วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] วิธีตรวจหลังคด แบบฉบับทำเอง ไม่ต้องพึ่ง X-ray


เคยมีคนไข้หลายคนมาปรึกษาเรื่องหัวไหล่ดูสูงตํ่าไม่เท่ากัน แล้วถามวิธีการบริหารข้อไหล่ให้ไหล่มันสูงเท่ากันเหมือนปกติ ผมจึงแนะไปว่าลองไปตรวจหลังคดดูก่อน บางทีปัญหาอาจจะอยู่ที่หลังก็ได้ เพราะถ้าหลังคดไปข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้มองผิวเผินดูแล้วว่าเรามีปัญหาที่หัวไหล่ จนบางรายเข้าใจผิดไปรักษาหัวไหล่ต่างๆนาๆเสียเงินตั้งมากมาย แต่ต้นเหตุอยู่ที่หลังเรานี่เอง

กระดูกสันหลังคดนั้น หลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หลังคดแบบถาวร กับ หลังคดแบบไม่ถาวรนะครับ ผู้คนที่เห็นว่าเป็นหลังคดกันนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นหลังคดแบบไม่ถาวรกันแทบทั้งนั้นเลย 

ส่วนวิธีการตรวจว่าเป็นหลังคดหรือไม่ แล้วเป็นหลังคดประเภทไหนมีรายละเอียดดังนี้เลย

รายละเอียด หลังคดถาวร (นาทีที่ 0:26 )
รายละเอียด หลังคดไม่ถาวร (นาทีที่ 3:56 )
อาการ (นาทีที่ 5:59)
วิธีที่ 1 : ตรวจไหล่ (นาทีที่ 6:57)
วิธีที่ 2 : ตรวจใต้สะบัก  (นาทีที่ 10:09)
วิธีที่ 3 : ตรวจ 2 หลุม เหนือตูด  (นาทีที่ 14:13)
วิธีที่ 4 : ตรวจแนวกระดูกสันหลัง  (นาทีที่ 18:10)
วิธีที่ 5 : ก้มหลัง มือแตะพื้น  (นาทีที่ 20:50)
วิธีที่ 6 : ตรวจ X-ray  (นาทีที่ 23:23)
สรุป  (นาทีที่ 24:03)


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธีดัดไหล่ เพื่อรักษาโรคข้อไหล่ติด (Part 2)


ใน Part ที่ 2 นี้ผมจะเน้นถึงวิธีการดัดข้อไหล่ สำหรับคนที่เป็นโรคไหล่ติดกัน โดยจะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อไหล่ลดลงในระดับนึงแล้ว และต้องการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของแขน และต้องการลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่ รวมทั้งสะบักด้วยนะครับ

วิธีการดัดไหล่ทั้ง 5 วิธีจะมีอะไรบ้างติดตามชมได้เลยครับผม
วิธีที่ 1 : ไต่กำแพง (นาทีที่ 0:27)
วิธีที่ 2 : จับร่ม ขัดหลัง (นาทีที่ 3:05)
วิธีที่ 3 : จับไหล่ บีบสะบัก (นาทีที่ 5:35)
วิธีที่ 4 : ลูกเกลี้ยง คลึงสะบัก (นาทีที่ 10:14)
วิธีที่ 5 : รูดประตู เสียวหัวไหล่ (นาทีที่ 13:53)




วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 5 วิธี บริหารข้อไหล่ เพื่อแก้ปัญหาข้อไหล่ติด (Part 1)


โรคข้อไหล่ติด ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครบางคนเลยทีเดียว เพราะมันทำให้คุณภาพชีวิตของเราแย่ลง จากเดิมที่ยกแขนได้ก็ทำไม่ได้ เคยใช้ขันตักนํ้าราดตัวเวลาอาบนํ้าก็ทำไม่ได้ หรือคุณผู้หญิงที่เคยเอามือไขว้หลังเวลาติดตะขอเสื้อในก็ทำไม่ได้เพราะไหล่ติดนั่นเอง ไปรักษามาหลายที่อาการปวดไหล่ ไหล่ติดต่างๆก็ไม่ได้ลดลงเลย 

ถ้าเพื่อนๆกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ละก็ ลองทำตามคลิปนี้ดูนะครับ เพราะในคลิปนี้ผมจะบอกวิธีการบริหารข้อไหล่แบบฉบับทำเอง แถมอธิบายาชสาเหตุ และอาการของคนที่เป็นโรคนี้ให้ฟังกัน 

รายละเอียดในคลิปดังนี้เลยครับ

อธิบายสาเหตุ (นาทีที่ 0:30 )
อธิบายอาการ (นาทีที่ 2:38 )
การรักษา (นาทีที่ 4:31 )
วิธีที่ 1 : แกว่งแขน  (นาทีที่ 5:13 )
วิธีที่ 2 : ทิ้งดิ่ง  (นาทีที่ 7:40 )
วิธีที่ 3 : หมุนหัวไหล่  (นาทีที่ 10:10 )
วิธีที่ 4 : พันแขน ดึงสะบัก  (นาทีที่ 13:53 )
วิธีที่ 5 : ผีเสื้อกระพือปีก  (นาทีที่ 16:52 )





วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] รวมวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคออฟฟิศ ซินโดรมซํ้าสอง


และแล้วก็มาถึง Part ที่ 3 กันแล้วนะครับ ซึ่งถือว่าเป็น Part สุดท้ายแล้วนะครับที่เกี่ยวกับโรคออฟฟิศ ซินโดรม ซึ่งใน Part นี้ผมจะบอกถึงวิธีการป้องกัน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อจนกลายเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรมซํ้า 2 กับเราได้ 

หากเราเอาแต่รักษาเพียงอย่างเดียวเหมือนใน Part ที่1 และ 2 แต่เราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานใดๆเลย สุดท้ายเราก็จะกลับมาเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรมซํ้าได้ไม่ช้าก็เร็วนะครับ การรักษาโรคจะสมบูรณ์ ถ้าเรารู้จักวิธีการรักษา และการป้องกันควบคู่กันไปนะครับ

วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการป้องกันโรคออฟฟิศ ซินโดรม

วิธีที่ 1 : ตั้งเวลา 50 นาที (นาทีที่ 1:30 )
วิธีที่ 2 : รองข้อมือ (นาทีที่ 5:00 )
วิธีที่ 3 : กระจก ตั้งหน้าโต๊ะ (นาทีที่ 8:08 )
วิธีที่ 4 : อย่าไหล (นาทีที่ 10:40 )
วิธีที่ 5 : อย่าไขว่ห้าง (นาทีที่ 13:07 )
วิธีที่ 6 : อย่าจ้องจอนาน (นาทีที่ 16:45 )


วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] รวมวิธีลดปวดไหล่ สะบัก จากโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Part 2)


มาถึง Part ที่ 2 กันแล้วนะครับ กับวิธีการลดปวด และการบริหารกล้ามเนื้อให้หายปวดจากโรคออฟฟิศ ซินโดรม ซึ่งใน Part นี้จะบอกถึงวิธีการลดปวดที่ตำแหน่งข้อไหล่ และบริเวณสะบักครับ

แล้วหากใครมีภาวะไหล่ห่อจากการที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะเป็นเวลานาน หรือบรรดานักเรียน นักศึกษาทั้งหลายที่มีอาการปวดสะบักบ่อยจากการนั่งเรียนละก็ติดตามคลิปนี้ให้ดี แล้วลองทำตามกันด้วยนะครับ

วิธีการลดปวดไหล่ และสะบักมีดังนี้เลย

3) รักษาไหล่ (นาทีที่ 0:20 )
วิธีที่ 1 : กางแขน กระดกข้อมือ (นาทีที่ 0:32 )
วิธีที่ 2 : กางแขน กดข้อมือ (นาทีที่ 2:40 )
วิธีที่ 3 : พาดหัว แอ่นอก (นาทีที่ 4:30 )
วิธีที่ 4 : จับไหล่ ดันศอก (นาทีที่ 6:11 )
วิธีที่ 5 : ถือของ กางแขน (นาทีที่ 8:08 )

4) ส่วนสะบัก (นาทีที่ 10:23 )
วิธีที่ 1 : ผีเสื้อกระพือปีก (นาทีที่ 10:52 )
วิธีที่ 2 : ไขว้แขน ก้มหัว (นาทีที่ 13:27 )
วิธีที่ 3 : กอดอก ขยายปอด (นาทีที่ 15:05 )
วิธีที่ 4 : ลูกเกลี้ยง คลึงสะบัก (นาทีที่ 17:59 )
วิธีที่ 5 : กางแขน ยืดหนังยาง (นาทีที่ 21:10 )


ดูจบแล้วช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะครับ^^


วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปแล้ว น้องในข่าวเค้าเป็นอะไร??


สรุปน้องในข่าวเค้าเป็นโรคอะไร??

เมื่อไม่กี่วันก่อนนั่งดูข่าวในทีวีที่เรื่องครูปาแก้วโดนหน้านักเรียนแล้วทำให้เด็กหน้าเบี้ยว ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วบ้านทั่วเมืองในตอนนี้ แล้วคนในบ้านก็ถามโพล่งออกมาว่า "สรุปแล้วน้องเค้าเป็นอะไรกันแน่เนี่ย ทำไมถึงหน้าเบี้ยวขนาดนี้?" พอออกไปข้างนอกเจอคนรู้จักเค้าก็ชวนเรื่องที่เป็นข่าวอีกว่า "ในข่าวที่เรื่องครูปาแก้วเนี่ย รู้หรือเปล่าว่าน้องเค้าเป็นอะไร?" กลับมาบ้านผมก็มานั่งดูลักาณะอาการของน้องเค้า แล้วคิดว่าน่าจะอธิบายเรื่องนี้ให้เป็นความรู้โดยทั่วกันดีกว่า

ลักษณะของน้องที่มีหน้าเบี้ยวนั้น คาดว่าน่าจะ(ใช้คำว่าน่าจะนะครับ)เป็นโรค Bell's palsy ครับ

โรค Bell's palsy คืออะไร?

มันโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก จากเส้นประสาทคู่ที่ 7 ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าของเรานั้น ถูกรบกวนจนหยุดส่งสัญญาณประสาทมา ซึ่งโดยปกติแล้วโรคนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัดนะครับ พูดง่ายๆก็คือ จู่ๆจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วพบได้มากเป็นพิเศษในคนที่พึ่งคลอดลูก หรือคนที่พึ่งหายจากอาการป่วยไข้ครับ

อาการของคนเป็นโรค Bell's palsy

เมื่อเส้นประสาทหยุดการส่งสัญญาณประสาทไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ป่วยจะมีใบหน้าบิดเบี้ยว ไม่สามารถหลับตาได้สนิท ยิ้มไม่ได้ ไม่สามารถอมลมได้ เคี้ยวข้าวหรือดูดนํ้าได้ลำบาก ตาแห้ง ไม่สามารถยักคิ้วข้างที่มีปัญหาได้ครับ
ถ้าถามว่าโรคนี้อันตรายถึงชีวิตมั้ย?
คำตอบคือ ไม่อันตรายถึงชีวิตครับ แต่ปัญหาหนักอกหนักใจมากที่สุดคือ ผู้ป่วยจะสูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคมอย่างมากครับผม

วิธีการรักษาโรค Bell's palsy?

การรักษาในมุมมองของกายภาพนะครับ คือการกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าครับ คนส่วนใหญ่มักจะคิดกันว่า กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อให้เส้นประสาทกลับมาทำงานได้ดีขึ้น จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ เรากระตุ้นกล้ามเนื้อครับผม และใช้นิ้วกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า หรือที่เรียกกันว่า tapping เพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่ทำ โดยสรุปแล้วก็เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อครับ ส่วนเส้นประสาทต้องรอให้มันฟื้นตัวของมันเองครับ บางราย 3 เดือนก็ฟื้น บางราย 6 เดือน บางรายเป็นปีก็มีครับ

แล้วถ้าไม่กระตุ้นไฟ ไม่รักษาอะไรเลยรอให้เส้นประสาทมันฟื้นเองได้มั้ย
ได้ครับ แต่ใบหน้าเราจะบิดเบี้ยวถาวรครับผม การรักษาก็เพื่อให้มันเบี้ยวน้อยที่สุด หรือบางรายหายกลับมาเป็นปกติเลยก็มี

สรุปแล้วน้องเค้าเป็นอะไรล่ะ?

ดูจากอาการของน้องคือจะคล้ายกับโรค Bell's palsy แต่จะเกิดอะไรนั้นก็ยากจะอธิบายจริงนะ อาจจะเกิดจากแก้วไปกระทบเส้นประสาทคู่ที่ 7 แล้วเกิดการหยุดสั่งการก็ได้ หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อที่โดนแก้วกระทบมันบวมจนไปกดเบียดเส้นประสาทคู่ที่ 7 จนหยุดส่งสัญญาณประสาทก็ได้ หรือจู่ๆก็อาจเกิดขึ้นเองก็ได้อีก หลายปัจจัยมากจริงๆครับ แต่ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร ก็ค่อยๆดูแลรักษากันไปครับผม 

เครดิตรูปภาพ
- http://hilight.kapook.com/view/142123

[คลิป VDO] รวมวิธีลดปวดคอ บ่า สำหรับคนเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Part 1)


คลิปนี้เหมาะสำหรับบรรดาหนุ่มสาวออฟฟิศที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อช่วงคอ บ่าอยู่เรื้อรัง หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อโรคออฟฟิศ ซินโดรมนั่นเองครับ ซึ่งผมแบ่งวิธีการรักษาโรคนี้ออกเป็นทั้งหมด 3 part ด้วยกัน โดย part นี้จะบอกวิธีการลดปวดช่วงคอ บ่า รวมทั้งการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงด้วยนะครับ 

ผมขออธิบายลักษณะของโรคออฟฟิศ ซินโดรมแบบคร่าวๆให้ฟังกันก่อนเข้าสู่เนื้อหา โรคออฟฟิศ ซินโดรมเกิดจากพฤติกรรมการทำงานอยู่ในท่าเดิมๆติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้า แต่เมื่อล้าแล้วเรายังคงฝืนทำงานต่อไป จึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งค้างขึ้นเป็นลำ ผมก็คือ เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังขึ้นนั่นเองครับ

อาการของโรคออฟฟิศ ซินโดรม

อาการของผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีหลายระดับด้วยกันนะครับ ทั่วไปก็คือ มีอาการปวด เมื่อนกล้ามเนื้อช่วงคอบ่า แต่พอได้ยืดกล้ามเนื้อ ไปนวดอาการต่างๆก็จะทุเลาลง แต่ถ้ากลับไปทำงานเหมือนเดิมก็มีอาการอีก เป็นๆหายๆอย่างนี้เรื่อยๆ ส่วนในรายที่เป็นโรคนี้หนักๆ จะมีอาการปวดคอ บ่าร้าวขึ้นขมับ ขึ้นคิ้ว บางรายก็มีอาการปวดกระบอกตา ตาพร่ามัว หรือบางรายก็มีอาการปวดศีรษะข้างเดียวคล้ายกับโรคไมเกรน แต่อาการดังกล่าวมาจากกล้ามเนื้อที่ตึงมากนั่นเองครับ

ส่วนวิธีการรักษาและออกกำลังกายของกล้ามเนื้อคอ บ่ามีดังนี้เลยครับผม

1) รักษาคอ (นาทีที่ 17:50 )
วิธีที่ 1 : ติ่งหู กระดิกหัวไหล่ (นาทีที่ 0:55 )
วิธีที่ 2 : ก้มหน้า เอียงคอ (นาทีที่ 2:50 )
วิธีที่ 3 : ก้มหน้า คางชิดอก (นาทีที่ 4:32 )
วิธีที่ 4 : บีบคอ (นาทีที่ 6:07 )
วิธีที่ 5 : ลูกเกลี้ยง คลึงคอ (นาทีที่ 9:33 )
วิธีที่ 6 : หดคอ หนีนิ้ว (นาทีที่ 11:32 )
วิธีที่ 7 : ต้านแรง 4 ทิศ (นาทีที่ 14:00 )

2) รักษาบ่า (นาทีที่ 17:06 )
วิธีที่ 1 : จับมือ ลู่ไหล่  (นาทีที่ 17:55 )
วิธีที่ 2 : หมุนไหล่  (นาทีที่ 19:09 )
วิธีที่ 3 : ชู 4 บีบบ่า  (นาทีที่ 20:50 )
วิธีที่ 4 : ลูกเกลี้ยง คลึงบ่า  (นาทีที่ 22:34 )
วิธีที่ 5 : ถือของ ยักไหล่  (นาทีที่ 26:20 )
วิธีที่ 6 : ถือของ ชูแขน  (นาทีที่ 29:23 )

ดูจบแล้วถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด suvscribe กันด้วยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

[คลิป VDO] 4 วิธี รักษาอาการปวดข้อศอก จากโรค tennis elbow


อาการปวดข้อศอกจากโรค tennis elbow ในสายตาของคนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก เพราะชื่อของโรคมันเกี่ยวกับเทนนิส คงพบในนักกีฬาเทนนิสละมั้ง คนไข้ส่วนใหญ่คงคิดยังงี้  แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้พบได้ในคนทั่วไปเช่นกันนะครับ แล้วก็เยอะซะด้วย ส่วนมากจะเป็นแม่บ้านที่ต้องซักผ้า หวาดบ้านบ่อยๆ หรือบรรดาแม่ครัวที่ต้องทำกับข้าวทุกๆวัน คนเหล่านี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคนี้นะครับ ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมคนทั่วไปก็เป็นโรค tennis elbow ได้ละก็ ติดตามได้ในคลิปนี้เลยครับผม

4 วิธีการรักษามีดังนี้
วิธีที่ 1 : เหยียดศอก กดข้อมือ (นาทีที่ 5:23 )
วิธีที่ 2 : บีบศอก กดจุด (นาทีที่ 6:37 )
วิธีที่ 3 : ฝึกกระดกข้อมือ (นาทีที่ 8:54 )
วิธีที่ 4 : ประคบร้อน-เย็น (นาทีที่ 10:18 )

ดูจบแล้วถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็อย่าลืมแชร์ หรือ subscribe กันด้วยน้าาา

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) 5 เทคนิค ตรวจโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น แบบฉบับทำเอง


รู้หรือไม่ นอกจากการใช้ผล x-ray และ MRI ในการตรวจยืนยันว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นแล้ว จริงๆยังมีวิธีการตรวจอื่นๆนอกจาก 2 วิธีดังกล่าวแถมไม่ต้องใช้เครื่องมือ ไม่ต้องเสียตังไปตรวจตามโรงพยาบาลด้วยนะครับ วิธีการตรวจมันมีหลายเทคนิคหลายวิธีการมากๆ แต่ผมจะขอเลือกมาเพียง 5 วิธีที่ดูแล้วไม่น่าจะยากนักสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ได้ผลลัพท์ดีไม่แพ้กัน 

เนื้อหาในคลิปนี้เหมาะกับใครบ้าง?

เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ตึงหลัง มีอาการเสียวที่หลัง ขาชา ขาอ่อนแรง แล้วไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคอะไร หรือต้องการยืนยันเพื่อให้แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นจริงๆ เพราะอาการขาชา ขาอ่อนแรง หรืออาการปวดหลังต่างๆนั้น มันไม่ได้มีแค่โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นเท่านั้นนะครับ แต่ยังมีโรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน และที่พบมากที่สุดคือ โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ซึ่งทั้ง 3 โรคนี้ ถ้าเป็นหนักๆก็มีอาการแสดงได้ใกล้เคียงกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นมากเลยทีเดียว และถ้าเราตรวจตามคลิปแล้วมีอาการที่บอกละก็อย่าพึ่งตื่นตกใจไปนะครับ ลองตรวจวิธีอื่นๆให้ครบทั้ง 5 วิธีดูก่อน ถ้าตรวจครบแล้วมีอาการแสดงทั้ง 3 วิธีจาก 5 แสดงว่าเราน่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นครับผม 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราไม่แน่ใจจริงๆว่าเราเป็นหรือไม่เป็นกันแน่ละก็ ผมแนะนำให้ไปเข้ารับการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลจะดีที่สุดนะครับ^^

5 เทคนิคการตรวจ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นมีดังนี้เลย

วิธีที่ 1 นั่งยอง เบ่งอึ (นาทีที่ 0:46 )
วิธีที่ 2 นอนหงาย ยกขาข้างเดียว (นาทีที่ 2:55 )
วิธีที่ 3 ก้มหลัง เกร็งท้อง (นาทีที่ 7:20 )
วิธีที่ 4 นอนควํ่า เหยียดศอก (นาทีที่ 9:18 )
วิธีที่ 5 ก้มหลัง ยกขา (นาทีที่ 11:52 )
เกร็ดความรู้ สำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้น (นาทีที่ 14:16 )

ดูจบแล้วช่วยกดแชร์ กด subscribe กันก้วยนะครับ



วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) 8 ท่า บริหารข้อเข่าให้แข็งแรง สำหรับคนเป็นข้อเข่าเสื่อม Part 1


โรคข้อเข่าเสื่อมจัดว่าเป็นโรคยอดฮิตไม่แพ้โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังเลยนะครับ มีหลายคนสอบถามเข้ามากันเยอะมากว่า ทำยังไงถึงทำให้ปวดเข่าน้อยลง? ทำยังไงให้ปวดเข่าหายไป? มีวิธีไหนบ้างที่ช่วยลดปวดเข่าได้บ้าง? และที่เด็ดที่สุดก็คือ มียาอะไรบ้างที่ช่วยแก้โรคข้อเข่าเสื่อม? ถามแบบนี้มา ผมตอบแบบกำปั้นทุบดินมันทีเลยครับว่า 

"ไม่มีครับ ไม่มียาชนิดไหนช่วยแก้ข้อเสื่อมได้เลย เต็มที่ก็ทำได้แค่ชะลอให้เสื่อมช้าลงเท่านั้น เพราะโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อเสื่อมทั้งหลายมันเกิดจากอายุและการใช้งานมานานครับ พอใช้นานๆเข้าก็เสื่อมก็ผุพังไปตามวัย ไม่มีอะไรช่วยได้ แต่ถึงแม้ข้อจะเสื่อม เราก็สามารถอยู่กับโรคข้อเสื่อมได้โดยไม่มีอาการปวดนะ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เป็นข้อเสื่อมจะต้องมีอาการปวดนะ ถ้ากล้ามเนื้อเราแข็งแรงดี พยุงข้อต่อได้ดี ผิวกระดูกหรือเนื้อกระดูกก็ไม่เสียดสีกัน อาการปวดก็ไม่เกิดขึ้นแน่นอน" 

ฉะนั้น คนที่เป็นโรคข้อเสื่อมทั้งหลาย ถ้ามาปรึกษาผม ผมจะเน้นให้ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อมากเป็นพิเศษ และเช่นเดียวกันกับโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากจะไปรักษาทั้งฉีดยา การดัดเข่า การใช้เครื่องมือต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ การออกกำลังกายบริหารข้อเข่านั่นเองครับ เพราะสิ่งนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดได้อย่างถาวรเลยทีเดียว แต่คนส่นใหญ่ก็มุ่งแต่จะหายากินยาทากัน หารู้ไม่ว่าการออกกำลังกายเนี่ยแหละคือยาดีที่สุด และฟรีอีกด้วย เพียงแค่มันเห็นผลช้าหน่อยเท่านั้นเองครับ โดยเฉลี่ยแล้วก็ไม่ตํ่า 1 เดือนครึ่งถึง 2 เดือนหรอกนะครับ รับรองเห็นผลความแตกต่างแน่นอน 

ในคลิปนี้ผมจึงมาแนะนำวิธีการบริหารข้อเข่าสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หรือพึ่งได้รับการผ่าตัดข้อเข่ามาใหม่ๆแล้วต้องการบริหารข้อเข่าแบบง่ายๆเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะยืน เดินมาฝากกัน 

วิธีการบริหารข้อเข่าดังนี้เลยครับ 
ท่าที่ 1 : กดเข่าลงพื้น (นาทีที่ 1:00 )
ท่าที่ 2 : ส้นเท้า ครูดพื้น  (นาทีที่ 4:45 )
ท่าที่ 3 : นอนหงาย เตะขา  (นาทีที่ 7:08 )
ท่าที่ 4 : นอนหงาย ยกก้น  (นาทีที่ 8:45 )
ท่าที่ 5 : นั่งเตะขา  (นาทีที่ 11:50 )
ท่าที่ 6 : เหยียบบันได  (นาทีที่ 14:15 )
ท่าที่ 7 : ส้นเท้า กดพื้น  (นาทีที่ 16:35 )
ท่าที่ 8 : นอนควํ่า งอเข่า  (นาทีที่ 18:52 )


ดูจบแล้วช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะครับ^^

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) 3 ท่านอน ลดปวดหลังจากโรคต่างๆ


นอกจากการรักษาและการบริหารกล้ามเนื้อหลังจะทำให้อาการปวดหลัง อาการขาชาจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทลดลงได้แล้วนั้น รู้หรือไม่ว่า การนอนที่ถูกวิธี ถูกกับโรคที่เป็นอยู่ก็ยังช่วยให้อาการปวดหลังต่างๆลดลงได้ด้วยเช่นเดียวกันนะ และขณะเดียวกัน การนอนในท่าผิดๆ ท่าที่ไม่เหมาะสมก็สามารถทำให้อาการปวดหลังเพิ่มขึ้นได้ด้วยเช่นกันอีกต่างหาก

ฉะนั้น ในคลิปนี้ผมจึงมาบอกวิธีการนอนที่ถูกต้อง เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังให้ทราบกัน ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนคงทราบวิธีการนอนกันดีว่าเราควรจัดท่านอนอย่างไร แต่จะมีสักกี่คนที่ทาบเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรนอนท่านี้ เช่น นอนหงาย ก็ต้องเอาหมอนรองใต้เข่า แต่ทำไมต้องเอาหมอนรองใต้เข่าล่ะ การเอาหมอนรองใต้เข่าช่วยลดปวดหลังได้อย่างไร ผมอธิบายไว้หมดแล้วในคลิปนี้

รายละเอียดของคลิป 
ท่าที่ 1 : นอนหงาย (นาทีที่ 0:20 )
ท่าที่ 2 : นอนตะแคง  (นาทีที่  7:07 )
ท่าที่ 3 : นอนควํ่า  (นาทีที่  9:48 )

ถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะครับ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) รีวิวการใช้หมอน สำหรับคนปวดคอจากโรคกระดูกคอเสื่อม


ถ้าใครที่มีอาการปวดคอ หรือเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมกันอยู่แล้วกำลังมองหาหมอนสุขภาพสักใบ โดยหวังว่าเจ้าหมอนใบนี้จะช่วยลดอาการปวดได้บ้างละก็ ขอให้หยุดสักประเดี๋ยวแล้วลองดูคลิปนี้กันก่อนนะครับ 

เพราะในคลิปนี้ผมจะมาบอกวิธีการใช้หมอนบ้านๆ หมอนธรรมดาๆ แต่ใช้ได้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหมอนสุขภาพมาฝากกัน พร้อมทั้งบอกข้อคิดเห็นเล็กๆน้อยๆกับการใช้หมอนนะครับ 

เนื้อหา
- วิธีใช้หมอนที่ถูกต้อง (นาทีที่ 0:14 )
- หมอนช่วยลดปวดได้จริงหรือ (นาทีที่ 5:18 )

https://youtu.be/31iGqfLRWhY
ดูจบแล้วถ้าถูกใจก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยน้าาา

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) 5 ท่า รักษาโรค IT band syndrome ให้หายอย่างถาวร Part 3


ในที่สุดก็มาถึง part สุดท้ายกันแล้วนะครับ กับวิธีการรักษาโรค iliotibial band syndrome ซึ่งใน Part นี้ผมจะบอกถึงวิธีการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ gluteus medius ที่ทำหน้าที่กางขาและคุมแนวกระดูกเชิงกรานของเราให้อยู่ในแนวปกติในขณะที่เรายกขาขึ้นข้างเดียว แล้วเจ้ามัดนี้แหละที่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเข่าด้านนอกและปวดข้างต้นขาจากโรค IT band syndrome ได้อย่างเห็นผลที่สุด เมื่อเทียบกับการรักษาแบบทั่วไป เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การนวด หรือการใช้เครื่องมือช่วยต่างๆ 

วิธีการฝึกมีดังนี้เลยครับ
ท่าที่ 1 ตะแคง กางขา (นาทีที่ 0:44 )
ท่าที่ 2 พิงกำแพง กางขา (นาทีที่ 2:30 )
ท่าที่ 3 ขึ้น-ลง ขาเดียว (นาทีที่ 4:20 )
ท่าที่ 4 ยกก้น ขาเดียว (นาทีที่ 7:08 )
ท่าที่ 5 ย่อเข่า เตะขา (นาทีที่ 11:09 )




วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) 4 วิธัรักษาอาการปวดเข่าด้านนอก จากโรค IT band syndrome Part 2


จาก Part 1 ที่ได้อธิบายสาเหตุและอาการปวดเข่าด้านนอก จากโรค iliotibial band syndrome ไปแล้ว ใน Part นี้ผมจะมาบอกวิธีการลดปวดจากโรคนี้กันบ้าง แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า วิธีการเหล่านี้มันเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่สามารถช่วยให้อาการปวดต่างๆหายขาดได้อย่างถาวร เต็มที่ก็แค่ช่วยให้อาการปวดมันหายไปหลังจากที่เราวิ่งเสร็จ แต่หากต้องการให้หายอย่างถาวร เราต้องใช้การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ gluteus medius นะครับผม

ส่วนวิธีการรักษาตามนี้เลย 
วิธีที่ 1 กลิ้งข้างขา (นาทีที่ 0:33 )
วิธีที่ 2 นั่งขัดสมาธ (นาทีที่ 4:08 )
วิธีที่ 3 เอี้ยวตัว พิงเก้าอี้ (นาทีที่ 6:08 )
วิธีที่ 4 วิ่งคร่อมเส้นจราจร (นาทีที่ 8:44 )

ดูจบแล้วถ้าเห็นว่าคลิปนี้มีประโยชน์ก็ช่วยกดแชร์ กด subscribe กันด้วยนะคร้าบบบบ