วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

(คลิป VDO) 5 เทคนิค ตรวจโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น แบบฉบับทำเอง


รู้หรือไม่ นอกจากการใช้ผล x-ray และ MRI ในการตรวจยืนยันว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นแล้ว จริงๆยังมีวิธีการตรวจอื่นๆนอกจาก 2 วิธีดังกล่าวแถมไม่ต้องใช้เครื่องมือ ไม่ต้องเสียตังไปตรวจตามโรงพยาบาลด้วยนะครับ วิธีการตรวจมันมีหลายเทคนิคหลายวิธีการมากๆ แต่ผมจะขอเลือกมาเพียง 5 วิธีที่ดูแล้วไม่น่าจะยากนักสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ได้ผลลัพท์ดีไม่แพ้กัน 

เนื้อหาในคลิปนี้เหมาะกับใครบ้าง?

เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ตึงหลัง มีอาการเสียวที่หลัง ขาชา ขาอ่อนแรง แล้วไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคอะไร หรือต้องการยืนยันเพื่อให้แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นจริงๆ เพราะอาการขาชา ขาอ่อนแรง หรืออาการปวดหลังต่างๆนั้น มันไม่ได้มีแค่โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นเท่านั้นนะครับ แต่ยังมีโรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน และที่พบมากที่สุดคือ โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ซึ่งทั้ง 3 โรคนี้ ถ้าเป็นหนักๆก็มีอาการแสดงได้ใกล้เคียงกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นมากเลยทีเดียว และถ้าเราตรวจตามคลิปแล้วมีอาการที่บอกละก็อย่าพึ่งตื่นตกใจไปนะครับ ลองตรวจวิธีอื่นๆให้ครบทั้ง 5 วิธีดูก่อน ถ้าตรวจครบแล้วมีอาการแสดงทั้ง 3 วิธีจาก 5 แสดงว่าเราน่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นครับผม 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราไม่แน่ใจจริงๆว่าเราเป็นหรือไม่เป็นกันแน่ละก็ ผมแนะนำให้ไปเข้ารับการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลจะดีที่สุดนะครับ^^

5 เทคนิคการตรวจ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นมีดังนี้เลย

วิธีที่ 1 นั่งยอง เบ่งอึ (นาทีที่ 0:46 )
วิธีที่ 2 นอนหงาย ยกขาข้างเดียว (นาทีที่ 2:55 )
วิธีที่ 3 ก้มหลัง เกร็งท้อง (นาทีที่ 7:20 )
วิธีที่ 4 นอนควํ่า เหยียดศอก (นาทีที่ 9:18 )
วิธีที่ 5 ก้มหลัง ยกขา (นาทีที่ 11:52 )
เกร็ดความรู้ สำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้น (นาทีที่ 14:16 )

ดูจบแล้วช่วยกดแชร์ กด subscribe กันก้วยนะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น