วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

โรคข้อเข่านักกระโดด ชื่อโรคแปลกๆที่หลายคนก้เป็นกัน



โรคข้อเข่านักกระโดด (jumper knee, pattelar tendinitis)

โรคข้อเข่านักกระโดดชื่อนี้อาจไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตาสำหรับคนทั่วไปเท่าไหร่นัก แต่ก็เชื่อว่าหลายคนพอจะเดาได้ว่ามันต้องเป็นโรคที่เกี่ยวกับการกระโดดอะไรสักอย่างแน่ๆเลย 

ใช่แล้วครับผม โรคนี้มักพบได้ในนักกีฬาซะเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วไปพบได้น้อยมากเพราะกิจวัตรประจำวันของเราๆท่านๆมันไม่จพเป็นต้องกระโดดหรือวิ่งด้วยความเร็วสูงอยู่เป็นประจำนี่เนอะ โรคนี้พบมากในนักกีฬาที่ต้องกระโดดบ่อยๆ เช่น นักกีฬากระโดสูง, นักบาสเก็ตบอล, นักวอลเล่ย์บอล บางครั้งก็พบในนักกีฬาวิ่งระยะสั้นด้วยนะครับ 

สาเหตุ

สาเหตุนั้นเกิดจากการกระชากของเส้นเอ็นใต้กระดูกสะบ้าจากการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขา (quadriceps m.) อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด ซึ่งในระยะแรกอาจฉีกขาดในในระดับ microtear คือการฉีกขาดเล็กๆน้อยๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและยังไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บปวด แต่ถ้าเรายังคงทำกิจกรรมเดิมๆ มันจะกระตุ้นให้เกิดการฉีกขาดที่มากขึ้นเป็น macrotear หรือก็คือการฉีกขาดขนาดใหญ่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและสร้างความเจ็บปวดทรมานมากขึ้นนั่นเองครับ 

ในนักกีฬาที่กล้ามเนื้อต้นขา (quadriceps m.) ไม่แข็งแรงจะมีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บได้ง่ายกว่านักกีฬาที่ฝึกกำลังกล้ามเนื้อต้นขามาอย่างดีนะครับ 

อาการ

อาการปวดโดยส่วนใหญ่นั้นไม่รุนแรงมากจนถึงกับเดินไม่ได้หรอกนะครับ อาการปลักๆคือปวดบริเวณรอบๆกระดูกสะบ้า เป็นได้ที่ตำแหน่งเดียวจนถึงหลายๆตำแหน่งรอบๆกระดูกสะบ้า ซึ่งอาการมันจะต่างจากผู้ที่เป็นโรคเข่าเสื่อมอยู่พอสมควร ผู้ที่เป็นโรคเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดลึกๆขัดๆในข้อเข่า โดยเฉพาะเข่าทางด้านใน และปวดมากเมื่องอเข่า แต่สำหรับโรค jumper knee จะปวดผิวๆครับ 

ในรายที่มีการฉีกขาดมากจะมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะนั่งพักเฉยๆ แต่ในรายที่เส้นเอ็นฉีกขาดน้อยอาจมีอาการเฉพาะขณะเดินหรือวิ่งเท่านั้นนะครับ

การรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น

การักษาก็ง่ายๆครับ นำนํ้าแข็งมาประคบบริเวณที่ปวดเพื่อลดอาการอักเสบและลดปวด ต่อมาก็ให้พักการทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น และพัน tapping เพื่อประคองข้อเข่าและลดการใช้งานของเส้นเอ็นนะครับ 

แต่ในกรณีที่รักษาด้วยตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการแย่ลงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาแก้ปวด แก้อักเสบ หรือพบนักกายภาพบำบัดเพื่อใช้เครื่องมือ ultrasound, laser, shock wave ยิงจุดที่อักเสบเพื่อกระตุ้นให้เส้นเอ็นที่ฉีกขาดนั้นซ่อมแซมตัวเองเร็วขึ้นครับผม 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น