เมนูหน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้อเท้าแพลง ลองได้เป็นแล้วจะเป็นซํ้าง่ายมาก




ข้อแพลง (ankle sprain)

พูดถึงข้อเท้าแพลงคงไม่ต้องสาธยายรายละเอียดเยอะมากหลายคนก็ทราบดีว่ามีนคือภาวะข้อเท้าพลิกจนทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อเท้านะครับ แต่รู้หรือไม่ว่าข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงนี่ไม่ได้มีเพียงแค่อย่างเดียวคือข้อเท้าพลิกเข้าด้านในนะครับ แต่ยังมีภาวะข้อเท้าพลิกออกด้านนอกด้วยเช่นกัน โดยมากมักเกิดจากอุบัติเหตุมากกว่าที่จะพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ในนักกีฬาฟุตบอลที่โดนคู่แข่งสไลต์บอลไปโดนข้อเท้าด้านในจนทำให้ข้อเท้าพลิกออกด้านนอกนั่นเอง 

เมื่อข้อเท้าพลิกจะสร้างความเสียหายและการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น anterior talofibular ligament ได้มากที่สุด รองลงมาคือ calcaneofibular ligament ซึ่งเส้นเอ็นทั้ง 2 นี้จะทำหน้าที่เสริมความมั่นคงให้ข้อเท้า ในกรณีที่เส้นเอ็นเหล่านี้บาดเจ็บหรือมีการฉีกขาดจะทำให้สูญเสียความมั่นคงของข้อเท้าไป ขณะเดินผู้ป่วยจะรู้สึกว่าข้อเท้าไม่มีความมั่นคง ไม่มีความมั่นใจเมื่อใส่ส้นสูง และข้อเท้าพลิกง่ายกว่าปกติ
ภาพแสดงข้อเท้าแพลงทั้ง 2 แบบ

เหตุที่คนเคยเป็นข้อเท้าแพลงแล้วเป็นซํ้าเนื่องจาก ในเส้นเอ็นรอบๆข้อเท้าของเรานั้นจะมีเส้นประสาทเล็กๆอยู่ภายใน เพือทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทให้ตัวเรารับรู้ว่า ขณะนี้ข้อเท้าเราเอียงอยู่มั้ย งออยู่รึเปล่า หรือข้อเท้าพลิกมากเกินไปจนเส้นเอ็นตึงมาก มันก็จะส่งสัญญาณประสาทเพื่อบอกตัวเราให้ปรับสมดุลข้อเท้าให้อยู่ในแนวปกติก่อนที่จะเกิดอันตรายกับข้อเท้าได้นั่นเอง  

แต่ที่นี้เมื่อเกิดข้อเท้าแพลงขึ้นเส้นเอ็นฉีกขาดและแน่นอนเส้นประสาทเล็กๆในเส้นเอ็นก็ได้รับความเสียหายไปด้วยเช่นกัน เมื่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกการเคลื่อนไหวของข้อเท้าเสียหาย การส่งสัญญาณประสาทก็จะทำได้ช้าลง จากปกติที่เท้าพลิกนิดหน่อยสัญญาณประสาทจะบอกให้เรารับรู้ทันที แต่เมื่อเส้นประสาทเสียหาย ข้อเท้าพลิกไปแล้วเรายังไม่รู้สึกว่าข้อเท้าพลิกเลยด้วยซํ้า นี่จึงเป็นสาเหตุหนึงที่คนเป็นข้อเท้าแพลงแม้หายดีแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซํ้าได้ง่ายกว่าคนปกตินั่นเองครับ


ภาพแสดงโครงสร้างของเส้นเอ็นทั้ง 3 เส้นที่อักเสบ เมื่อข้อเท้าแพลง

เราสามารถแบ่งความรุนแรงของข้อเท้าแพลงได้เป็น 3 ระดับ

ระดับที่ 1: เอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไป ทำให้เอ็นบาดเจ็บ แต่เส้นใยของเอ็นไม่ฉีกขาด อาจจะพบเพียงอาการบวมและกดเจ็บบริเวณเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถเดินลงน้ำหนักได้
ระดับที่ 2 : มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง ในกลุ่มนี้จะปวดและบวมค่อนข้างมากและอาจมีเลือดคั่ง จนอาจจะทำให้เดินลงน้ำหนักไม่ค่อยได้
ระดับที่ 3 : จะมีการฉีกขาดของเอ็นทั้งหมด ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง ในกลุ่มนี้จะมีอาการปวดบวมมากและมีเลือดคั่ง ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ ต้องเข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมเส้นเอ็น


การประคบนํ้าแข็งและการพันผ้าในผู้ที่ข้อเท้าแพลง

การรักษา ในเบิ้องต้นของผู้ที่เป็นข้อเท้าแพลง

เมื่อพบว่าเป็รข้อเท้าแพลงสิ่งแรกที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ นั่งพักแล้วยกขาสูงเหนือระดับหัวใจ เพื่อลดอาการอักเสบและการบวมของข้องเท้า ถ้าเราฝืนเดินต่ออาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและบวมเพิ่มขึ้นได้ 
จากนั้นให้นำนํ้าแข็งมาประคบข้อเท้าเพื่อลดอาการอักเสบ และนำผ้ามาพันยึดข้อเท้าไว้ไม่ให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวได้ เพราะอาจจะไปกระตุ้นให้เส้นเอ็นรอบข้อเท้าอักเสบเพิ่มขึ้นได้

แต่ในกรณีที่ปฐมพบาบาลเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นเลย แนะนำให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน ต้องเข้าเฝือกมั้ย หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่นะครับ ถ้าอาการไม่รุนแรงมากแพทย์จะส่งเข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพื่อลดปวด ลดอักเสบ โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น ultrasound, laser, cold pack และการพัน tapping ร่วมกับแนะนำท่าบริหารข้อเท้าให้มีความแข็งแรงและมั่นคง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะข้อเท้าแพลงซํ้าได้นั่นเองครับผม

ข้อห้ามสำหรับผู้ที่เป็นข้อเท้าแพลง

- ห้ามประคบร้อนบริเวณที่เป็นแผลโดยเด็ดขากหากยังมีภาวะปวด บวม แดง ร้อนของแผล เพราะความร้อนจะทำให้เลือดมาไหลเวียนบริเวณนั้นมากยิ่งขึ้นจนเกิดอาการบวมได้
- ห้ามนวดด้วยมือและนวดนํ้ามันที่มีฤทธิ์ร้อนในขณะที่ยังบาดเจ็บอยู่ เพราะการนวดนั้นอาจไปกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นเพิ่มขึ้นและหายช้ากว่าปกติได้

6 ท่าบริหารข้อเท้า สำหรับคนเป็นข้อเท้าแพลง

เครดิตภาพ
- http://kenoshaorthopedics.com/ankle-sprain/
- http://yoffielife.com/sweat-dictionary/ankle-sprains/
- http://www.drugs.com/cg/ankle-sprain.html




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น