เมนูหน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิ่งมากๆวิ่งบ่อยๆจะทำให้ขาใหญ่รึเปล่า เรามีคำตอบครับ


วิ่งทุกวันจะขาใหญ่มั้ย?

สำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ หรือคนที่ต้องการออกกำลังกายโดยการวิ่งโดยเฉพาะสาวๆคงกำวลใจกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อยเลยใช่มั้ยเอ่ย พอเปิดข่าวกีฬาเห็นนักวิ่งแต่ละคนขาใหญ่กล้ามโตกันแทบทั้งนั้น แล้วถ้าฉันไปวิ่งแบบนั้น ฉันไม่กล้ามปูดจนดูน่าเกลียดไปเลยหรอ? 

นี่เป็นเรื่องกังวลใจเรื่องหนึ่งของเพื่อนๆผมที่กลัวการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการวิ่งว่าจะทำให้ขาใหญ่ กล้ามใหญ่จนในที่สุดก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะออกำลังกายไป (แต่ไม่หยุดกินสักที* *) ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับกีฬาวิ่งกันก่อนนะครับ 

โดยหลักๆแล้วจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1) วิ่งระยะสั้น 100 เมตร 200 เมตร และ 2) การวิ่งมาราธอน ถ้าสังเกตุให้ดีๆจะพบว่ารูปร่างของนักกีฬาทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างกันราวฟ้ากับเหวเลย อย่างนักวิ่งระยะสั้นจะตัวใหญ่ หุ่นหนา กล้ามเป็นมัดๆ (ดูอย่างนักกีฬาวิ่งระยะสั้นที่เร็วที่สุดในโลกอย่าง ยูเซน โบล) แต่นักกีฬาวิ่งมาราธอนที่วิ่งเป็นสิบๆกิโลเมตรกลับตัวเล็กนิดเดียว กล้ามก็ไม่ค่อยมี ขาเล็กเหมือนตะเกียบอีกต่างหาก แต่ทำไมถึงวิ่งได้ถึกจัง (ดูอย่างนักกีฬาวิ่งมาราธอนที่พลัดกันเป็นที่ 1 ของโลกส่วนใหญ่เป็นชาวเคนยา ตัวเล็กๆกันแทบทั้งนั้น) 

ทำไมถึงเป็นอย่างงั้นละ นี่คงเป็นคำถามที่เพื่อนๆสงสัยกันอยู่ใช่ม้าาา งั้นผมจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆศัพท์วิชาการน้อยๆดังนี้ครับ 

- นักวิ่งระยะสั้น :
จะวิ่งเร็วมากๆ เพราะกล้ามขามีมวลขนาดใหญ่ แต่เขาจะวิ่งเร็วต่อเนื่องได้ไม่นานครับ เนื่องจากเค้าเน้นการฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อชนิด Type II หรือ fast twitch muscle เป็นกล้ามเนื้อที่หดตัวเร็วที่สุด (the fastest muscle) สามารถหดตัวได้รวดเร็วกว่าและแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่หายใจแบบใช้ออกซิเจน (oxidative muscle) แต่หดตัวได้ไม่นาน กล้ามเนื้อทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน (anaerobic burst) เพราะใช้พลังงานที่เก็บสะสมไว้ในกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้เกิดความเมื่อยล้าและหมดแรงได้เร็วมาก หากฝืนวิ่งด้วยความเร็วสูงต่อไปความเร็วจะค่อยๆตกลงเรื่อยๆแม้จะพยายามฝืนวิ่งให้เร็วเท่าไหร่ก็ทำไม่ได้ เพราะพลังงานที่สะสมในกล้ามเนื้อหมดลงแล้วนั่นเอง

 ดังนั้น เพื่อที่ต้องการให้การวิ่งมีความเร็วสูงสุด ร่างกายจึงต้องมีการปรับตัวให้ขามีขนาดใหญ่ขึ้น มวลกล้ามเนื้อมากขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อมีแหล่งสะสมพลังงาน ATP ได้มากขึ้นนั่นเองครับ

- นักวิ่งมาราธอน :
จะวิ่งได้นาน เพราะมีกล้ามเนื้อที่เล็ก และวิ่งได้ช้ากว่า เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นชนิด Type I, slow twitch, หรือ "red" muscle ซึ่งมีหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก ทำให้กล้ามเนื้อมีสีแดง กล้ามเนื้อนี้สามารถขนส่งออกซิเจนได้มากและการเผาผลาญแบบใช้ออกซิเจน ข้อดีของกล้ามเนื้อชนิด Type l คือ เป็นการทำงานแบบใช้ออกซิเจน ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหารและพลังงานอยู่ตลอดเวลา ร่างกายจึงไม่มีความจำเป็นต้องขยายขนาดของมวลกล้ามเนื้อให้ใหญ่เพื่อเก็บสะสมพลังงานแต่อย่างใด 

ฉะนั้น หากเราต้องการออกกำลังกายให้หุ่นเพียว ตัวเล็กเราก็ควรเลือกการวิ่งแบบมาราธอนนั่นเองครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดเข่าที่จะตามมาสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ควรเริ่มจากการวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆก่อนและฝึกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยนะครับ 5 เทคบริหารเข่าให้วิ่งปร๋อ

เครดิตภาพ
- http://aaj.tv/2016/01/running-outdoor-is-much-healthier-than-treadmill/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น