคู่กันไปนะครับ

วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการป้องกันโรคออฟฟิศ ซินโดรม

วิธีที่ 1 : ตั้งเวลา 50 นาที (นาทีที่ 1:30 )
วิธีที่ 2 : รองข้อมือ (นาทีที่ 5:00 )
วิธีที่ 3 : กระจก ตั้งหน้าโต๊ะ (นาทีที่ 8:08 )
วิธีที่ 4 : อย่าไหล (นาทีที่ 10:40 )
วิธีที่ 5 : อย่าไขว่ห้าง (นาทีที่ 13:07 )
วิธีที่ 6 : อย่าจ้องจอนาน (นาทีที่ 16:45 )


วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] รวมวิธีลดปวดไหล่ สะบัก จากโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Part 2)


มาถึง Part ที่ 2 กันแล้วนะครับ กับวิธีการลดปวด และการบริหารกล้ามเนื้อให้หายปวดจากโรคออฟฟิศ ซินโดรม ซึ่งใน Part นี้จะบอกถึงวิธีการลดปวดที่ตำแหน่งข้อไหล่ และบริเวณสะบักครับ

แล้วหากใครมีภาวะไหล่ห่อจากการที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะเป็นเวลานาน หรือบรรดานักเรียน นักศึกษาทั้งหลายที่มีอาการปวดสะบักบ่อยจากการนั่งเรียนละก็ติดตามคลิปนี้ให้ดี แล้วลองทำตามกันด้วยนะครับ

วิธีการลดปวดไหล่ และสะบักมีดังนี้เลย

3) รักษาไหล่ (นาทีที่ 0:20 )
วิธีที่ 1 : กางแขน กระดกข้อมือ (นาทีที่ 0:32 )
วิธีที่ 2 : กางแขน กดข้อมือ (นาทีที่ 2:40 )
วิธีที่ 3 : พาดหัว แอ่นอก (นาทีที่ 4:30 )
วิธีที่ 4 : จับไหล่ ดันศอก (นาทีที่ 6:11 )
วิธีที่ 5 : ถือของ กางแขน (นาทีที่ 8:08 )

4) ส่วนสะบัก (นาทีที่ 10:23 )
วิธีที่ 1 : ผีเสื้อกระพือปีก (นาทีที่ 10:52 )
วิธีที่ 2 : ไขว้แขน ก้มหัว (นาทีที่ 13:27 )
วิธีที่ 3 : กอดอก ขยายปอด (นาทีที่ 15:05 )
วิธีที่ 4 : ลูกเกลี้ยง คลึงสะบัก (นาทีที่ 17:59 )
วิธีที่ 5 : กางแขน ยืดหนังยาง (นาทีที่ 21:10 )


ดูจบแล้วช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะครับ^^


วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปแล้ว น้องในข่าวเค้าเป็นอะไร??


สรุปน้องในข่าวเค้าเป็นโรคอะไร??

เมื่อไม่กี่วันก่อนนั่งดูข่าวในทีวีที่เรื่องครูปาแก้วโดนหน้านักเรียนแล้วทำให้เด็กหน้าเบี้ยว ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วบ้านทั่วเมืองในตอนนี้ แล้วคนในบ้านก็ถามโพล่งออกมาว่า "สรุปแล้วน้องเค้าเป็นอะไรกันแน่เนี่ย ทำไมถึงหน้าเบี้ยวขนาดนี้?" พอออกไปข้างนอกเจอคนรู้จักเค้าก็ชวนเรื่องที่เป็นข่าวอีกว่า "ในข่าวที่เรื่องครูปาแก้วเนี่ย รู้หรือเปล่าว่าน้องเค้าเป็นอะไร?" กลับมาบ้านผมก็มานั่งดูลักาณะอาการของน้องเค้า แล้วคิดว่าน่าจะอธิบายเรื่องนี้ให้เป็นความรู้โดยทั่วกันดีกว่า

ลักษณะของน้องที่มีหน้าเบี้ยวนั้น คาดว่าน่าจะ(ใช้คำว่าน่าจะนะครับ)เป็นโรค Bell's palsy ครับ

โรค Bell's palsy คืออะไร?

มันโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก จากเส้นประสาทคู่ที่ 7 ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าของเรานั้น ถูกรบกวนจนหยุดส่งสัญญาณประสาทมา ซึ่งโดยปกติแล้วโรคนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัดนะครับ พูดง่ายๆก็คือ จู่ๆจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วพบได้มากเป็นพิเศษในคนที่พึ่งคลอดลูก หรือคนที่พึ่งหายจากอาการป่วยไข้ครับ

อาการของคนเป็นโรค Bell's palsy

เมื่อเส้นประสาทหยุดการส่งสัญญาณประสาทไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ป่วยจะมีใบหน้าบิดเบี้ยว ไม่สามารถหลับตาได้สนิท ยิ้มไม่ได้ ไม่สามารถอมลมได้ เคี้ยวข้าวหรือดูดนํ้าได้ลำบาก ตาแห้ง ไม่สามารถยักคิ้วข้างที่มีปัญหาได้ครับ
ถ้าถามว่าโรคนี้อันตรายถึงชีวิตมั้ย?
คำตอบคือ ไม่อันตรายถึงชีวิตครับ แต่ปัญหาหนักอกหนักใจมากที่สุดคือ ผู้ป่วยจะสูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคมอย่างมากครับผม

วิธีการรักษาโรค Bell's palsy?

การรักษาในมุมมองของกายภาพนะครับ คือการกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าครับ คนส่วนใหญ่มักจะคิดกันว่า กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อให้เส้นประสาทกลับมาทำงานได้ดีขึ้น จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ เรากระตุ้นกล้ามเนื้อครับผม และใช้นิ้วกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า หรือที่เรียกกันว่า tapping เพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่ทำ โดยสรุปแล้วก็เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อครับ ส่วนเส้นประสาทต้องรอให้มันฟื้นตัวของมันเองครับ บางราย 3 เดือนก็ฟื้น บางราย 6 เดือน บางรายเป็นปีก็มีครับ

แล้วถ้าไม่กระตุ้นไฟ ไม่รักษาอะไรเลยรอให้เส้นประสาทมันฟื้นเองได้มั้ย
ได้ครับ แต่ใบหน้าเราจะบิดเบี้ยวถาวรครับผม การรักษาก็เพื่อให้มันเบี้ยวน้อยที่สุด หรือบางรายหายกลับมาเป็นปกติเลยก็มี

สรุปแล้วน้องเค้าเป็นอะไรล่ะ?

ดูจากอาการของน้องคือจะคล้ายกับโรค Bell's palsy แต่จะเกิดอะไรนั้นก็ยากจะอธิบายจริงนะ อาจจะเกิดจากแก้วไปกระทบเส้นประสาทคู่ที่ 7 แล้วเกิดการหยุดสั่งการก็ได้ หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อที่โดนแก้วกระทบมันบวมจนไปกดเบียดเส้นประสาทคู่ที่ 7 จนหยุดส่งสัญญาณประสาทก็ได้ หรือจู่ๆก็อาจเกิดขึ้นเองก็ได้อีก หลายปัจจัยมากจริงๆครับ แต่ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร ก็ค่อยๆดูแลรักษากันไปครับผม 

เครดิตรูปภาพ
- http://hilight.kapook.com/view/142123