วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 3 เทคนิค ยืดเส้นประสาทแขน แก้แขนตึง แขนชา


คนส่วนใหญ่จะรู้วิธีการยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดปวด ลดตึงต่างๆ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้วิธีการยืดเส้นประสาท หรือต่อให้รู้ ก็จะนึกสงสัยไปอีกว่า จะยืดเส้นประสาทไปทำไมกัน? ถ้าเพื่อนๆมีคำถามนี้อยู่ในใจละก็ ก็ต้องย้อนกลับมาดูร่างกายของเราเองครับว่า เราเคยมีอาการปวดแขน แขนตึง รู้สึกแขนล้าง่าย รู้สึกแขนชา รู้สึกแขนมันยิบๆเหมือนมีมดไต่อย่างไม่ทราบสาเหตุกันบ้างมั้ย ถ้ามี การยืดเส้นประสาทจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องพวกนี้ได้มากทีเดียวเลยครับ เพราะบางครั้งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากเส้นประสาทมันถูกกดทับอยู่บางส่วน หรือเส้นประสาทมันตึงมากเกินไป การยืดเส้นประสาทจึงช่วยให้อาการต่างๆกลับมาเป็นปกติได้นั่นเองครับผม

รายละเอียดของคลิป
วิธีที่ 1 : ยืดเส้นประสาท median nerve (นาทีที่ 3:24)
วิธีที่ 2 : ยืดเส้นประสาท ulna nerve (นาทีที่ 7:28)
วิธีที่ 3 : ยืดเส้นประสาท radial nerve (นาทีที่ 10:00)



วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี รักษากระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis)


สำหรับวิธีการรักษาของคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน คลิปนี้อาจจะยังไม่ตรงใจคนเป็นโรคนี้ 100% นัก เพราะในคลิปนี้ผมจะบอกวิธีการออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อหลัง-ลำตัวให้แข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้พยุงโครงสร้างกระดูกสันหลังไม่ให้มันเกิดการเคลื่อนมากขึ้นได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้กระดูกสันหลังที่เคลื่อนอยู่ให้กลับมาเข้าที่เหมือนเดิมครับ 

เพราะถ้าเราต้องการรักษาให้กระดูกสันหลังที่เคลื่อนอยู่ให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมนั้น ต้องใช้การผ่าตัดสถานเดียวครับผม แต่ใครที่เป็นโรคนี้อยู่ก็อย่าพึ่งเศร้าใจไปครับว่า จะต้องโดนผ่าตัดแน่ๆ เพราะถ้ากำลังกล้ามเนื้อหลัง-ลำตัวของเราแข็งแรงดี กล้ามเนื้อมันก็จะพยุงกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการเคลื่อนมากขึ้นได้ครับ พูดง่ายๆคือ สำหรับคนเป็นโรคนี้ การออกกำลังกายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเลยทีเดียว ถ้าใครไม่อยากผ่าตัด หมั่นออกกำลังกายตามคลิปนี้บ่อยๆนะครับ

รายละเอียดภายในคลิป
คำอธิบาย (นาทีที่ 0:18)
อาการ (นาทีที่ 2:20)
วิธีที่ 1 : เหยียดขา ก้มตัว (นาทีที่ 2:57)
วิธีที่ 2 : ชันเข่า หลังแนบพื้น (นาทีที่ 5:00)
วิธีที่ 3 : หนีบเข่า (นาทีที่ 8:45)
วิธีที่ 4 : plank (นาทีที่ 11:38)
วิธีที่ 5 : ว่ายนํ้าบก (นาทีที่ 13:14)
สรุป (นาทีที่ 14:57)

ดูจบแล้ว ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยน้าาา

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] วิธียืดต้นขา แก้ปวดหลัง ลดหลังแอ่น


เมื่อมีอาการปวดหลัง เราจะทำยังไง? เรื่องนี้หลายคนคงตอบว่า กินยาลดปวด ไปหาหมอ วางผ้าร้อน ยืดหลัง หรือไม่ก็พักผ่อน แต่ทราบหรือไม่ว่า การยืดกล้ามเนื้อต้นขาก็ช่วยให้ลดปวดได้นะเออ 

การที่เรายืดต้นขาแล้วทำให้อาการปวดหลังลดลงได้นั่นก็เพราะมีกล้ามเนื้อมัดนึงที่มีชื่อว่า psoas major ที่เกิดตึงตัวแล้วไปดึงรั้งกระดูกสันหลังระดับเอวทำให้หลังแอ่น แล้วเกิดอาการปวดหลังได้ในที่สุด การที่เรายืดต้นขาจะช่วยให้กล้ามเนื้อ psoas major เกิดการคลายตัว ลดการดึงรั้งกระดูกสันหลังจึงช่วยให้อาการปวดหลังลดลงได้นั่นเองครับ 

ฉะนั้น หากเพื่อนๆคนไหนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังอยู่ รักษามาหลายวิธีแล้วก็ไม่หายสักที บางทีอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อ psoas major มันตึงอยู่ก็ได้นะครับ ลองยืดกล้ามเนื้อมัดนี้ดู บางทีอาจจะช่วยให้อาการปวดหลังหายไปก็ได้นะครับผม

รายละเอียดภายในคลิป

อธิบายกล้ามเนื้อ psoas major (นาทีที่ 0:25)
สาเหตุ  (นาทีที่ 1:15)
ท่าที่ 1 : ชันเข่า โน้มตัว  (นาทีที่ 4:43)
ท่าที่ 2 : ยืนก้าวขา โน้มตัว  (นาทีที่ 7:39)
สรุป (นาทีที่ 11:15)




วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 ท่า บริหารกล้ามเนื้อหน้าแข้ง ป้องกันโรค shin splint (part 2)


สำหรับ Part ที่ 2 นี้ผมจะบอกถึงวิธีการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าแข้งกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ tibialis anterior, tibialis posterior และกลุ่มกล้ามเนื้อ peroneus ซึ่งการที่กล้ามเนื้อเหล่านี้มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า และหน้าแข้งจากโรค shin splint หลังจากที่เราไปวิ่งออกกำลังกายได้ดีทีเดียวครับ

ฉะนั้น หากใครที่ชอบวิ่งบ่อยๆ แล้วรู้สึกว่าตัวเองปวดหน้าแข้งเป็นประจำละก็ ลองทำตามท่าออกกำลังกายเหล่านี้นะครับ อ้อ!แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำทุกท่านะ เน้นท่าที่เราทำแล้วรู้สึกดีก็พอครับผม

วิธีการออกกำลังกายมีดังนี้เลย
วิธีที่ 1 : กระดกปลายเท้า รัวๆ (นาทีที่ 1:21)
วิธีที่ 2 : รัดยาง หมุนเท้าเข้า-ออก (นาทีที่ 3:08) 
วิธีที่ 3 : กระดกปลายเท้า ขึ้นๆลงๆ (นาทีที่ 7:51)
วิธีที่ 4 : เขย่งปลายเท้า (นาทีที่ 12:03)
วิธีที่ 5 : หมุนข้อเท้า (นาทีที่ 14:14)

ดูจบแล้ว ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยน้าาา


วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี ลดปวดข้อเท้าและหน้าแข้ง จากโรค shin splint (Part 1)



สำหรับใครที่ชอบออกกำลังกายโดยการวิ่ง หรือชอบเล่นกีฬาที่ต้องมีการวิ่งอยู่บ่อยๆ แล้วปรากฎว่ามีอาการปวดหน้าแข้งกันบ้าง หรือคนทั่วไปที่มีอาการปวดข้อเท้าอยู่บ่อยๆ ไปรักษา ไปนวดข้อเท้ามาสาระพัดที่ แต่อาการปวดก็ไม่ลดลงเลยละก็ บางทีเราอาจจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือที่เรียกกันว่า shin splint ก็ได้นะครับ

นอกจากจะมีอาการปวดที่กล้ามเนื้อแล้ว บางรายอาการปวดที่เกิดขึ้นก็อาจมาได้จากกระดูกหน้าแข้งเกิดการอักเสบ หรือเกิดกระดูกร้าวได้เช่นเดียวกันนะครับผม โดยเฉพาะคนที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ แล้วมีอาการปวดหน้าแข้งเรื้อรังมานานรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักทีละก็ ลองไปตรวจ x-ray กระดูกดูนะครับ ก่อนที่จะสายเกินแก้

รายละเอียดของโรคนี้ และการรักษามีดังนี้เลยครับผม

อธิบายโรค shin splint (นาทีที่ 0:39)
อธิบายสาเหตุ (นาทีที่ 1:52)
ลักษณะอาการของโรค (นาทีที่ 4:20)
การรักษา
วิธีที่ 1 : พักก่อน (นาทีที่ 5:55)
วิธีที่ 2 : ประคบนํ้าแข็ง (นาทีที่ 7:27)
วิธีที่ 3 : กดปลายเท้า (นาทีที่ 9:56)
วิธีที่ 4 : ชันเข่า กลิ้งหน้าแข้ง (นาทีที่ 13:29)
วิธีที่ 5 : คลึงหน้าแข้ง (นาทีที่ 20:43)




วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] ปุ่มก้อนแข็งๆใต้กล้ามเนื้อคืออะไร เรื่องนี้มีคำตอบ


ใครที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจนต้องไปหาหมอนวดบ้าง ไปหานักกายภาพบ้าง หรือไปฝังเข็มกับแพทย์จีนบ้าง แล้วแทบทุกครั้งผู้รักษาจะกดตรงก้อนแข็งๆเป็นไตจนสร้างความเจ็บปวดสุดๆ แถมยังปวดร้าวไปทั่วบริเวณอีกต่างหาก แต่พอไปกดตรงอื่นที่ไม่ใช่ก้อนแข็งๆนั่น ปรากฎว่า อาการปวดก็ไม่ได้เป็นมากมายอะไร จนนำมาซึ่งความสงสัยว่า แล้วไอเจ้าก้อนนั่นคืออะไรกันหนอ? แล้วทำไมมันถึงสร้างความเจ็บปวดได้ขนาดนี้?

หากเพื่อนๆมีคำถามนี้อยู่ในใจละก็ ผมขอตอบข้อแรกครับว่า เจ้าก้อนแข็งๆนั่นคือ ก้อน trigger point ครับ เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่มันตึงมากจนเกิดเป็นก้อนนูนขึ้นมา ไม่ใช่เส้นเอ็นหรือพังผืดอย่างที่หลายคนเข้าใจ ส่วนทำไมถึงเกิดก้อน trigger point ขึ้นมาได้ แล้วทำไมถึงกดโดนก้อนนี้แล้วจะเจ็บมากละก็ คำตอบทั้งหมดอยู่ในคลิปแล้วครับผม^^

รายละเอียดในคลิป
ก้อนแข็งๆคืออะไร (นาทีที่ 0:44 )
ก้อน trigger point คืออะไร (นาทีที่ 1:15 )
วิธีการคลายก้อน trigger point มีอะไรบ้าง (นาทีที่ 5:41 )



วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี บริหารข้อเข่า เพื่อแก้ปัญหาเข่าแอ่น (knee hyperextension)


คลิปก่อนหน้านี้ผมได้บอกวิธีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา เพื่อแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมไปแล้ว แต่อีกปัญหาหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเยอะไปแพ้ข้อเข่าเสื่อม แถมเป็นได้ตั้งแต่อายุยังน้อยเลยนั่นก็คือ ภาวะข้อเข่าแอ่นนั่นเอง (knee hyperextension) ภาวะนี้ถ้าไม่สังเกตุจริงๆก็แทบจะมองไม่เห็นความแตกต่างเลยนะครับ และขณะเดียวกันคนที่มีภาวะเข่าแอ่นมักจะมีอาการปวดข้อเข่าได้ด้วย 

ถ้าใครที่มีอาการปวดข้อเข่าเวลายืนหรือเดินบ่อยๆ ทั้งๆที่ตัวเองก็ยังอายุไม่มากละก็ ลองสังเกตุดูนะครับว่าเรามีภาวะเข่าแอ่นหรือไม่นะ 

วิธีการสังเกตุว่าเป็นเข่าแอ่นก็คือ ให้เรายืนตรงในท่าปกติ จากนั้นให้คนในบ้านถ่ายรูปขาทางด้านข้างของเรานะครับ จากนั้นให้แบ่งเส้นตรงเป็น 2 เส้น โดยเส้นบนลากจากสะโพกลงมาถึงข้อเข่าทางด้านข้าง และเส้นล่างลากจากตาตุ่มเท้าถึงที่ข้อเข่าทางด้านข้างจนมาบรรจบกัน เหมือนในภาพปกนะครับ จากนั้น สังเกตุดูครับว่าเส้นนั้นมันแอ่นไปด้านหลังหรือไม่นะ ถ้าแอ่นไปด้านหลังเหมือนในภาพปก แสดงว่าเราเป็นเข่าแอ่นนั่นเองครับผม เมื่อรู้ว่าเป็นเข่าแอ่นแล้วก็อย่านิ่งนอนใจนะครับ เพราะเข่าแอ่นก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยนะ

ส่วนวิธีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังทั้ง 5 วิธีมีดังนี้เลย
วิธีที่ 1 : ยืนงอเข่า (นาทีที่ 5:24 )
วิธีที่ 2 : นอนควํ่า งอเข่า (นาทีที่ 7:27 )
วิธีที่ 3 : นอนควํ่า เข่าตึง (นาทีที่ 10:19 )
วิธีที่ 4 : นอนหงาย ยกก้น (นาทีที่ 11:45 )
วิธีที่ 5 : ตั้งคลาน งอเข่า (นาทีที่ 15:33 )


วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธีลดปวด ลดชา ที่ข้อมือและนิ้ว จากโรค carpal tunnel syndrome


สำหรับคนที่ทำงานหน้าคอมต้องพิมพ์งานทุกๆวัน หรือบรรดาแม่บ้านที่ต้องใช้งานมืออย่างหนักอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้า การถือของจ่ายตลาดอยู่ทุกๆวัน จนมีอาการปวดข้อมืออยู่เป็นประจำ บางครั้งก็ปวดมากจนชาไปที่ปลายนิ้วก็มี หากมีอาการดังกล่าวละก็ระวังให้ดีนะครับ บางทีเราอาจจะเป็นโรค carpal tunnel syndrome แล้วก็ได้นะครับ

เจ้าโรค carpal tunnel syndrome มันเกิดจากโพรงภายในข้อมือของเรามันเกิดการตีบแคบ ทำให้ช่องว่างภายในลดน้อยลง จนเกิดการกดทับกดเบียดเส้นประสาท median nerve เข้า หรือไม่ก็เกิดร่วมกับตัวพังผืดที่มีชื่อว่า transverse carpal ligament มันเกิดตึงตัวจนทำให้โพรงภายในข้อมือแคบลงแล้วไปกดทับเส้นประสาท จนเกิดอาการปวดที่ข้อมือได้ นอกจากอาการปวดแล้ว ผู้ป่วยก็มีอาการชาร่วมด้วยนะครับ โดยอาการชามักจะชาแค่ที่มือและนิ้วมือเท่านั้น ไม่ได้ชาทั้งท่อนแขนนะครับผม 

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมและการรักษาจะมีดังนี้เลย
วิธีที่ 1 : หักข้อ กางนิ้ว (นาทีที่ 4:27 )
วิธีที่ 2 : พนทมือ (นาทีที่ 7:26 )
วิธีที่ 3 : คลึงข้อ คลึงมือ (นาทีที่ 8:40 )
วิธีที่ 4 : ยืดเส้นประสาท (นาทีที่ 13:15 )
วิธีที่ 5 : แช่นํ้าอุ่น (นาทีที่ 16:10 )
สรุป  (นาทีที่ 17:56 )