เมนูหน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

[คลิป VDO 63] ไขความลับ สาเหตุเสียงดังก๊อกแก๊กในข้อไหล่


ไขความลับ สาเหตุเสียงดังก๊อกแก๊กในข้อไหล่

เคยมีคนไข้หลายคนถามมามากว่า เวลายกแขน ขยับแขนมักมีเสียงดังก๊อกแก๊กในข้อไหล่ บางครั้งเจ็บแปล็บข้างในร้าวลงแขนจนแขนล้าไปเลย บางครั้งก็ไม่เจ็บ คำถามที่ถามกันมากคือ เสียงดังในข้อไหล่มันเกิดจากอะไรกันล่ะ แล้วจะมีวิธีปัญหายังไงได้บ้าง

ถ้าเพื่อนมีคำถามนี้อยู่ในใจ หรือกำลังประสบปัญหานี้ด้วยตัวเองอยู๋ล่ะก็ ในคลิปนี้ผมจะมาไขความกระจ่างให้ครับ 

รายละเอียดในคลิป
สาเหตุที่ 1 (นาทีที่ 0:38)
สาเหตุที่ 2 (นาทีที่ 2:40)
สาเหตุที่ 3 (นาทีที่ 3:43)


ส่วนวิธีการรักษาต้องรอดูในคลิปที่ 64 และ 65 นะครับผม (ซึ่งกำลังถ่ายทำอยู่ครับ)


วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

[คลิป VDO 62] 7 ท่า บริหารข้อเข่าในนักกีฬา ระดับยาก



ถ้าเพื่อนๆคนไหนเห็นว่าท่าออกกำลังกายบริหารข้อเข่าในคลิปที่ 29 ซึ่งเป็นท่าบริหารข้อเข่าในคนข้อเข่าเสื่อมมันง่ายเกินไปสำหรับคนวัยหนุ่มสาว หรือคนที่เคยเป็นเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาดมาก่อน แล้วอยากฟื้นฟูข้อเข่าให้แข็งแรงมากๆจนกลับมาเล่นกีฬาได้อีกครั้งล่ะก็ ให้ออกกำลังกายตามคลิปนี้เลยครับ รับรองข้อเข่า และกล้ามเนื้อขาจะฟิตเปรี๊ยะเลยทีเดียว แต่กว่าจะฟิตได้ขนาดนั้น ต้องใช้ระยะการฝึกเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ล่ะ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 เดือนเลยนะครับถึงจะเห็นผล

และก่อนจะออกกำลังกายทุกครั้งก็อย่าลืมวอร์มร่างกาย และยืดกล้ามเนื้อขาให้ครบถ้วนก่อนนะ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเป็นตะคริวได้ หากใครยังไม่รู้วิธีการยืดกล้ามเนื้อขา สามารถคลิ๊กชมได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ https://youtu.be/IaPhCX09WJo

รายละเอียดในคลิป

ท่าที่ 1 : นอนหงายยกก้น ขาเดียว (นาทีที่ 2:00)
ท่าที่ 2 : ย่อเข่าแตะพื้น  (นาทีที่ 3:34)
ท่าที่ 3 : ย่อเข่า บนหมอน  (นาทีที่ 4:55)
ท่าที่ 4 : ย่อเข่า กวาดขา  (นาทีที่ 7:13)
ท่าที่ 5 : โดดสลับขา บนเก้าอี้  (นาทีที่ 9:37)
ท่าที่ 6 : โดดสลับขา ไปด้านข้าง  (นาทีที่ 11:06)
ท่าที่ 7 : ตีตาราง โดดขาคู่  (นาทีที่ 12:30)



วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิ่งบนพื้นทรายช่วยป้องกันข้อเข่ากระแทก...ได้จริงหรือ


สำหรับคนที่ชอบออกกำลังกายโดยการวิ่งเป็นประจำ ถ้าคนในเมืองก็จะบอกว่า วิ่งบนพื้นถนนบนพื้นเรียบสิดี ไม่เหนื่อยมาก แต่คนที่อยู่ติดชายทะเลก็บอกว่า วิ่งบนพื้นทรายสิดีกว่า เพราะพื้นทรายมันยวบไม่ทำอันตรายต่อข้อเข่าของเรา ซึ่งฟังดูแล้วก็มีเหตุผลทั้งคู่เลยนะ สรุปแล้วแบบไหนดีกว่ากันล่ะ?

สำหรับเรื่องนี้ถ้าให้ตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยก็จะได้คำตอบว่า ดีทั้ง 2 อย่างนั่นแหละครับ โดยเราจะเลือกวิ่งแบบบนพื้นถนน หรือพื้นทรายก็ไม่มีถูกหรือผิดใดๆทั้งสิ้น มันขึ้นอยู่กับความชอบและความเหมาะสมกับตัวเรามากกว่า และเพื่อไม่ให้งงกันไปมากกว่านี้ ผมขอแจกแจงเป็นข้อๆดังนี้เลยนะครับ

วิ่งบนพื้นทราย

- มีข้อดีหลักๆคือ ช่วยลดแรงกระแทกจากพื้นขณะที่เท้าสำหรับพื้น เนื่องจากพื้นทรายจะเป็นตัวดูดซับแรงเอาไว้ (พูดง่ายๆคือพื้นมันยวบ) ข้อต่อของร่างกายจะไม่ต้องรับแรงกระแทกมาก โดยเฉพาะข้อเท้า และข้อเข่า 
- อย่างนี้แสดงว่า คนเป็นเข่าเสื่อมควรไปวิ่งบนพื้นทรายดีกว่าใช่มั้ย? ถึงแม้ผมจะบอกว่าพื้นทรายมันช่วยดูดซับแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดแรงกระแทกต่อข้อเข่าในขณะวิ่งเลยนะครับ หากผู้ป่วยที่เป็นเข่าเสื่อมแล้วมีกำลังกล้ามเนื้อขาไม่แข็งแรงเพียงพอ การวิ่งบนพื้นทราย หรือพื้นปูนก็ทำอันตรายต่อข้อเข่าได้ไม่ต่างกันครับผม
- แม้ว่าพื้นทรายจะช่วยดูดซับแรงขณะที่เท้าสัมผัสพื้น ทำให้ข้อต่อไม่ต้องรับแรงกระแทกมาก แต่ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อขาของเราก็ต้องออกแรงมากขึ้นสำหรับการวิ่งบนพื้นทราย และหากใครที่วิ่งบนพื้นทรายเป็นครั้งแรก (โดยเฉพาะชายหาดที่พื้นนุ่มมากๆ) เราจะรู้สึกล้าเร็วกว่าปกติ แล้วจะรู้สึกว่าข้อเท้ามันจะเมื่อยมากกว่าส่วนอื่น เนื่องจากพื้นที่ที่นุ่ม หรือไม่มั่นคง กล้ามเนื้อช่วงข้อเท้าต้องออกแรงมากขึ้นเพื่อให้ข้อเท้ามีความมั่นคง ไม่พลิกแพลงเมื่ออยู๋บนพื้นที่ไม่เรียบนั่นเอง และเมื่อยิ่งวิ่งเร็วมากขึ้นเท่าไหร่กล้ามเนื้อก็ยิ่งออกแรงมากกว่าการวิ่งบนพื้นถนนมากขึ้นเท่านั้น ถ้าเราได้ลองวิ่งบนทรายเร็วๆจะรู้ได้ด้วยตัวเองเลยว่า การวิ่งบนพื้นทรายนี่มันหนืด และดูดแรงเรามากจริงๆ 
- ฉะนั้น หากใครที่ไม่เคยออกกำลังกายโดยการวิ่งมาก่อน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แล้วคิดว่าการวิ่งบนทรายจะไม่ทำอันตรายต่อข้อเข่าเรามากนัก มันเป็นความคิดที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะถึงแม้ข้อต่อจะรับแรงกระแทกน้อย แต่กล้ามเนื้อเราก็ก็ต้องออกแรงมากกว่าเดิม แล้วเหนื่อยง่ายมากกว่าด้วย

วิ่งบนพื้นถนน 

- มีข้อดีคือ กล้ามเนื้อไม่ล้าง่ายเหมือนการวิ่งบนพื้นทราย
- แต่ถ้ากล้ามเนื้อขาของเราไม่แข็งแรง แรงกระแทกขณะที่เท้าสัมผัสพื้นจะส่งผลกระทบต้อข้อเท้า และข้อเข่าได้มาก จนอาจทำให้เราเกิดอาการปวดข้อเข่า หรือทำให้ข้อเข่าเราเสื่อมได้เร็วขึ้น
- กล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้าไม่ต้องออกแรงเพื่อการทรงตัวมากขณะวิ่งบนพื้นถนน เนื่องจากพื้นถนนหรือลู่วิ่งนั้น มีความมั่นคงกว่าพื้นทราย (พื้นไม่ยวบ)
- ถึงแม้การวิ่งบนพื้นถนนจะเกิดแรงกระแทกต่อข้อเท้า และข้อเข่ามากกว่าบนพื้นทราย แต่ถ้าเราเลือกใส่รองเท้าที่สามารถรับแรงกระแทก กระจายแรงได้ดีขณะที่เท้าลงนํ้าหนัก และฝึกการลงเท้าที่ถูกต้องก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ระดับนึง

สรุป แบบไหนดีกว่าล่ะเนี่ย?

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า เพื่อนๆหลายคนเริ่มเข้าใจคุณสมบัติของการวิ่งบนพื้นที่ต่างกันทั้ง 2 ประเภทกันไม่มากก็น้อยแล้วนะครับ แต่เพื่อความเข้าใจมากขึ้น ผมขอสรุปเป็นแบบนี้เลยล่ะกัน

- จะวิ่งบนพื้นทราย หรือพื้นปูน ถ้ากล้ามเนื้อขาเราไม่แข็งแรง ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อได้ไม่แตกต่างกัน (เสี่ยงทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้)
- คนเป็นข้อเข่าเสื่อม ไม่ว่าเราจะวิ่งบนพื้นปูนหรือพื้นทราย ผมก็ไม่แนะนำให้วิ่งด้วยประการทั้งปวง เพราะแรงกระแทกที่เกิดขึ้นขณะวิ่งมันทำให้เกิดอันตรายต่อข้อเข่า และทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้นได้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าการวิ่งบนพื้นทรายทำให้เกิดแรงกระแทกต่อข้อเข่าน้อยกว่าก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดแรงกระแทกเลยนะครับ แต่หากเราอยากวิ่งจริงๆ แนะนำว่า อย่าพึ่งวิ่งทันที ให้เริ่มจากการปั่นจักรยาน การเดินเร็ว การออกกำลังกาย weight training ของขาให้แข็งแรงซะก่อนนะครับ
- หากกล้ามเนื้อเราแข็งแรงดี แล้วอยากให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรงมากขึ้น ออกแรงมากขึ้น โดยที่ใช้เวลาน้อยลง การวิ่งบนพื้นทรายถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะการวิ่งบนพื้นทรายจะทำให้กล้ามเนื้อเราต้องออกแรงมากขึ้นนั่นเอง
- ถ้าใครที่เคยมีปัญหาข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงมาก่อน หรือรู้สึกว่าข้อเท้าไม่มั่นคง ล้มง่าย การวิ่งบนพื้นทรายก็เป็นอีก 1 ทางเลือกที่ดี เพราะจะช่วยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเท้าของเราแข็งแรงมากขึ้น
- สำหรับคนที่ไม่เคยวิ่งมาก่อน หรือผู้สูงอายุ หากต้องการจะวิ่งออกกำลังกายจริงๆ ไม่แนะนำให้ไปวิ่งทันที เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ แต่ให้เริ่มจากการเดินเร็วทุกวันติดต่อกัน 3 สัปดาห์ก่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ปรับสภาพ และเราจะเดินเร็วบนพื้นปูน หรือพื้นทรายก็ได้นะ


เครดิตภาพ
- https://kr.pinterest.com/anamiria/how-much-cardio-should-you-do-to-lose-weight/

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

[คลิป VDO 61] รวมเทคนิค ยืดกล้ามเนื้อขาทั้งหมด


จริงๆแล้ววิธีการยืดกล้ามเนื้อขาทุกท่าในคลิปนี้ ผมได้ทำออกมาหมดแล้ว เพียงแต่วิธียืดแต่ล่ะส่วนมันกระจายออกไปอยู่ตามคลิปต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรค จึงดูเป็นเรื่องยุ่งยากเล็กน้อยสำหรับคนไข้ที่ต้องการมาดูวิธีการยืดกล้ามเนื้อซํ้า 

ผมจึงรวบรวมวิธีการยืดกล้ามเนื้อขาทั้งหมดเอามาไว้ในคลิปนี้เพียงคลิปเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาดูซํ้าคับผม

รายละเอียดในคลิป

ท่าที่ 1 : ยืด iliopsoas (นาทีที่ 1:25)
ท่าที่ 2 : ยืด gluteus maximus (นาทีที่ 3:45)
ท่าที่ 3 : ยืด quadricep  (นาทีที่ 6:00)
ท่าที่ 4 : ยืด hamstring (นาทีที่ 8:42)
ท่าที่ 5 : ยืด adductor group (นาทีที่ 11:22)
ท่าที่ 6 : ยืด gluteus medius (นาทีที่ 13:02)
ท่าที่ 7 : ยืด gastrocnemius (นาทีที่ 16:22)
ท่าที่ 8 : ยืด tibialis anterior (นาทีที่ 18:25)

วิธียืดกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง
- ยืดแค่ตึง ห้ามเจ็บ  (นาทีที่ 21:14)
- ไม่โยกตัวขณะยืด  (นาทีที่ 21:48)
- ไม่ยืดเกิน 30 วินาที  (นาทีที่ 23:30)

สำหรับในหัวข้อที่ 3 "ไม่ยืดกล้ามเนื้อเกิน 30 วินาที" นั้น บางคนยืดกล้ามเนื้อจนตัวอ่อนมานาน ชนิดที่เรียกว่าสามารถบิดตัวจนเหมือนนักกายกรรมไปแล้วแบบนี้จะทำยังไงดีล่ะ สามารถแก้ไขอะไรได้มั้ย? คำตอบคือได้คับ วิธีการมีอยู่อย่างเดียวคับ นั่นคือ พยายามออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้ออย่างสมํ่าเสมอ โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะคือ แบบ weight training คับผม 

แต่ถ้าถามว่า เราออกกำลังกายแบบนี้ไปเรื่อยๆแล้วจะทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้มั้ย ทำให้ความตัวอ่อนของเราลดลงมั้ย คำตอบคือ ลดลงเพียงเล็กน้อย คนที่ตัวอ่อนยังไงก็อ่อนอยู่อย่างงั้นแหละคับ เนื่องจากโครงสร้างกล้ามเนื้อมันเกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้วคับผม