วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 51] 4 วิธียืดน่อง ลดปวด ลดตึง และแก้ตะคริว


สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องตะคริวกินน่องอยู่บ่อยๆ จนมีความรู้สึกว่าอาการตะคริวกินมันกลายเป็นเรื่องปกติของตัวเองแล้วละก็ ลองติดตามคลิปนี้ดูให้ดีครับ 

เพราะในคลิปนี้ผมจะมาบอกวิธีการยืดน่อง เพื่อลดปวดน่องจากตะคริวกันได้  ซึ่งคนส่วนมากเมื่อเป็นตะคริวก็ไม่รู้จะทำยังไงได้แต่บีบนวดที่น่อง หรือไม่ก็รอจนกว่าอาการปวดจะหายไปเอง ในความเป็นจริงแล้วการยืดน่องเนี่ยแหละครับคือวิธีการลดปวดและแก้การเป็นตะคริวได้ดีมากเลยนะ

 และนอกจากนี้ในช่วงท้าย ผมยังได้แนะนำวิธีป้องกันการเป็นตะคริวไว้ด้วยนะ บางคนอาจจะรู้วิธีอยู่แล้ว แต่บางคนก็ไม่รู้ หวังว่าเนื้อหาในคลิปนี้จะมีประโยชนืต่อเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ

รายละเอียดในคลิป

วิธีที่ 1 : ดันกำแพง เข่าตึง (นาทีที่ 0:50)
วิธีที่ 2 : เหยียบครึ่งเท้า (นาทีที่ 4:30)
วิธีที่ 3 : จับผ้า ดึงปลายเท้า (นาทีที่ 6:30)
วิธีที่ 4 : ไขว้ขา นวดน่อง (นาทีที่ 9:05)

วิธีป้องกันตะคริวกินน่อง
ป้องกัน 1 (นาทีที่ 13:10)
ป้องกัน 2 (นาทีที่ 16:42)
ป้องกัน 3 (นาทีที่ 17:21)
ป้องกัน 4 (นาทีที่ 18:25)
ป้องกัน 5 (นาทีที่ 19:09)


วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 50] 5 วิธี ดูแลข้อเข่า หลังผ่าตัดให้กลับมาเดินปร๋อ


คนไข้ที่กำลังจะได้ผ่าตัดหรือเคยผ่าตัดข้อเข่ามาแล้วละก็ มักจะมีความกังวลและความสับสนกันอยู่ไม่น้อยว่า ถ้าผ่าเสร็จแล้วจะเป็นยังไงบ้าง? อีกนานแค่ไหนกว่าจะเดินได้? และสงสัยกันมากที่สุดเลยก็คือ ผ่าเสร็จแล้วต้องทำยังไงต่อละ? 

ยิ่งถ้าไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ พอผ่าเสร็จหมอก็ไม่ค่อยมีเวลามาแนะนำหรือดูแลอะไรให้เป็นพิเศษอยู่แล้ว แถมนอนโรงบาลได้ไม่กี่วันหมอก็ให้ไปนอนไปนอนรักษาตัวที่บ้านต่อ หากคนไข้ไม่ค่อยมีความรู้ในการดูแลรักษาตนเองก็มักจะนอนอยู่บ้านเฉยๆกินยาตามที่หมอสั่ง แล้วคิดว่าเดี๋ยวแผลหายก็คงกลับมาเดินได้เองแหละ ไม่ทำกายภาพเข่า ไม่บริหารข้อเข่าใดๆเลย จนเวลาผ่านไปเป็นเดือนๆ ปัญหาที่ตามมาเหมือนกันหมดก็คือ งอเข่าไม่ได้ หนักกว่านั้นก็คือ เดินไม่ได้เลยก็มี แล้วคนไข้ก็จิตตก โวยวาย เครียด ซึมเศร้าไปต่างๆนาๆว่า ทำไมผ่าตัดแล้วถึงอาการแย่กว่าตอนที่ไม่ผ่าอีก?

จากประสบการณ์อันน้อยนิดของผม ที่เคยทำกายภาพคนไข้ผ่าเข่ามามักจะประสบปัญหานี้กันเกือบทุกคน (ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ) ฉะนั้น ผมจึงทำคลิปมาอธิบายกันว่า หลังผ่าเข่าแล้วเราควรปฎิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้แผลหายเร็ว มีคุณภาพชิวิตที่ดี ไม่เจอปัญหาข้อเข่าติด และที่สำคัญคือ จะทำยังไงให้กลับมาเดินได้ครับ 

อ้อ! ผมอธิบาย 3 คำถามที่ผู้ป่วยกำลังจะผ่าตัดหรือผ่าตัดเสร็จแล้ว มักจะถามกันมามากที่สุดด้วยนะ หวังว่าคลิปนี้จะมีประโยชน์ต่อคนที่มีแผนว่าจะผ่าตัด หรือผ่าตัดกันมาแล้วนะครับ^^

รายละเอียดในคลิป

วิธีที่ 1 : นอนยกขาสูง (นาทีที่ 0:23)
วิธีที่ 2 : ประคบนั้าแข็๋ง (นาทีที่ 3:30)
วิธีที่ 3 : ส้นเท้า ครูดพื้น (นาทีที่ 5:56)
วิธีที่ 4 : กดหน้าแข้ง (นาทีที่ 10:04)
วิธีที่ 5 : สลายพังผืด(นาทีที่ 12:49)
3 คำถามที่คนถูกผ่ามักสงสัย
คำถามที่ 1 : ต้องทำกายภาพหลังผ่าตัดด้วยหรือ? (นาทีที่ 15:54)
คำถามที่ 2 : ห้ามกินไข่หลังผ่าตัด เพราะจะทำให้เป็นแผลเป็น? (นาทีที่ 22:21)
คำถามที่ 3 : ผ่าเข่ามาหลายปี แต่ทำไมยังเจ็บเข่าได้อยู่ (นาทีที่ 24:15)


วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 49] 7 ขั้นตอน รักษานิ้วล็อก ให้หายด้วยต้วเอง (อย่างละเอียด)


มาแล้วครับ กับวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อกแบบทำเอง ที่เพื่อนๆทักเข้ามาว่าอยากให้ทำกัน ผมต้องบอกเลยว่า โรคนิ้วล็อกนั้น จัดว่าเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่งที่รักษาให้หายขาดได้ยากมากๆ เพราะมันเป็นการอักเสบของเส้นเอ็นที่นิ้วเรา แล้วโรคอะไรก็ตามที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับเส้นเอ็นมันมักจะหายช้ากว่าโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหรือข้อต่ออยู่มาก เนื่องจากเส้นเอ็นเป็นเส้นเล็ก มีความเหนียว ความยืดหยุ่นน้อย และโครงสร้างภายในของตัวเส้นเอ็นเองก็มีหลอดเลือดฝอยมาเลี้ยงน้อย จึงทำให้การฟื้นตัวของเส้นเอ็นหลังการบาดเจ็บจึงหายช้ากว่ากล้ามเนื้ออย่างเห็นได้ชัด

ฉะนั้น ถ้าใครที่เป็นโรคนิ้วล็อกอยู่ ได้ลองรักษาตามคลิปนี้ทุกขั้นตอนแล้ว ปรากฎว่า อาการปวด หรือปัญหานิ้วล็อกก็ยังไม่หายสักที ก็ไม่ต้องตกใจหรือท้อใจไปนะครับ อย่างที่บอก โรคที่เกี่ยวกับเส้นเอ็นมันหายช้า ขอแค่หมั่นดูแลรักษามืออยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการนวดมือ นวดแขน หลีกเลี่ยงการใช้งานมือหนักๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักละก็ โรคนี้จะค่อยๆทุเลาได้อย่างแน่นอน ขอแค่ทำอย่างสมํ่าเสมอ และอดทนนะครับ

รายละเอียดของคลิป

ขั้นตอนที่ 1 : แช่นํ้าอุ่น (นาทีที่ 0:20)
ขั้นตอนที่ 2 : รูดนิ้ว  (นาทีที่ 2:18)
ขั้นตอนที่ 3 : บีบแขน ขยํ่ามือ  (นาทีที่ 5:40)
ขั้นตอนที่ 4 : คลึงแขน  (นาทีที่ 10:15)
ขั้นตอนที่ 5 : กดมือ คลึงนิ้ว  (นาทีที่ 13:05)
ขั้นตอนที่ 6 : รูดนิ้ว อีกครั้ง  (นาทีที่ 21:00)
ขั้นตอนที่ 7 : กรีดนิ้ว  (นาทีที่ 23:00)



วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 48] โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร เรื่องนี้มีคำอธิบาย


ก่อนจะเข้าสู่วิธีการรักษาของโรคนิ้วล็อก ผมอยากจะให้เพื่อนๆได้รู้จักรายละเอียดของโรคนิ้วล็อกกันก่อน เพราะยิ่งเรารู้สาเหตุของปัญหามากขึ้นเท่าไหร่ เราได้เข้าใจและตระหนักถึงการดูแลรักษามากขึ้นเท่านั้นนะครับ 

โดยเนื้อหาจะมีอะไรบ้าง ไม่ขอลงรายละเอียดผ่านข้อความ แต่เชิญคลิ๊กชมคลิปได้เลยครับผม

รายละเอียดของคลิป

ลักษณะของโรคนิ้วล็อก (นาทีที่ 0:13)
สาเหตุโรคนิ้วล็อก (นาทีที่ 5:40)
อาการโรคนิ้วล็อก (นาทีที่ 7:55)
สรุป (นาทีที่ 9:41)





วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO 47] 8 เทคนิค ลดปวดหลัง ลดปวดเอว


มาแล้วครับกับวิธีการลดปวดหลัง ลดปวดเอว แบบฉบับทำเอง ซึ่งใครบ้างที่เหมาะกับคลิปนี้ นั่นคือ คนที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังแบบทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นหลังยอก หลังตึง รู้สึกแน่นๆที่หลัง ก้มหลังไม่ค่อยได้ หรือพูดง่ายๆก็คือ เหมาะกับคนที่ปวดกล้ามเนื้อหลังครับผม 

ส่วนคนที่ปวดหลัง ปวดขา ขาชา หรือปวดหลังร้าวลงขา จากโรคเกี่ยวกับกระดูก ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ แต่มีบางท่าที่ต้องระวังให้มากๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนะครับ นั่นคือ วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 และวิธีที่ 5 คนเป็นหมอนรองทับเส้นประสาท ควรระวังการทำ 3 วิธีนี้นะครับผม

วิธีการลดปวดหลัง ปวดเอวทั้ง 8 วิธีมีดังนี้เลย

วิธีที่ 1 : นอนหงาย กอดเข่า (นาทีที่ 0:44)
วิธีที่ 2 : นอนหงาย บิดเอว (นาทีที่ 3:30)
วิธีที่ 3 : แมวขู่ (นาทีที่ 5:37)
วิธีที่ 4 : ชูแขน ยืดหลัง (นาทีที่ 8:45)
วิธีที่ 5 : ไขว้ขา บิดเอว (นาทีที่ 10:55)
วิธีที่ 6 : ควงเอว (นาทีที่ 13:23)
วิธีที่ 7 : แอ่นหลัง 4 ทิศ (นาทีที่ 15:40)
วิธีที่ 8 : ลูกกลิ้ง คลึงหลัง (นาทีที่ 18:48)



วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] ยืดเส้นประสาทขา ลดขาตึง แก้ขาชา และปวดขา


ก่อนหน้านี้ได้โพสวิธียืดเส้นประสาทแขนไป ในเมื่อบอกวิธียืดเส้นประสาทแขนไปแล้ว จะไม่บอกวิธียืดเส้นประสาทขาก็กะไรอยู่ วันนี้ผมจึงมาบอกวิธีการยืดเส้นประสาทขากัน ซึ่งเส้นประสาทขาหลักๆ เส้นที่ยืดได้จริงๆมีอยู่ไม่กี่เส้นหรอกครับ นั่นคือ เส้นประสาท sciatic กับ femoral ครับผม 

ซึ่งถ้า 2 เส้นนี้มีปัญหา ไม่ว่าจะถูกทับ อักเสบ หรือการส่งสัญญาณประสาทผิดปกติ เราคงได้เห็นว่าตัวเองจะเดินเป๋กันแน่นอน หรือไม่ก็รู้สึกตึงรั้งที่ขาอยู่ตลอดเวลาก็มี ฉะนั้น การยืดเส้นประสาทขาจึงมีความสำคัญในระดับนึงเลยละครับ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นนะครับ

รายละเอียดในคลิป 
วิธีที่ 1 : ยืด sciatic nerve (นาทีที่ 1:20)
วิธีที่ 1 เสริม : พาดกำแพง ดึงปลายเท้า (นาทีที่ 5:51)
วิธีที่ 2 : ยืด femoral nerve (นาทีที่ 9:23)
วิธีที่ 3 : ยืดแบบ slump test (นาทีที่ 12:35)
วิธีที่ 4 : ยืดกล้ามเนื้อก้น (นาทีที่ 15:57)