เมนูหน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

โรคเข่าแม่บ้าน ไม่ต้องเป็นแม่บ้านก็ปวดเข่าได้




โรคเข่าแม่บ้าน (housemaid's knee, prepatellar bursitis)

อาจเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากันสักเท่าไหร่สำหรับโรคเข่าแม่บ้าน คนไข้บางคนก็สงสัยว่าต้องเป็นแม่บ้านเท่านั้นหรอถึงจะเป็นโรคนี้ จริงๆแล้วชื่อนี้มันมีที่มาครับ 

ในอดีตเหล่าบรรดาแม่บ้านจะเช็ดถูทำความสะอาดพื้นต้องใช้ผ้าชุบนํ้าแล้วคุกเข่าเอามือถูพื้นกัน ยังไม่มีไม้ม็อบเหมือนในปัจจุบันนี้หรอกนะครับ เมื่อเหล่าแม่บ้านคุกเข่าเช็ดถูพื้นเป็นประจำถูครั้งนึงก็กินเวลานาน จนทำให้ถุงนํ้าใต้เข่าเกิดการเสียดสีจนอักเสบและบวมในที่สุด จึงเป็นที่มาของชื่อโรคเข่าแม่บ้านนั่นเองครับ


ภาพแสดงตำแหน่งของถุงนํ้าบริเวณข้อเข่า

โครงสร้างภายในข้อเข่าของเรานั้นไม่ได้มีแค่กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อนะครับ แต่ยังมีถุงนํ้าเล็กๆ (bursa) ที่อยู่ในข้อต่อ โดยถุงนํ้าเหล่านี้จะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทาน ลดแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อ เช่น ในกรณีที่เข่าเรากระแทกลงกับพื้นเจ้าถุงนํ้าอันนี้แหละครับจะทำหน้าที่กระจายแรงและลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกสะบ้าและข้อเข่าได้ เปรียบเสมือนมีลูกโป่งนํ้าที่คอยดูดซับแรงอยู่นั่นเอง

แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าหากถุงนํ้าเกิดการเสียดสี หรือถูกกดทับมากๆก็เกิดการอักเสบได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนี้เราอาจรจะไม่ได้ขุกเข่าถูพื้นเป็นเวลานานๆเหมือนแม่บ้านในสมัยก่อน แต่โรคเข่าแม่บ้านนี้ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่นะครับ โดยมากมักเกิดจาก การล้มเข่ากระแทกพื้นอย่างแรง(พบได้บ่อย) คุกเข่าเป็นเวลานาน เกิดอุบัติเหตุกระแทกกับเข่าโดยตรง เป้นต้น


อาการบวมของถุงนํ้าใต้เข่า

 อาการของโรคเข่าแม่บ้าน

อาการแรกที่เราสังเหตุได้ชัดเจนคือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่หน้าข้อเข่าอย่างชัดเจน ในระยะเริ่มแรกอาจยังไม่มีอาการบวมมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะยิ่งบวมมากและปวดมากขึ้นได้ ส่วนในระยะเรื้อรังอาการปวดอาจจะไม่มากเท่าระยะแรก แต่อาการบวมจะยังคงอยู่ทำให้เข่าดูผิดรูปและดูไม่สวยงาม

การรักษา

ในระยะเริ่มแรกให้ประคบนํ้าแข็งตรงจุดที่ปวดบวมเพื่อลดการอักเสบ ทุกๆ 10 นาที(ห้ามประคบอุ่นหรือวางผ้าร้อนเด็ดขาดเพราะความร้อนจะทำให้ถุงนํ้าบวมมากขึ้นและอาการปวดจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้) แต่ถ้าอาการไม่ทุเลาลงแนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับยาลดการอักเสบ และพบนักกายภาพบำบัดเพื่อใช้เครื่องมือลดอาการปวด อาการอักเสบ เช่น เครื่อง ultrasound, laser, การพันเทปเพื่อลดบวม เป็นต้น

เครดิตภาพ
- http://www.interactivebiomechanics.com/?page_id=397
- http://www.medguidance.com/thread/Housemaid's-Knee.html
- http://www.physio-pedia.com/Prepatellar_bursitis


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น